Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี
งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

บริเวณด้านทิศเหนือสุดของเกาะพะงัน นั่นคือ หาดโฉลกหลำ ชายหาดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมราวกับวงพระจันทร์ความยาวของหาดราว 3.5 กิโลเมตร ที่นี่เป็นชุมชนชาวประมงซึ่งมีวิถีชีวิตความเป็นมาเก่าแก่คู่กับเกาะพะงันมาเนิ่นนาน กล่าวกันว่าชื่อ โฉลกหลำ นี้มาจากชาวมลายูคนแรกที่มาอาศัยอยู่ที่อ่าวนี้ชื่อว่า โดล่ะ ดะหลำ แล้วภายหลังเรียกเพี้ยนเป็น โฉลกหลำ นั่นเป็นนัยหนึ่ง ส่วนคำว่า โฉลก   นั้นสันนิษฐานอีกนัยหนึ่งว่า  น่าจะมีส่วนมาจากการที่เมืองไชยามีชื่อตำแหน่ง ขุนยกกระบัตร    หัวเมืองโฉลกในสมัยนั้นซึ่งชื่อบ้านหลายแห่งในเกาะพะงันก็มีชื่อนำหน้าว่าโฉลก อาจจะมีส่วนมาจากชื่อตำแหน่งนี้ก็เป็นได้ เพราะเกาะพะงันเคยขึ้นอยู่กับเมืองไชยามาก่อน หรือประการสุดท้ายที่เป็นข้อสันนิษฐานของผู้เขียนเองว่า  การที่ชุมชนชาวจีนมาอาศัยอยู่บนเกาะพะงันพยายามออกเสียงคำว่า ลูกบ้านว่า โละบั่น เช่นลูกบ้านเก่าเรียกว่า โละบั่นเก๋า คำว่าโละนี้ก็อาจพ้องกับคำว่า โหลก ในภาษาพูดแบบสั้นๆ ของคนใต้กลายมาเป็นโหลกหลำ และโฉลกหลำ ในที่สุดก็เป็น  อีกนัยหนึ่งที่อาจเป็นได้

งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี
งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

ชุมชนโฉลกหลำนี้เริ่มก่อตัวมีผู้คนมาอาศัยอยู่มากขึ้นในยุคที่มีกลุ่มชนชาวจีนไห่หนานหรือไหหลำเริ่มเข้ามาตั้งรกรากที่เกาะพะงันเมื่อราว   250 ปีก่อนในราวสมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยกรุงธนบุรี     โดยตอนแรกมาอยู่ทางบ้านใต้และต่อมาขยายมาอยู่แถบบ้านเก่า บ้านหินกอง   บ้านศรีธนู และวัดบน บ้านแถบบ้านเก่านี้รวมเรียกตัวเองว่า โฉลกบ้านเก่าซึ่งพ้องกับคำว่า    ลูกบ้านเก่า โละบั่นเก๋า หรือโฉลกบ้านเก่าตามข้อสันนิษฐานทางภาษานั่นเอง นี่จึงเป็นเพียงตัวอย่างการเรียกชื่อของกลุ่มบ้านแต่ไม่ใช้ชื่อสถานที่จึงไม่มีชื่อนี้ในแผนที่ของเกาะพะงัน

ชาวจีนไห่หนานหรือไหหลำาเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความชำนาญในอาชีพประมง ประกอบกับอ่าวโฉลกหลำเป็นอ่าวรูปโค้งสามารถเป็นที่กำาบังคลื่นลมได้ดี มีชัยภูมิเหมาะสมมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์และเป็นอ่าวที่มีน้ำลึกพอที่จะเป็นท่าเรือได้ดี น่านน้ำบริเวณช่องอ่างทองในทะเลแถบนี้ก็มีปลาชุกชุมโดยเฉพาะปลาฉลามที่ยุคนั้นชาวจีนจับแล้วเอา เนื้อทำปลาเค็มส่วนหูฉลามส่งขายเมืองจีนได้ราคาดี ต่อมาจึงมีชาวจีนบางพวกอพยพขึ้นมาลงหลักปักฐานอยู่ที่บ้านโฉลกหลำ ที่นี่จึงกลายเป็นแหล่งชุมชนประมงถาวรเกิดขึ้นใน เวลาต่อมาโดยอาชีพหลักคือการจับปลาที่สืบทอดมารุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบันในช่วงหลังเมื่อประมาณ 25-30 ปีมานี้มีการไดหมึกเป็นอาชีพหลักอีกอย่างหนึ่งที่ขึ้นชื่อ  ถึงแม้วันเวลาจะแปรเปลี่ยนแต่ทุกวันนี้วิถีชีวิตแบบชาวประมงของชาวโฉลกหลำก็ยังคงเป็น           ภาพประทับใจให้เห็นได้อยู่ทุกวี่วัน

งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี
งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

หากเราไปเที่ยวหาดโฉลกหลำในตอนกลางวันและเดินออกไปชมวิวบริเวณปลายสุดของสะพานปลาท่าเทียบเรือสิ่งที่เรามักจะพบเห็นอยู่เป็นประจำาก็คือ ภาพเรือประมงนับสิบๆ ลำที่เข้ามาจอดเทียบท่าขึ้นปลาตั้งแต่ยามเช้าแล้วก็จอดพักเติมน้ำจืด ซ่อมแซมตาข่ายและอวนรอเวลาที่จะออกหาปลาอีกในตอนกลางคืน เรือเหล่านี้มีทั้งเรือหาปลาและเรือไดหมึก    ในยามค่ำคืนจะเห็นแสงไฟสีเขียวแวววามอยู่กลางทะเล นั่นคือแสงไฟที่ติดไว้เป็นราวตลอดลำาเรือเพื่อล่อให้ปลาหมึกมาเล่นไฟแล้วก็ลงข่ายจับขึ้นมาได้โดยง่าย บ้างก็เป็นเรือวางลอบจับปู ซึ่งจะเห็นกรงตาข่ายดักปูเรียงรายพร้อมที่จะออกทะเลไปวางลอบกันเป็นกิจวัตร ทุกยามเช้าที่ท่าเรือแห่งนี้จึงชุลมุนไปด้วยภาพชีวิตของเรือหาปลาหาปูและหาหมึกนำเอาสินทรัพย์ในทะเลเหล่านี้มาเทียบท่าและมีพ่อค้าแม่ขายมารอรับซื้อกันถึงที่  นั่นจึงไม่แปลกที่บริเวณชายหาดโฉลกหลำาจะมีร้านอาหารทะเลดีๆ   เรียงรายอยู่หลายร้านไว้บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย

จากท่าเทียบเรือสะพานปลาหากมองไปทั้งด้านซ้ายและขวาจะเห็นหาดทรายสีขาวเนียนนุ่มทอดตัวยาวโค้งเป็นครึ่งวงกลมเด่นชัด มีแนวต้นสนทะเลสูงใหญ่เรียงรายอยู่ริมชายหาดให้ความร่มรื่นและมีรีสอร์ทอยู่หลายแห่ง  ชายหาดด้านขวาสุดสายตาคือแนวของภูเขาสูงที่ทอดตัวเป็นแนวเหนือใต้ ตอนกลางของเกาะพะงันมียอดเขาสูงหลายแห่ง เช่น ยอดเขากินนรหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า เขานมสาว และยอดเขาหรา ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดบนเกาะพะงันด้วยความสูงถึง 627 เมตรตั้งตระหง่านอยู่ราวกับกำแพงยักษ์ที่ท้าทายให้ผู้รักการผจญภัยปีนป่ายขึ้นไปเพื่อการเป็นผู้พิชิต

ส่วนด้านในหมู่บ้านจะมีถนนเลียบริมหาดอยู่เส้นหนึ่งซึ่งมีบ้านห้องแถวเก่าๆ ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากถนน โดยบ้านที่อยู่ริมฝั่งทะเลมักจะมีหลังบ้านทะลุออกไปยังชายหาดได้ทุกหลัง ซึ่งเป็นทำเลทองสำหรับการทำร้านอาหารและร้านค้าขายต่างๆ อย่างไรก็ดี แทบทุกหลังยังคงยึดมั่นในความเป็นตัวของตัวเองด้วยการไม่พยายามเปลี่ยนแปลงอะไรไปมากกว่าที่จำเป็นเพื่อคงสภาพความเป็นหมู่บ้านประมงเก่าแก่ไว้ อาชีพอย่างหนึ่งที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของที่นี่คือการทำปลาหมึกตากแห้ง เป็นสินค้าประจำหมู่บ้าน   และก็เช่นเดียวกับชุมชนชาวพุทธทั่วไปที่มักจะมีวัดเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน ที่ใจกลางหมู่บ้านจึงเป็นที่ตั้งของวัดโฉลกหลำ วัดเก่าแก่ประจำหมู่บ้านซึ่งภายในวัดมีอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ์ชื่อ พระพุทธมงคลปทีป ส่วนที่ฝาผนังโบสถ์ด้านหนึ่งเป็นจิตรกรรมฝาผนังภาพพุทธประวัติ อีกด้านหนึ่งเป็นประวัติความเป็นมาเรื่องราวของเกาะพะงันที่เขียนไว้อย่างงดงามให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ นอกจากนั้นก็ยังมีภาพเขียนของเกจิอาจารย์ชื่อดังต่างๆ ของเกาะพะงันและเกาะสมุยไว้ที่ฝาผนังด้านตรงข้ามกับพระประธาน ส่วนที่ศาลาขันติโกอนุสรณ์ เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อจันทร์ ขันติโก หลวงพ่อรบ องฺสุธโร หลวงพ่อบุญ ขันติโก พระเกจิชื่อดังของจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลวงปู่ทวด และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ไว้ให้เคารพสักการะบูชา

งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี
งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

วัดโฉลกหลำ อยู่ห่างจากท้องศาลาประมาณ 12  กิโลเมตร อยู่ที่ หมู่ 7 ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน           จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพระมหาสนธยาปภาโส       เป็นเจ้าอาวาส

นอกจากหาดโฉลกหลำที่เป็นหาดกว้างใหญ่นี้แล้วยังมีหาดเล็กๆ ที่อยู่ต่อเนื่องกันกับหาดโฉลกหลำาอยู่อีกแห่งหนึ่งทางด้านขวาของหาด ซึ่งนักท่องเที่ยวรู้จักกันดีคือ หาดขอม เป็นหาดขนาดเล็กความยาวราว 300 เมตร บรรยากาศสงบเงียบร่มรื่นด้วยทิวสนมีรีสอร์ท บังกะโลอยู่หลายแห่ง  บริเวณนี้นอกจากเหมาะแก่การพักผ่อน อาบแดด ลงเล่นน้ำทะเลแล้ว ยังมีจุดดำน้ำซึ่งมีนักท่องเที่ยวเช่าเรือมาดำน้ำดูปะการัง แถบนี้อยู่แทบทุกวัน ส่วนทางด้านซ้ายของหาดโฉลกหลำก็มีหาดเล็กๆอยู่อีกแห่งหนึ่ง ชื่อ หาดหินงาม มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนหาดแห่งใดบนเกาะพะงัน นั่นก็คือเป็นหาด หินล้วนๆซึ่งกำเนิดขึ้นมาจากแรงกัดเซาะอย่างรุนแรงของคลื่นโดยเฉพาะในช่วงฤดูลมว่าว  เกิดเป็นชายหาดความยาวราว 20 เมตรที่เรียงรายไปด้วยก้อนหินกลมมนขนาดต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากองรวมกันเต็มไปหมดทั้งหาด นับเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของธรรมชาติอันน่าทึ่ง สำหรับทางลงไปยังหาดหินงามนี้จะมีป้ายบอกทางเล็กๆแยกจากถนนใหญ่บอกไว้แต่ไม่ค่อยชัดเจนนัก    เส้นทางเป็นทางดินไม่ค่อยสะดวกแต่ รถปิกอัพสามารถวิ่งได้ ทางเดินลงหาดค่อนข้างชัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *