Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

เที่ยวทะเล

  • Home
  • งามเม็ดทราย นอนอาบแดดชายทะเล หาดยาว หาดสลัด เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

งามเม็ดทราย นอนอาบแดดชายทะเล หาดยาว หาดสลัด เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

ในบรรดาชายหาดริมฝั่งทะเลตะวันตกของเกาะพะงันทั้งหมด หาดยาวและหาดสลัดถือได้ว่า เป็นสองหาดที่มีเม็ดทรายขาวเนียนนุ่มและสวยงามมากกว่าหาดอื่นใด โดยเฉพาะหาดยาวนั้นเป็นชายหาดที่ยาวขนานไปกับชายฝั่งทะเลตะวันตกของเกาะพะงัน มีความยาวราว 1.5 กิโลเมตร ซึ่งมีรีสอร์ทใหญ่และบังกะโลขนาดเล็กเรียงรายอยู่ตลอดแนวชายหาดที่สามารถวิ่งจ๊อกกิ้งออกกำาลังกาย เล่นกีฬาชายหาดหรือแม้แต่นอนอาบแดดได้เป็นอย่างดี ส่วนบริเวณด้านนอกของชายหาด ทั้งหมดเริ่มต้นจากหาดเจ้าเภา หาดสนจนถึงหาดยาว หาดสลัดไปจรดแม่หาดนี้จะเป็นแนวปะการังที่ทอดตัวยาวเหยียดติดต่อกันเป็นแนวเหนือใต้ มีจุดที่สามารถดำน้ำดูปะการังได้ดีอยู่หลายจุด ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวมร้านดำน้ำและมีบริการพานักท่องเที่ยวออกไปดำน้ำตามแนวปะการังเหล่านี้ด้วย นอกจากนี้หาดยาวยังเป็นจุดหนึ่งซึ่งสามารถชมพระอาทิตย์ตกได้สวยที่สุด ทุกเย็นในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสจึงมีนักท่องเที่ยวชอบมาคอยเฝ้าชมพระอาทิตย์ตกอยู่ตามชายหาดอยู่เสมอ ส่วนหาดสลัด เป็นหาดที่อยู่ต่อขึ้นไปทางด้านเหนือของหาดยาวที่มีแนวหาดเทียนตะวันตกกับหาดกรวดเป็นหาดเล็กๆ อยู่ต่อเนื่องกันไปกับหาดยาว โดยมีแหลมตาทองอินคั่นอยู่ระหว่างปลายหาดกรวดกับหาดสลัด ในอดีตเชื่อว่าเป็นที่ซ่องสุมของหมู่โจรสลัดที่เคยออกจี้ปล้นแถบน่านน้ำนี้และใช้อ่าวสลัดเป็นที่พำพำนักและกำบังคลื่นลมมาก่อน หาดสลัดวางตัวเป็นแนวเหนือใต้โค้งรับกับแหลมจั่วที่ยื่นออกไปในทะเลและดูคล้ายหาดครึ่งวงกลมสวยงามมีความยาวราว 1 กิโลเมตร ตลอดแนวหาดจะมีรีสอร์ทตั้งอยู่เรียงรายและเป็นรีสอร์ทที่ ค่อนข้างดีมีคุณภาพ รีสอร์ทแถบนี้เริ่มกิจการมาตั้งแต่ราว 15 ปีที่แล้วโดยรู้จักกันในหมู่นักท่องเที่ยวสวีเดนก่อน…

มะพร้าวเอนอ่าววกตุ่ม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

เส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายหาดตะวันตกนี้จะเริ่มจากท้องศาลามีถนนขนาดเล็กเลาะเลียบอ่าวในวก อ่าวปลายแหลม ไปเรื่อยๆจนถึงอ่าววกตุ่ม แถบนี้ท้องทะเลเป็นโคลนและค่อนข้างตื้นไม่เหมาะกับการเล่นน้ำทะเล ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีป่าโกงกางขึ้นอยู่ทั่วไป บางแห่งเป็นหาดขนาดเล็กและบังกะโลรวมทั้งรีสอร์ทขนาดใหญ่ตั้งอยู่บ้างแต่ไม่มากนักอย่างไรก็ดีบริเวณนี้กลับเป็นพื้นที่หมู่บ้านประมงชายฝั่งที่มีวิถีชีวิตของชาวประมงและอู่ต่อเรือขนาดเล็กของชาวบ้านให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาถึงวิถีชาวเกาะได้อย่างดี ทั้งยังเป็นแหล่งที่ชาวบ้านมักออกแทงกุ้งในเวลากลางคืน ต่อวาย(การจับปลาหมึกยักษ์) ในเวลาใกล้รุ่งยามน้ำลด และหาหอยกลมในเวลากลางวันกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ในช่วงเวลาน้ำลง การหาหอยกลมนี้เป็นวิถีชีวิตของผู้คนแถบนี้มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตายายโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านออกไปหาหอยในทะเล ด้วยการเอาน้ำมันพืชใช้แล้วใส่ขวดแชมพูแล้วหยดลงไปบนผิวน้ำทะเล ทำาให้เห็นน้ำทะเลใสขึ้นสามารถมองทะลุลงไปถึงพื้น เบื้องล่างเห็นตัวหอยที่อยู่ตามหน้าดินจึงจับหอยขึ้นมาได้ หอยกลมนี้มีรสชาติ หวานอร่อยนำมาทำาอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดกะเพรา ผัดน้ำมันหอย ต้มกะทิและเอาเนื้อมาแกงกินได้ ในปีหนึ่งจะมีเทศกาลจับหอยกลมกัน 1 ครั้ง ประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมซึ่งเป็นช่วงลมพัทธยาจะมีหอยชนิดนี้เข้ามามาก โดย อบจ.และเทศบาลร่วมกันจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวออกไปหาหอยกลมแข่งขันกันตามกรรมวิธีท้องถิ่นแล้วเอามาทำอาหารรับประทานกันอย่างเอร็ดอร่อยเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของอ่าววกตุ่ม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติรักษาระบบนิเวศด้วยการทิ้งซากปะการังเพื่อให้เป็นที่อยู่ของหอยกลมในพื้นที่…

ท่องหาดตะวันตก เสน่ห์งามยามเย็นเกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

ชายหาดด้านทิศตะวันตกของเกาะพะงันนั้นถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของเกาะพะงัน มีเวิ้งอ่าวและชายหาดที่สวยงามบริสุทธิ์อยู่หลายแห่งและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกับชายหาดแถบอื่นบนเกาะพะงัน ชายหาดด้านนี้จะเริ่มจากอ่าวในวก อ่าวปลายแหลม อ่าววกตุ่ม อ่าวหินกอง อ่าวศรีธนู หาดเจ้าเภา หาดสน ไปจนจรดหาดยาว หาดเทียนตะวันตก หาดสลัดและแม่หาด ชายหาดแถบนี้จะมีจุดเด่น ตรงที่สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ตกจากเกาะพะงันได้ในทุกหาดมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่สามารถท่องเที่ยวทางชายหาดแถบนี้จะเป็นช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีท้องฟ้าแจ่มใสได้บรรยากาศพักผ่อนของฤดูร้อน ส่วนเดือนมิถุนายนเป็นต้นไปถึงเดือนกันยายนอาจมีฝนบ้างเล็กน้อยและเป็นช่วงลมพัทธยาและลมตะวันตก น้ำทะเลจะลดในตอนกลางวันและขึ้นตอนเย็นหรือกลางคืนทำาให้อาจเล่นน้ำไม่สะดว แต่บรรยากาศโดยทั่วไปก็ยังสามารถท่องเที่ยวได้ดีและเป็นช่วงที่มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์กว่าฤดูอื่น

ถนนคนเดินวิถีชีวิต และสีสันวันสุดสัปดาห์ บนเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี

เป็นกิจกรรมที่ชาวท้องศาลาร่วมกันจัดพื้นที่ให้มีการนำสินค้ามาวางขายบนถนนทุก วันเสาร์ เวลา 16.00 – 21.00 น. ในวันดังกล่าวตั้งแต่ยามบ่ายบริเวณถนนตลาดเก่าที่เป็นย่านการค้าโบราณจะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนพ่อค้าแม่ขายที่พากันนำสินค้ามาวางขายเรียงรายกันบนถนน โดยมีการปิดการจราจรให้เป็นถนนคนเดินเที่ยวอย่างเพลินใจ สภาพบ้านเรือนสองฟากถนนคนเดินนี้ยังเป็นบ้านห้องแถวเรือนไม้ที่มีสภาพสมบูรณ์อยู่หลายหลัง บางหลังก็เคยเป็นที่อยู่ร้านค้าของคหบดีในอดีตเช่นบ้านเก่าหลังหนึ่งเคยเป็นตัวแทนขายส่งสุรา อีกหลังหนึ่งเจ้า ของชื่อโกยี่เคยขายผัดไทยขึ้นชื่อปัจจุบันเลิกราไปแล้ว แต่บ้านเก่าหลังนี้ก็ยังอยู่และมีของขายอยู่หลายชนิด บ้านเก่าๆเหล่านี้ยังอยู่เรียงรายไปจนถึงบริเวณหน้าไปรษณีย์และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกบนเกาะพะงัน บรรยากาศย้อนยุคเหล่านี้จะยิ่งมีมนต์ขลังให้เห็นโดยเฉพาะในเวลาโพล้เพล้ใกล้ค่ำที่มีแสงสีของไฟมาช่วยสร้างบรรยากาศพร้อมกับนักท่องเที่ยวและผู้คนที่เดินจับจ่ายซื้อของกินของใช้กันอย่างสนุกสนาน ทั้งเสื้อผ้าราคาถูก ของกินต่างๆ รวมทั้งขนมโบราณอย่างขี้หมาต้วงหรือข้าวตูที่มีทั้งแห้งทั้งสดก็ยังมีให้ลองลิ้มชิมรส โปสการ์ดสวยๆ ก็มี ให้เลือกซื้อเป็นที่ระลึก ใครคลั่งไคล้กับเสียงเพลงคันทรีย้อนยุคให้ไปที่หน้าร้านอาหารไอริช ที่นี่จะมีศิลปินจากแดนไกลที่หลงใหลคลั่งไคล้ในความบริสุทธิ์ของ เกาะพะงันผันตัวมาเป็นชาวเกาะผู้มีดนตรีในหัวใจพร้อมให้ความบันเทิงกับคุณได้อย่างไม่รู้เบื่อในทุกวันเสาร์ที่มีถนนคนเดินจนกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคู่ถนนคนเดินไปแล้วในวันนี้ นอกจากถนนคนเดินที่จัดขึ้นทุกวันเสาร์นี้แล้ว หากใครสนใจภาพวิถีชีวิตของผู้คนแถบท้องศาลาก็ยังมีวิถีชีวิตแบบชาวบ้านให้พบเห็นได้ซึ่งน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือวิถีชีวิตของพ่อค้าแม่ขายแถวท่าเรือเฟอร์รี่ที่…

แหล่งท่องเที่ยว บริเวณหาดท้องศาลา เกาะพะงัน

ชื่อหาด “ท้องศาลา” นี้มีกำาเนิดมาจากครั้งอดีตเมื่อราว พ.ศ. 2427เคยมีศาลาอยู่หลังหนึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณสะพานท่าเรือ ซึ่งเจ้าเมืองไชยา เคยใช้นั่งว่าราชการงานเมือง และใช้เป็นที่พักผ่อนปัจจุบันเรียกว่าศาลาที่ว่าการหรือทำเนียบ จึงเรียกขานหาดแถบนี้ว่า หาดท้องศาลา ซึ่งต่อมากลายเป็นศูนย์กลางความเจริญของเกาะพะงัน มีทั้งท่าเรือเฟอร์รี่ เรือด่วน รถรับส่งนักท่องเที่ยว ร้านอาหารนานาชาติ ร้านขายของที่ระลึก ร้านอินเทอร์เน็ต ร้านกาแฟน่ารักๆ ตลอดจนโรงแรมที่พัก ธนาคาร บริษัทท่องเที่ยว รถเช่า ฯลฯ ถือว่าเป็นแหล่งที่มีสิ่งอำานวยความสะดวกที่สุดบนเกาะพะงัน บริเวณหาดท้องศาลาแห่งนี้หากเป็นเทศกาลงานประเพณีสงกรานต์ ก็จะเป็นศูนย์รวมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มารวมตัวเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ก็ยังมีประเพณีชักพระในวันออกพรรษาเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สำาคัญซึ่งกำเนิดขึ้นที่เกาะพะงัน เป็นประเพณีพื้นบ้านที่ชาวเกาะพะงันยังคงยึดถือและปฏิบัติกันสืบมา หาดท้องศาลา หาดท้องศาลา…

ปั่นจักรยานท่องเที่ยวเกาะพะงันได้ทั่วถึงและปลอดภัย

ด้วยขนาดพื้นที่ ภูมิประเทศ ตลอดจนการแบ่งโซนการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้วยฝีมือของธรรมชาติ ประกอบกับ “วิถีพะงัน”การท่องเที่ยวด้วยจักรยานเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ขอแนะนำพร้อมประทับตรายืนยันให้ผู้เดินทางท่องเที่ยวรับรู้ว่า “เหมาะสม” ถนนทั่วเกาะพะงันตัดตรง ตัดขวาง ระโยงระยางทั่วเกาะนับรวมกันได้ความยาวที่ 74.72 กิโลเมตรเส้นทางเชื่อมโยงที่ยาวที่สุดคือเส้นท้องศาลา-อ่าวท้องนายปาน 17.0 กิโลเมตร สภาพเป็นถนนซีเมนต์ผสมถนนดิน แม้วันนี้ยังไม่มีเลนช่องทางจักรยานเป็นการเฉพาะ แต่ถนนทั่วเกาะพะงันยังมีพาหนะบนถนนน้อยมาก สิ่งที่ผู้เดินทางจะได้พบเจอบนสองฝั่งถนนแทบทุกสายต่างหากที่มากมายหลากหลาย เกาะแค่นี้มีนาข้าว มีดงเสม็ดขาวมีวิถีชาวบ้านพะงันที่บ่งบอก ว่าวิถีพะงันนี่แหล่ะที่จะนำพาไปสู่เกาะสีเขียวได้ ทั้งสถาปัตยกรรมบ้านที่สอดคล้องกับสภาพอากาศ นิสัยชอบปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษข้าง บ้านรับประทานกันเอง วิถีเศรษฐกิจพอเพียง รักสะอาด รักธรรมชาติ เก็บความเป็น “บ้าน บ้าน”ไว้ครบถ้วน ทั้งเช้าและบ่ายเป็นเวลาที่เหมาะสม…

แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอแหลมสิงห์ – ท่าใหม่ เมืองจันทบุรี

อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก หรือ อู่ต่อเรือเสม็ดงาม ตั้งอยู่ที่บ้านเสม็ดงาม ตำบล หนองบัว อำเภอเมือง ห่างจากอำเภอเมือง ๑๑ กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็น สถานที่ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใช้เป็นอู่ต่อเรือเมื่อครั้งเตรียมยกทัพไปตีพม่าเพื่อกู้เอกราชชาติไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ หน่วยโบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ขุดค้นซากเรือและตรวจสอบชั้นดินทางโบราณคดีตามริมฝั่งอ่าว พบแอ่งน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลักษณะคล้ายอู่เรือ อยู่หลายแห่ง พร้อมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ของเรือโบราณ และสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรือสำเภาจีนแบบฟูเจียนขนาดเล็กใช้สำหรับบรรทุกสินค้ามีใบสามเสาใช้หางเสือเรือ ขนาดเรือยาว ๒๔ เมตร กว้าง ๕ เมตร…

สถานที่ท่องเที่ยวในตัวเมือง จังหวัดจันทบุรี

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยู่บนถนนท่าหลวง บริเวณหน้าค่ายตากสิน เป็นอาคารรูปทรงเก้าเหลี่ยมหลังคาเป็นรูปพระมาลาหรือหมวกยอดแหลม ภายในประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลนี้สร้างจากความศรัทธา เพื่อให้ชาวจันท์และคนในจังหวัดใกล้เคียงมาสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคล เดิมเป็นเพียงศาลไม้ อยู่ด้านข้างศาลหลักเมือง ครั้นในสมัย ม.จ.สฤษดิเดช ชยางกูร สมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรีได้สร้างศาลใหม่ขึ้น เมือปี พ.ศ. ๒๔๖๓ บริเวณด้านหน้าค่ายทหารกองพันนาวิกโยธิน คนละฝั่งกับศาลหลักเมือง เป็นศาลคอนกรีตสี่เหลี่ยมจัตุรมุข มีบันไดด้านหน้าและด้านข้างสามทาง กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ ภายในเป็นที่ประดิษฐานเทวรูป ซึ่งเป็นเทพเจ้า ประจำพระองค์ของพระเจ้าตาก และไม่มีพระบรมรูปของพระเจ้าตากสิน เช่นปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๔…

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (ตอนที่ 2)

วัดสีลสุภาราม อยู่ห่างจากตัวเมือง ๗ กิโลเมตร จากสนามกีฬาสุระกุล เลี้ยวซ้ายไปห้าแยกฉลอง วัดสีลสุภารามจะอยู่ทางขวาก่อนถึงตัวห้าแยกประมาณ ๔ กิโลเมตร วัดแห่งนี้มีเจ้าอาวาส คือ หลวงปู่สุภา ซึ่งมีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี ครอง เพศบรรพชิตเรื่อยมาตราบจนปัจจุบัน เป็นพระปฏิบัติขณะเดียวกันก็สร้างวัดเป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นวัดและสำนักสงฆ์รวมกันได้ ๓๖ แห่ง ที่สำคัญคือ ประวัติการสร้างพระเสด็จกลับซึ่งเป็นวัตถุมงคลชั้นสูงที่สร้างถูกต้องตามหลักพุทธศาสตร์ทุกประการ ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวภูเก็ตโดยทั่วไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๗๖๒๘ ๐๗๗๔ อ่าวฉลอง…

แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (ตอนที่ 1)

เขารัง เป็นภูเขาเตี้ย ๆ รถยนต์สามารถขึ้นไปจนถึงยอดเขา เทศบาลจัดให้เป็นสวนสาธารณะ สวนสุขภาพและยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม จากยอดเขาสามารถมองเห็นตัวเมืองภูเก็ต ท้องทะเลสีฟ้ากว้างใหญ่ และเกาะต่างๆ โดยรอบมีร้านอาหารอร่อยหลายร้านให้เลือกรับประทาน สะพานหิน เป็นสถานที่พักผ่อนภายในตัวเมือง อยู่สุดถนนภูเก็ต เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์หลัก ๖๐ ปี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัส ไมล์ ชาวออสเตรเลีย ผู้นำเรือขุดแร่ลำแรกมาใช้ขุดแร่ดีบุกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ ตึกโบราณ อาคารส่วนใหญ่ในตัวเมืองภูเก็ตมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบ “ชิโน-โปรตุกีส”…