หาดโฉลกหลำ

ย้อนอดีตสู่เส้นทางวิถีชุมชน บ้านมะเดื่อหวาน บ้านในสวน เกาะพะงัน

  จากอ่าวโฉลกหลำจะมีถนนเส้นหนึ่งซึ่งตัดผ่านบริเวณช่องเขาแคบๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ไม่สูงชันนัก ระหว่างแนวของเขาหราที่อยู่ตอนกลางสุดของเกาะและเขาตาหลวงซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางที่ลัดเลาะไปในช่องเขาลดหลั่นลงไปทางด้านทิศใต้สู่แนวที่ราบทางด้านท้องศาลาอีกครั้ง ตลอดเส้นทางสายนี้ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นพื้นที่สีเขียวของป่าไม้อุดมสมบูรณ์สลับกับสวนยางพาราและเรือกสวนไร่นานับเป็นเส้นทางที่สวยงามเส้นหนึ่ง มีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่หลายแห่งซึ่งใครเที่ยวเลาะชายหาดตะวันตกมาจนถึงโฉลกหลำก็สามารถเดินทางกลับเป็นเส้นทางวงรอบกลับไปยังท้องศาลาได้โดยไม่ต้องเสียเวลาย้อนกลับทางเดิมและยังได้ท่องเที่ยวไปในโลกสีเขียวของเกาะพะงันอีกด้วย จุดแรกที่ควรแวะเที่ยวคือ ศาลเจ้าแม่กวนอิมและวัดป่าแสงธรรม ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ศาลเจ้าแม่กวนอิม อยู่ห่างจากบ้านโฉลกหลำราว 6 กิโลเมตร รูปแบบเป็นศาลเจ้าจีนที่สวยงามตั้งอยู่บนไหล่เขาช่วงหนึ่งของเขาตาหลวงที่มียอดสูงสุด 478 เมตรจากระดับน้ำทะเลอยู่ด้านตรงข้ามกับเขาหรา บริเวณศาลเจ้าอยู่บนเนินสูงที่เป็นจุดชมวิวสามารถมองเห็นอ่าวโฉลกหลำาที่อยู่ทางด้านทิศเหนือได้เป็นอย่างดี ตามประวัติเล่าขานกันมาสั้นๆ ว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งที่มีศรัทธาแรงกล้าต่อองค์พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมชื่อคุณมลาวรรณ ได้เดินทางไปทอดผ้าป่าที่เกาะพะงันแล้วไปที่บ้านโฉลกหลำซึ่งเป็นชุมชนคนจีนไหหลำที่มีอาชีพทำาประมงมาแต่เก่าก่อนจึงเกิดศรัทธาขึ้นว่าจะต้องสร้างศาลเจ้าแม่กวนอิมนี้ขึ้นเพื่อบูชาและเป็นจุดหมายในการเดินเรือคล้ายกับเป็นประภาคารส่องแสงในยามค่ำคืนให้คนเรือได้มองเห็นเป็นจุดหมายในการเดินเรือได้ด้วย ซึ่งได้มาเจอสถานที่แห่งนี้เหมาะกับความฝันของเธอ จึงได้กลับไปกรุงเทพฯ แล้วรวบรวมเงินมาสร้างศาลเจ้าแม่กวนอิมนี้ขึ้น และสามารถสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2536ภายในบริเวณศาลเจ้า มีศาลาชมวิวอยู่แห่งหนึ่งสร้างเป็นเก๋งจีนสามหลังติดต่อกัน ภายในเก๋งจีนนี้มีระฆังและกลองแขวนไว้ให้คนที่มาเที่ยวชมได้ตีเพื่อความโชคดีและเป็นสิริมงคลกับชีวิต จึงเป็นที่นิยมกันว่าใครได้มาถึงที่นี่ก็จะต้อง มาตีกลองสามครั้งตีระฆังสามคราให้ดังกังวานที่สุด โดยที่ไม้ตีกลองนี้เขาจะแกะสลักเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยายจีนคล้ายปลาและมังกรผสมผสานกันทาด้วยสีทองซึ่งเป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล     ส่วนบนหลังคาด้านซ้ายและด้านขวาของเก๋งจีน จะมีรูปปั้นมังกรทะยานฟ้าอยู่บนหลังคาสวยงามมากโดยเฉพาะในวันที่ท้องฟ้า สดใสและมีปุยเมฆ มองไปก็จะคล้ายมังกรสองตัวนี้กำาลังโลดแล่นทะยานอยู่บนฟ้าอย่างเริงร่า ส่วนฟากตรงข้ามกับเก๋งจีนเป็นศาลเจ้าที่ประดิษฐานองค์พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม ซึ่งมีตำนานความเชื่อว่าท่านเคยเป็นเทพธิดามาก่อนแล้วจุติลงมายังโลกมนุษย์เพื่อปลดเปลื้องทุกข์ภัยให้แก่สัตว์โลกทั้งหลาย ด้วยพระเมตตาบารมีตามประวัติท่านทรงเป็นถึงพระราชธิดาของกษัตริย์ แต่ฝักใฝ่ในธรรมะมาตั้งแต่เยาว์วัย ไม่ว่าพระราชบิดาจะบังคับให้เลือกพระสวามีเพื่อจะได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป ท่านก็ไม่ยินยอม จนภายหลังท่านถูกคำสั่งพระราชบิดาให้ประหารชีวิต บุญบารมีก็ทำให้ท่านรอดพ้นภัยพิบัติทั้งหลายได้ทุกครั้ง ในที่สุดท่านก็ออกบวชและสำาเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด ด้วยคุณงามความดีของท่านจึงมีชาวพุทธจำนวนมากที่นับถือพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมและมักจะบูชาท่านด้วย การไม่รับประทานเนื้อสัตว์ตลอดชีวิตก็มี   สำหรับปางต่างๆของเจ้าแม่กวนอิมที่มีการสร้างรูปเคารพของท่านขึ้นมาเพื่อบูชานั้นกล่าวกันว่ามีถึง 84 ปาง เช่น …

ย้อนอดีตสู่เส้นทางวิถีชุมชน บ้านมะเดื่อหวาน บ้านในสวน เกาะพะงัน Read More »

งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

บริเวณด้านทิศเหนือสุดของเกาะพะงัน นั่นคือ หาดโฉลกหลำ ชายหาดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมราวกับวงพระจันทร์ความยาวของหาดราว 3.5 กิโลเมตร ที่นี่เป็นชุมชนชาวประมงซึ่งมีวิถีชีวิตความเป็นมาเก่าแก่คู่กับเกาะพะงันมาเนิ่นนาน กล่าวกันว่าชื่อ โฉลกหลำ นี้มาจากชาวมลายูคนแรกที่มาอาศัยอยู่ที่อ่าวนี้ชื่อว่า โดล่ะ ดะหลำ แล้วภายหลังเรียกเพี้ยนเป็น โฉลกหลำ นั่นเป็นนัยหนึ่ง ส่วนคำว่า โฉลก   นั้นสันนิษฐานอีกนัยหนึ่งว่า  น่าจะมีส่วนมาจากการที่เมืองไชยามีชื่อตำแหน่ง ขุนยกกระบัตร    หัวเมืองโฉลกในสมัยนั้นซึ่งชื่อบ้านหลายแห่งในเกาะพะงันก็มีชื่อนำหน้าว่าโฉลก อาจจะมีส่วนมาจากชื่อตำแหน่งนี้ก็เป็นได้ เพราะเกาะพะงันเคยขึ้นอยู่กับเมืองไชยามาก่อน หรือประการสุดท้ายที่เป็นข้อสันนิษฐานของผู้เขียนเองว่า  การที่ชุมชนชาวจีนมาอาศัยอยู่บนเกาะพะงันพยายามออกเสียงคำว่า ลูกบ้านว่า โละบั่น เช่นลูกบ้านเก่าเรียกว่า โละบั่นเก๋า คำว่าโละนี้ก็อาจพ้องกับคำว่า โหลก ในภาษาพูดแบบสั้นๆ ของคนใต้กลายมาเป็นโหลกหลำ และโฉลกหลำ ในที่สุดก็เป็น  อีกนัยหนึ่งที่อาจเป็นได้ ชุมชนโฉลกหลำนี้เริ่มก่อตัวมีผู้คนมาอาศัยอยู่มากขึ้นในยุคที่มีกลุ่มชนชาวจีนไห่หนานหรือไหหลำเริ่มเข้ามาตั้งรกรากที่เกาะพะงันเมื่อราว   250 ปีก่อนในราวสมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยกรุงธนบุรี     โดยตอนแรกมาอยู่ทางบ้านใต้และต่อมาขยายมาอยู่แถบบ้านเก่า บ้านหินกอง   บ้านศรีธนู และวัดบน บ้านแถบบ้านเก่านี้รวมเรียกตัวเองว่า โฉลกบ้านเก่าซึ่งพ้องกับคำว่า    ลูกบ้านเก่า โละบั่นเก๋า หรือโฉลกบ้านเก่าตามข้อสันนิษฐานทางภาษานั่นเอง นี่จึงเป็นเพียงตัวอย่างการเรียกชื่อของกลุ่มบ้านแต่ไม่ใช้ชื่อสถานที่จึงไม่มีชื่อนี้ในแผนที่ของเกาะพะงัน ชาวจีนไห่หนานหรือไหหลำาเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความชำนาญในอาชีพประมง ประกอบกับอ่าวโฉลกหลำเป็นอ่าวรูปโค้งสามารถเป็นที่กำาบังคลื่นลมได้ดี …

งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี Read More »

Scroll to Top