หาดปัตตานี เมื่อความงามสนทนากับความเงียบ
ชายหาดของปัตตานียาวถึง 116.40 กิโลเมตร ไล่ตั้งแต่อำเภอหนองจิก อำเภอเมือง ยะหริ่ง ปะนาเระ ไล่ไปถึงสายบุรี และไม้แก่น มีชายหาดมากมายให้แวะชม เราเริ่มที่หาดแฆแฆ (แฆแฆ เป็นภาษามลายูท้องถิ่น หมายถึงอึกทึกครึกโครม) โขดหินใหญ่แบ่งหาดออกเป็นสามเวิ้งหลัก ให้เราสนุกสนานกับการปีป่ายสไตล์ผจญภัยเล็กๆ ดื่มดำกับหาดทรายสีทองและโขดหินทงแปลกตาอย่างเงียบๆ หิวเมื่อไหร่เดินผละจากหน้าหาดมานิดเดียวมีร้านขายอาหารเรียงราย นั่งกินรับลมทะเลได้ชิลๆ ไล่เรื่อยขึ้นมาแวะหาดมะรวด หาดปะนาเระ ก่อนมาหยุดที่หาดตะโละกาโปร์ เพราะเหลือบเห็นเรือกอและ ราชินีแหงสายน้ำ จอดอวดลวดลายสีจัดที่ผสมผสานระหว่างลายไทย มลายูท้องถิ่น และจีนอย่างสวยงาม ถ้ามี 2 หัวถึงเรียกเรือกอและ…
เกาะลันตา ศรีรายา นาทีที่กระแสคลื่นหลอมรวมผู้คน
จะออกเรือไปจนสุดขอบฟ้า หลังออกจากตัวเมืองกระบี่มาไม่นาน ถนนราบเรียบทอดยาวพาเราผ่านบ้านร่าหมาด และมาสิ้นสุดปลายทางที่บ้านขุนสมุทร ว่ากันตามจริง การเดินทางไปเกาะลันตาคนส่วนใหญ่มักเลือกเดินทางด้วยแพขนานยนต์ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่บางครั้งแง่งามที่พบเห็นระหว่างการเดินทางอาจตกหล่นสูญหาย การล่องเรือไปยังเกาะลันตาดูจะเป็นหนทางที่ทำให้เราสามารถเก็บเกี่ยวภาพงามทางตาได้อย่างลึกซึ้งและเข้าถึงมากกว่า ยามเช้าที่ท่าเรือขุนสมุทร คล้ายโลกยังไม่ตื่นจากการหลับไหล เรือหัวโทงหลายลำลอยเรียงรายอยู่เหนือผิวน้ำ ใกล้กันมีกระชังปลาให้เห็นเป็นหย่อมๆ ภาพตรงหน้านั้นช่างสงบงาม เสียงเครื่องยนต์เรือเริ่มแว่วดังเข้ามาใกล้ๆ สักพักเรือหัวโทงลำใหญ่มีหลังคาคลุมกันร้อนก็มาเที่ยบท่า ก่อนพาเราล่องเรื่อยผ่านป่าโกงกางที่แผ่กิ่งก้านอวดใบเขียวเป็นมันแน่นขนัดสองฟากผั่งออกสู่ท้องน้ำกว้างสุดลูกหูลูกตา “ข้ามแพมันสะดวก แต่ก็ไม่ได้เห็นอะไรมากมายเท่ากับล่องเรือข้าไป ถ้ไม่รีบร้อนไปเรือดีกว่า” พี่มนต์คนขับเรือใจดีชวนเราคุย พร้อมชี้ชวนให้ดูเกาะต่างๆ ระหว่างทาง “นั่นเกาะเปรว คนอิสลามเขาใช้ฝังศพกัน นั่นเขาร่าปู ที่เขาว่ามีสมบัติซ่อนไว้” เรือค่อยๆ เคลื่อนผ่านผืนน้ำใสไปเรื่อยๆ บางช่วงก็โยกโยนตามแรงคลื่น…
ท่าเลน เกาะห้อง แหลมจมูกควาย บนทางคลื่นและแรงลม
น้ำทะเลกำลังขึ้น เปลือกหอยเล็กๆ ที่ถูกคลื่นชัดเป็นแนวเมื่อน้ำขึ้นคราวก่อนกำลังจะจมหายไปอย่างช้าๆ แสงแดดของยามบ่ายทอดตัวไปหลังทิวเขาเงาร่มครึ้มตกลงมาห่มหาดทราย ลมทะเลพัดแผ่วโชยฉิว เรือหางยาวที่จอดอยู่เต็มชายหาดเริ่มทยอยออกไปทีละลำ นักท่องเที่ยวค่อยๆ ทยอยออกไปจนชายหาดสงบ เสียงนกร้องเบาๆ ดังสลับกับเสียงคลื่นที่พลิ้วกระทบฝั่ง ไม่นานนักท้องฟ้าก็เริ่มคลี่ม่านของยามค่ำลงห่มคลุมท้องทะเล และพระจันทร์ก็ส่องแสงกระจ่างขึ้นที่ริมขอบฟ้า ความงดงามของทะเลในช่วงพระจันทร์เต็มดวงดูอ่อนหวานยิ่งนัก.. ทางของเกลียวคลื่น แสงของเช้าตรู่วันนั้นช่างน่าจดจำยิ่งนัก เรายืนมองแสงของวันเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ พร้อมกับเกลียวคลื่นที่ค่อยๆ ม้วนตัวเข้าหาฝั่งมองไปไกลๆ คล้ายทะเลโยกไกวอยู่ตลอด ดอกไม้แห่งท้องทะเลสีขาวเหนือยอดคลื่นปรับสีไปตามเวลาของพระอาทิตย์ที่สาดแสงแรงขึ้น จวบจนฟ้าสีชมพูปรับเป็นเหลืองอมส้ม จนกลายเป็นฟ้าสีน้ำเงินเข้ม ตัดกับผืนน้ำสีเขียวมรกต เรานั่งมองเกลียวคลื่นม้วนเข้าหาฝั่งลูกแล้วลูกเล่าพร้อมๆ กับเสียงนกเล็กๆ บินเข้ามากินลูกไม้ที่สุกอยู่ริมชายหาด ฟังสอดประสานกันอย่างลงตัว เสมือนกับผืนป่าอุดมสมบูรณ์ที่มาบรรจบกับท้องทะเล มันให้ความรู้สึกลงตัวอย่างยิ่ง ในความรู้สึกงดงามเช่นนี้…
เกาะลิบง ทะเลคราม ชีวิตยังคง
ยามโบยบินเคียงปุยเมฆขาว เกาะลิบงดูราวหัวใจ ดั่งผืนกำมะหยี่สีเขียวกลางทะเลคราม แหลมจูโหยปรากฏตรงขอบฟ้าด้านใต้ มองเห็นหาดตูบเสมือนเกาะเล็กๆ ตรงปลายแหลม นั่นเอง บ้านอันอบอุ่นของ “นักเดินทาง” 4 ปีก่อน นอกจาก “ดุหยง” ที่นำพาผมมาเยือนเกาะนี้แล้ว ยังมีบรรดานกอพยพ-นักเดินทางผู้มาเยือนในฤดูหนาว ภาพฝูงนกทะเลนับพันนับหมื่นโบยบินเหนือชายหาด คล้ายเชิญชวนให้ผมมาเยือนที่นี่ ยามโบยบินเคียงข้างพวกเขา เกาะลิบงดูราวโลกอีกใบ ห้วงน้ำสีครามกางกั้นลิบงกับผืนแผ่นดินใหญ่ มองเห็นเรือลำเล็กจ้อยลอยล่อง ขณะผืนกำมะหยี่บนเกาะนั้นคือพรรณไม้อันหลากหลายทั้งเรือนยอดของมะพร้าว ป่าดิบ และภูเขา อ่าวด้านทิศใต้โอบล้อมไว้ด้วยป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์ ทั้งหมดทำให้ลิบงเป็น “บ้าน” ของนกนักเดินทางมากหลายชีวิต ทุกๆ ปีเมื่อสายลมหนาวมาเยือนทะเลตรัง…
เที่ยวเขาหลัก และแอบไปชมเกาะตาชัย
เขาหลักเท่าที่เห็นวันนี้ขยายตัวไปในทางยาวมากกว่าเดิม จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวเขาหลักก็คือ ลักษณะที่พักขนาดใหญ่ที่ออกแบบตามธรรมชาติ ที่แม้เอาเข้าจริงจะเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งขึ้นใหม่ เพราะธรรมชาติเดิมๆ ได้ถูกล้างทิ้งไปแทบหมดสิ้นจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิในปี พ.ศ. 2547 แต่จากการออกแบบสร้างขึ้นใหม่อย่างพิถีพิถัน ตลอดจนสภาพความเป็นธรรมชาติของชายฝั่งทะเลอันดามันที่ครึ่งปีจะมีลมมรสุมถล่มหนาหนัก ทำให้พื้นที่มีการพักฟื้น จึงทำให้ภายในไม่กี่ปีแหล่งท่องเที่ยวเขาหลักก็กลับคืนสภาพที่ดูดีได้ดังเดิม และในวันนี้ก็นับว่าได้ขยายตัวออกไปตามทางยาวของเส้นทางอีกอย่างกว้างขวาง ที่พักของเขาหลักจำนวนมากเป็นที่พักราคาแพง กลุ่มผู้เข้าพักเป็นกลุ่มประจำ ที่เข้าพักกันครั้งละยาวนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ราคาค่าที่พักค่อนข้างสูงจนคนไทยจับไม่ติด แต่กระนั้นในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนถึงประมาณต้นพฤศจิกายน ก็จะเป็นช่วงฤดูมรสุมที่เขาหลักมักจะเงียบเชียบจนถึงกับร้างผู้คน ดังนั้นช่วงฤดูมรสุมนี้แหละจะเป็นโอกาสของคนไทยที่จะได้พักที่พักสุดหรูหรา ชนิดพูลวิลล่า บีชวิลล่า ของเขาหลักในราคาที่จับต้องได้ ถ้าใครสนใจก็ต้องลองหาข้อมูลกันให้ดีๆ นะครับ แล้ววันรุ่งขึ้นเราก็ได้นั่งเรือเร็วลำใหญ่ที่ฟาดน้ำตูมๆ มองอะไรไม่เห็นนอกจากหน้าตาดีๆ ของลูกทัวร์ด้วยกันไปจนถึงเกาะตาชัย วันนี้ที่นี่เพิ่มบริษัทให้บริการไปอีกจากเดิม…
เทศกาลงานประเพณีประจำปีจังหวัดระนอง
งานปิดทองพระถ้ำขยางค์ จัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน (กุมภาพันธ์) ประมาณ ๓-๗ วัน โดยใช้บริเวณถ้ำพระขยางค์เป็นสถานที่จัดงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และชมความสวยงามของถ้ำตลอดจนพันธุ์ไม้และว่านสมุนไพรที่หายากชนิดต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่ามีผู้นำมาปลูกไว้ กิจกรรมช่วงกลางคืนมีมหรสพต่างๆ ให้ชม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๗๗๘๑ ๑๑๒๓, www.ranong.go.th หรือ องค์การบริหารส่วนตำบลลำเลียง โทร. ๐ ๗๗๘๒ ๔๒๖๒ เทศกาลเที่ยวระนอง ท่องอันดามัน จัดสัปดาห์ที่สามของเดือนมีนาคม มีกิจกรรมการจัดนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว การออกร้านของบริษัททัวร์…
สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
เขาฝาชี หรือ จุดชมวิวเขาฝาชี อยู่ห่างจากตัวเมืองระนอง ๓๐ กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลบางแก้ว ทางหลวงหมายเลข ๔ ประมาณกิโลเมตรที่ ๕๘๐ เลี้ยวซ้ายตรงทางแยกมีป้าย “ศูนย์โทรคมนาคมเขาฝาชี” ขับรถขึ้นเขาไปประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นภูเขาที่มีลักษณะคล้ายกับฝาชี สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๕๙ เมตร ซึ่งพื้นที่บริเวณเขาฝาชี เคยเป็นที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่น บนยอดเขาเป็นสถานที่ชมทิวทัศน์สวยงาม พระอาทิตย์อัสดง สามารถมองเห็นแม่น้ำกระบุรีไหลบรรจบกับแม่น้ำละอุ่น สุสานรถไฟโบราณ ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๔ ข้างสะพานข้ามแม่น้ำ ละอุ่น…
ท่องเที่ยวชมพลับพลึงธาร แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จากอำเภอกะเปอร์ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๔ (ทางไปพังงา) ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ถึงกิโลเมตรที่ ๖๘๕-๖๘๖ เลี้ยวซ้ายตามป้ายอีก ๒๐๐ เมตร ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา มีเนื้อที่ราว ๓๓๑,๔๕๖ ไร่ ปกคลุมด้วยผืนป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดผืนหนึ่งในภาคใต้ โดยมีพื้นที่ติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอุทยานแห่งชาติศรีพังงา จังหวัดพังงา มียอดเขาต่างๆ ที่สูงชันและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายแห่งเช่น เขาหลังคาตึก เขาพระหมี เขานาคา เขาพ่อตาหลวงแก้ว และเขาเหมืองโชน เป็นต้น…
สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
ศิลาสลักพระปรมาภิไธย อยู่ในเขตตำบลปากจั่น (ตรงข้ามโรงเรียนบ้าน จปร.) กิโลเมตรที่ ๕๒๕-๕๒๖ ห่างจากตัวเมืองระนอง ๘๖ กิโลเมตร หรือ ๒๖ กิโลเมตรจากอำเภอกระบุรีฝั่งขวา อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นที่ตั้งของ “หินสลักพระปรมาภิไธย จปร.” ของรัชกาลที่ ๕ ที่ได้ทรงจารึกไว้ ครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จประพาสโดยขบวนช้างและม้าจากจังหวัดชุมพร มาประทับแรมคืนที่พลับพลาดอนวังทู้หมู่ที่ ๑ ตำบลปากจั่น เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๓๓ และหินสลักพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และ สก.…
สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมืองระนอง
อนุสาวรีย์พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) ตั้งอยู่บนถนนเพิ่มผล โดยได้นำรูปปั้นมาประดิษฐาน เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีเจ้าเมืองระนองคนแรกผู้ทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง และท้องถิ่น ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ชาวระนอง และบุคคลทั่วไปนิยมมาสักการะเป็นจำนวนมาก พระราชวังรัตนรังสรรค์ (จำลอง) เป็นพระราชวังที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์การเสด็จประทับแรมจังหวัดระนองของพระมหากษัตริย์ ๓ พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๓๓) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (พ.ศ.๒๔๕๒) และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่…