Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

ท่องเที่ยวภาคกลาง

  • Home
  • สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งอยู่บนรอยต่อของสามจังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ครอบคลุมพื้นที่ ๑๙๑,๘๗๕ ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ภูหินร่อง กล้ามียอดเขาสูง ๑,๖๑๗ เมตร มีทิวทัศน์สวยงาม ปกคลุมด้วย ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน และพบกล้วยไม้ดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน ได้รับรางวัลดีเด่น รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ ๗ ประจำปี…

สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ มีชื่อเรียกตามชาวบ้านว่า น้ำตกปากรอง ตั้งอยู่ที่บ้านปากรอง ตำบลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๔๕ กิโลเมตร น้ำตกชาติตระการเป็นน้ำตกที่สวยงามมากในจังหวัดพิษณุโลก มี ๗ ชั้น แต่ละชั้นมีความงดงามต่างกันออกไป และตั้งชื่อตามนามธิดา ท้าวสามลในวรรณคดีไทยเรื่องสังข์ทอง โดยเฉพาะชั้นที่ ๓ และ ๔ น้ำตกจากหน้าผา สูงประมาณ ๑๐ เมตร แผ่เป็นฝอยกระจายทั่ว ชั้นที่เป็นแอ่งใหญ่ที่สุดคือ ชั้นที่ ๑ ระยะทางเดินจากชั้นที่ ๑…

สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ครอบคลุมพื้นที่ป่าเขาในเขต ๔ อำเภอของพิษณุโลก คือ วังทอง วัดโบสถ์ นครไทย และชาติตระการ เป็นแหล่งต้นน้ำหลายสายที่ไหลลงสู่ลำน้ำแควน้อย แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ คือ น้ำตกแก่งเจ็ดแคว อันเป็นที่รวมของธารน้ำสายย่อย ๆ จำนวน ๗ สาย เป็นลานหินกว้างประมาณ ๒๐๐ เมตร อยู่กลางลำน้ำแควน้อย มีสันดอนเป็นพื้นที่ป่าอยู่ตรงกลางทำให้ลำน้ำแควน้อยแยกออกเป็น ๗ สาย สันดอนกลางน้ำมีพื้นที่ประมาณ ๕๐ ไร่ สามารถจัดเป็นพื้นที่ตั้งแคมป์พักแรม มีน้ำไหลตลอดปี…

สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

ถ้ำเดือน-ถ้ำดาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ทางด้านทิศตะวันตก ในความดูแลของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ สล.๖ บ้านมุง มีลักษณะเป็นถ้ำน้ำลอด ทางขึ้นปากถ้ำาเป็นธารน้ำไหลผ่านโขดหินน้อยใหญ่ซึ่งต้องปีนป่ายขึ้นไป ในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงที่มีธารน้ำไหลผ่าน มีความยาว ๑.๔ กิโลเมตร สวยงามด้วยหินงอก หินย้อย ช่วงที่เหมาะแก่การชมถ้ำคือในฤดูแล้ง และต้องนำไฟฉายติดตัวไปด้วย ฤดูฝนไม่เหมาะแก่การเที่ยวชมเนื่องจากปริมาณน้ำมากและอันตราย การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒ สายพิษณุโลก-วังทอง แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑ ไปสากเหล็ก แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๑๕ ไปตัวอำเภอเนินมะปราง และเดินทางต่ออีก ๖ กิโลเมตรถึงบริเวณถ้ำ…

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

วัดราชคีรีหิรัญยาราม หรือ วัดพระพุทธบาทเขาสมอแคลง หรือ วัดเขาสมอแคลง ตั้งอยู่บนเขาสมอแคลง บ้านสมอแคลง เดิมเป็นวัดร้าง มีพระสงฆ์มาจำพรรษาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ บนเขาสมอแคลงมีสระน้ำเรียกว่า สระสองพี่น้อง มีน้ำตลอดปี ในบริเวณวัดมี รอยพระพุทธบาทจำลอง และบนเขาด้านตะวันตกของวัดมีรอยพระบาทตะแคงอยู่กับหน้าผา ซึ่งจะมีงานนมัสการพระพุทธบาทในกลางเดือน ๓ เป็นประจำทุกปี เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการอัญเชิญพระโพธิสัตว์กวนอิม ซึ่งแกะสลักจากหินทะเลสาบหยกขาวจากเมืองหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นปางพิเศษที่ได้รับอนุมัติให้สร้างโดยรัฐบาลจีน โดยใช้ต้นแบบจากวัดเจ้าแม่ กวนอิม เมืองหางโจว…

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเมืองพิษณุโลก

เสาหลักเมืองพิษณุโลก ประดิษฐานอยู่ภายในศาลหลักเมือง ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอเมือง ออกแบบอาคารโดยกรมศิลปากร เป็นแบบยอดปรางค์ เสาหลักเมืองทำจากไม้มงคลหลายชนิด คือ จากโคนลำต้นถึงลูกฟัก ทำจากไม้ราชพฤกษ์ ท่อนลูกแก้วท่อนบนทำจากไม้ชิงชัน ส่วนยอดบัวตูมประกอบด้วยลูกแก้วทำาจากไม้สักทองตายพราย และได้นำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นศาลาทรงไทยโบราณตรีมุข พระรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขนาดเท่าองค์จริง ประทับนั่ง พระหัตถ์ทรงพระสุวรรณภิงคารหลั่งน้ำ ในพระอิริยาบถประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง สร้างโดยกรมศิลปากร มีการจัดงานสักการะพระบรมรูปในวันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปี ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตั้งอยู่ในโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ซึ่งตั้งอยู่ติดกับเสาหลักเมือง อยู่ถัดเข้าไปตามถนนเลียบแม่น้ำ แต่เดิมบริเวณโรงเรียนเคยเป็นพระราชวังจันทน์มาก่อน เมื่อเดือนมีนาคม…

เทศกาลงานประเพณีประจำปี จังหวัดอยุธยา

งานประจำปีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดเป็นประจำทุกปี ช่วงปลายเดือนมกราคม ภายในบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร มีการแสดงและประกวดผลงานด้านศิลปาชีพ มีการจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองทั่วไป การแสดงศิลปวัฒนธรรมอันงดงาม งานประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี (ในช่วงเทศกาลสงกรานต์) จัดในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ชมขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผชาติ การประกวดเทพีสงกรานต์ การแสดงทางวัฒนธรรม สอบถามรายละเอียดได้ที่ เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา (กองการศึกษา) โทร. ๐ ๓๕๒๕ ๒๑๖๘ พิธีไหว้ครูบูชาเตา เป็น “พิธีไหว้ครู” ช่างตีมีดตีดาบ ของชาวบ้านต้นโพธิ์…

กิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ที่น่าสนใจ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โฮมสเตย์ กินอยู่อย่างไทยสัมผัสวิถีชีวิตไทย พักแรมที่บ้านชาวบ้านได้ที่คลองรางจระเข้ อยู่ริมคลองรางจระเข้ ในพื้นที่อำเภอเสนา นมัสการหลวงพ่อโตวัดรางจระเข้อายุ ๔๐๐ ปีสร้างในสมัยอยุธยา ชมอุทยานปลาหน้าวัดรางจระเข้ แมวตาเพชรที่สำนักปฏิบัติธรรมปัญญาโสภิต ล่องเรือ ชมธรรมชาติและบ้านทรงไทยริมฝั่งคลอง บรรยากาศเงียบสงบ ค่าบริการชาวไทย ๕๐๐ บาท ชาวต่างชาติ ๗๐๐ บาท รวมอาหาร ๒ มื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ จ.ส.ต.เริงไชย ฤกษ์บุปผา หรือ คุณดาวเรือง ฤกษ์บุปผา โทร. ๐๘…

วัดสุทธาวาส วิปัสสนา อำเภอลาดบัวหลวง พระนครศรีอยุธยา

วัดสุทธาวาส วิปัสสนา ตั้งอยู่ที่ บ้านตะพังโคลน ตำบลลาดบัวหลวง เดิมเรียกว่า “วัดตะพังโคลน”วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๒ สำหรับปูชนียวัตถุสำคัญของวัดได้แก่ “พระบรมสารีริกธาตุ” (ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๙ องค์) ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงประธานให้กับวัดเมื่อวันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗ วัดสุทธาวาส วิปัสสนาเจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพระราชกุศลทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๖.๐๙ น. และมีการสอนกรรมฐานปฏิบัติธรรมแก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ ทุกเดือนตลอดทั้งปี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.…

ศาลเจ้าลาดชะโด แหล่งท่องเที่ยวอำเภอผักไห่ พระนครศรีอยุธยา

ตลาดลาดชะโด ชุมชนลาดชะโดมีอายุเก่าแก่ราวสมัยหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ หรือ ราวปีพ.ศ.๒๓๑๐ ก่อตั้งขึ้นโดยชาวกรุงเก่าที่อพยพหนีศึกสงครามมาในครั้งนั้น พื้นที่บริเวณที่ตั้งชุมชนแต่เดิมเรียกว่า “บ้านจักราช” แต่การที่หมู่บ้านนี้มีชื่อว่า “บ้านลาดชะโด” น่าจะมีที่มาจากสภาพพื้นที่ ที่เป็นที่ลาดริมน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของคูคลองที่มีอยู่มากมายและอุดมไปด้วยปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะปลาชะโด ถึงขนาดมีคำเตือนกันว่าเวลาพายเรือให้ระวังไม้พายจะไปโดนปลาชะโดเข้าชาวบ้านลาดชะโดแต่เดิมคงมีการปะปนกันหลายเชื้อชาติ ที่มีมากคือไทยและมอญ การตั้งบ้านเรือนนิยมทำเลริมน้ำ อาชีพหลักของชาวบ้านคือทำนา เพราะหมู่บ้านอยู่ใกล้ทุ่งลาดชะโด ซึ่งเป็นพื้นที่ดินตะกอนปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีคลองลาดชะโดซึ่งเชื่อมต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นทางน้ำสำคัญนับว่าเป็นหมู่บ้านที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำในแถบนี้ปัจจุบัน ชาวบ้านตำบลลาดชะโดได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเปิดชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวบ้าน จัดภูมิทัศน์เป็นตลาดบกท้องถิ่นวิถีชีวิตชุมชนภาคกลาง อย่างไรก็ดีชุมชนนี้ยังมีลักษณะของชุมชนเก่าแก่ที่มีองค์ประกอบของชุมชนอย่างครบถ้วนสถานที่น่าสนใจของชุมชนได้แก่ วัดลาดชะโด เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมานานกว่า ๒๐๐ ปี แต่เดิมพื้นที่วัดล้อมถูกล้อมรอบด้วยลำคลองมีลักษณะคล้ายเกาะ มีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง…