Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

เที่ยวเกาะ

  • Home
  • เที่ยวเกาะสีชัง แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกาะสีชัง ชลบุรี

เที่ยวเกาะสีชัง แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกาะสีชัง ชลบุรี

เกาะสีชัง เป็นเกาะใหญ่ที่มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของชลบุรี อยู่ห่างจากฝั่งศรีราชาประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เป็นที่จอดพักเรือสินค้านานาชาติ และเป็นเกาะที่น่าท่องเที่ยวในบรรยากาศแบบท้องถิ่น ซึ่งสามารถแวะท่องเที่ยวในวันเดียวหรือพักค้างคืนก็ได้ ชุมชนเกาะสีชังอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะ เป็นที่ตั้งของท่าเรือเทววงษ์ (ท่าล่าง) และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางด้วยรถสามล้อเครื่อง (สกายแล็ป) หรือรถสองแถวไปยังจุดอื่น ๆ บนเกาะสีชัง สถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะสีชัง ได้แก่ ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ตั้งอยู่บนเขาห่างจากท่าเรือเทววงษ์ไปทางด้านเหนือของเกาะ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเกาะสีชังให้ความเคารพนับถือ ลักษณะไทย จากบริเวณศาลมองเห็นทิวทัศน์บ้านเรือนด้านหน้าเกาะได้ชัดเจนมณฑปรอยพระพุทธบาท อยู่สูงขึ้นไปบนยอดเขาเดียวกับศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ รัชกาลที่ ๕ ทรงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ บนยอดเขาเป็นจุดชมทิวทัศน์ทะเลได้โดยรอบ ช่องอิศริยาภรณ์ (ช่องเขาขาด)…

หาดทรายนํ้าใสทะเลสวย หาดท้องนายปาน เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะพะงันนั้นยังมีอ่าวรูปโค้ง เป็นวงพระจันทร์อยู่แห่งหนึ่ง ซุกซ่อนตัวเองอยู่อย่างลี้ลับมาแต่ครั้ง สมัยโบราณที่มีประวัติว่ามีชาวสงขลาชื่อนายปาน อพยพหนีภัยจากโจรสลัดแขกที่ออกปล้นสะดมในน่านน้ำแถบนี้จนมาพบเวิ้งอ่าวอันห่างไกลสงบเงียบและลึกเร้นพอจะหลีกหนีภัยได้เพื่อเป็นที่ซุกซ่อนตัวเอง เหตุการณ์นี้น่าจะเกิดขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3อภายหลังโจรแขกถูกปราบลงได้ นายปานก็เลยอาศัยอยู่ที่นี่และมีชีวิตอยู่ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงถึงแก่กรรม ผู้คนได้เรียกขานอ่าวแห่งนี้รวมทั้งชายหาดว่า หาดท้องนายปาน เรื่อยมา ปัจจุบันจากสภาพทางภูมิศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 หาดคือ หาดท้องนายปานน้อย กับ หาดท้องนายปานใหญ่ หาดท้องนายปานน้อย ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศเหนือของกลุ่มหาดท้องนายปานมีความยาวราว 700 เมตร เริ่มตั้งแต่ชายหาดบริเวณด้านทิศใต้ของแหลมปากช่อง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสันธิญารีสอร์ท แอนด์ สปา ลงมาทางด้านทิศใต้จนถึงเนินเขาบริเวณที่แบ่งหาดท้องนายปานน้อยออกจากหาดท้องนายปานใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของปานวิมาน รีสอร์ท…

ชุมชนเก่าบ้านใต้ บ้านค่าย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี

ชุมชนบ้านใต้ เป็น 1 ใน 3 ชุมชนเก่าแก่บนเกาะพะงันที่มีผู้คนมาตั้งรกรากอาศัยอยู่มาช้านาน สันนิษฐานว่าตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นชุมชนชาวจีนอพยพซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีนไห่หนาน หรือไหหลำ ที่มีอาชีพทำการประมง เข้ามาทำมาหากินตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยและผสมผสานกับคนพื้นบ้านมีลูกหลานสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนจนเป็นชุมชนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งบนเกาะพะงันมาจนถึงปัจจุบัน ร่องรอยของความเจริญรุ่งเรืองจากครั้งอดีตอาจพบเห็นได้จากวัดวาอารามต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นชุมชนคนพุทธที่ผสมผสานกับคนเชื้อสายจีน กล่าวคือมีทั้งวัดเก่าแก่หลายแห่งเช่น วัดใน วัดนอก วัดโพธิ์ วัดเขาถ้ำ และมีศาลเจ้าจีนตั้งอยู่ในเขตบ้านใต้ ซึ่งสันนิษฐานว่าวัดเหล่านี้หลายวัดสร้างขึ้นมาในสมัยเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน คือ สมัยอยุธยาตอนปลายหรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น วัดใน เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดซึ่งพบในเขตบ้านใต้ คาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่ในเขตธรณีสงฆ์ของวัดโพธิ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลบ้านใต้…

เที่ยวพิชิตยอดเขาหรา นํ้าตกแพง ที่เกาะพะงัน

บนความท้าทายของนักผจญภัยยอดเขาหรา ยอดเขาที่สูงที่สุดบนเกาะพะงันนั้นมักจะมีผู้คนเดินทางบุกบั่นดั้นด้นขึ้นไปสัมผัสความเป็นผู้พิชิตอยู่เนื่องๆ ยอดเขาหรา มีความสูง 627 เมตรจากระดับน้ำทะเลตั้งอยู่บริเวณใจกลางสุดของเกาะพะงันประดุจหัวใจสีเขียวของเกาะพะงัน การเดินทางพิชิตยอดเขาหรานั้น เริ่มต้นจากบ้านมะเดื่อหวานมีป้ายบอกทางชัดเจน สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ผ่านสวนผลไม้ของชาวบ้านไปจนจรดเชิงเขา จากนั้นเป็นเส้นทางเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขาหรา ในช่วงแรกเป็นป่าโปร่งผ่านอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กแห่งหนึ่งขึ้นไป เข้าสู่เขตป่าดงดิบชื้นเป็นทางลาดชันมีต้นไม้ขนาดใหญ่อาทิยางนา ตะเคียน ตังหน ขึ้นอยู่ทั่วไปมีลำธารเล็กๆ พอให้หาน้ำดื่มน้ำใช้ได้ ป่าบริเวณนี้เป็นแหล่ง กล้วยไม้เพชรหึง ที่มักพบขึ้นอยู่ตามคาคบไม้ใหญ่และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสรรพชีวิตทั้งพืชพรรณไม้นานาชนิด เช่น เฟิร์นกระเช้าสีดา ช้องนางคลี่ กล้วยไม้สิงโตกลอกตา รวมทั้งนกและสัตว์ป่าอาทิ ลิง กวางป่าและหมูป่า เป็นต้น พ้นแนวป่าช่วงนี้ หนทางขึ้นเขาหราจะเริ่มชันยิ่งขึ้นและสภาพป่าเปลี่ยนไปเป็นป่าที่มีต้นไม้ขนาดเล็กลง มีแหล่งน้ำซับเล็กๆ…

ย้อนอดีตสู่เส้นทางวิถีชุมชน บ้านมะเดื่อหวาน บ้านในสวน เกาะพะงัน

จากอ่าวโฉลกหลำจะมีถนนเส้นหนึ่งซึ่งตัดผ่านบริเวณช่องเขาแคบๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ไม่สูงชันนัก ระหว่างแนวของเขาหราที่อยู่ตอนกลางสุดของเกาะและเขาตาหลวงซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางที่ลัดเลาะไปในช่องเขาลดหลั่นลงไปทางด้านทิศใต้สู่แนวที่ราบทางด้านท้องศาลาอีกครั้ง ตลอดเส้นทางสายนี้ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นพื้นที่สีเขียวของป่าไม้อุดมสมบูรณ์สลับกับสวนยางพาราและเรือกสวนไร่นานับเป็นเส้นทางที่สวยงามเส้นหนึ่ง มีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่หลายแห่งซึ่งใครเที่ยวเลาะชายหาดตะวันตกมาจนถึงโฉลกหลำก็สามารถเดินทางกลับเป็นเส้นทางวงรอบกลับไปยังท้องศาลาได้โดยไม่ต้องเสียเวลาย้อนกลับทางเดิมและยังได้ท่องเที่ยวไปในโลกสีเขียวของเกาะพะงันอีกด้วย จุดแรกที่ควรแวะเที่ยวคือ ศาลเจ้าแม่กวนอิมและวัดป่าแสงธรรม ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ศาลเจ้าแม่กวนอิม อยู่ห่างจากบ้านโฉลกหลำราว 6 กิโลเมตร รูปแบบเป็นศาลเจ้าจีนที่สวยงามตั้งอยู่บนไหล่เขาช่วงหนึ่งของเขาตาหลวงที่มียอดสูงสุด 478 เมตรจากระดับน้ำทะเลอยู่ด้านตรงข้ามกับเขาหรา บริเวณศาลเจ้าอยู่บนเนินสูงที่เป็นจุดชมวิวสามารถมองเห็นอ่าวโฉลกหลำาที่อยู่ทางด้านทิศเหนือได้เป็นอย่างดี ตามประวัติเล่าขานกันมาสั้นๆ ว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งที่มีศรัทธาแรงกล้าต่อองค์พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมชื่อคุณมลาวรรณ ได้เดินทางไปทอดผ้าป่าที่เกาะพะงันแล้วไปที่บ้านโฉลกหลำซึ่งเป็นชุมชนคนจีนไหหลำที่มีอาชีพทำาประมงมาแต่เก่าก่อนจึงเกิดศรัทธาขึ้นว่าจะต้องสร้างศาลเจ้าแม่กวนอิมนี้ขึ้นเพื่อบูชาและเป็นจุดหมายในการเดินเรือคล้ายกับเป็นประภาคารส่องแสงในยามค่ำคืนให้คนเรือได้มองเห็นเป็นจุดหมายในการเดินเรือได้ด้วย ซึ่งได้มาเจอสถานที่แห่งนี้เหมาะกับความฝันของเธอ จึงได้กลับไปกรุงเทพฯ แล้วรวบรวมเงินมาสร้างศาลเจ้าแม่กวนอิมนี้ขึ้น และสามารถสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2536ภายในบริเวณศาลเจ้า มีศาลาชมวิวอยู่แห่งหนึ่งสร้างเป็นเก๋งจีนสามหลังติดต่อกัน…

งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

บริเวณด้านทิศเหนือสุดของเกาะพะงัน นั่นคือ หาดโฉลกหลำ ชายหาดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมราวกับวงพระจันทร์ความยาวของหาดราว 3.5 กิโลเมตร ที่นี่เป็นชุมชนชาวประมงซึ่งมีวิถีชีวิตความเป็นมาเก่าแก่คู่กับเกาะพะงันมาเนิ่นนาน กล่าวกันว่าชื่อ โฉลกหลำ นี้มาจากชาวมลายูคนแรกที่มาอาศัยอยู่ที่อ่าวนี้ชื่อว่า โดล่ะ ดะหลำ แล้วภายหลังเรียกเพี้ยนเป็น โฉลกหลำ นั่นเป็นนัยหนึ่ง ส่วนคำว่า โฉลก นั้นสันนิษฐานอีกนัยหนึ่งว่า น่าจะมีส่วนมาจากการที่เมืองไชยามีชื่อตำแหน่ง ขุนยกกระบัตร หัวเมืองโฉลกในสมัยนั้นซึ่งชื่อบ้านหลายแห่งในเกาะพะงันก็มีชื่อนำหน้าว่าโฉลก อาจจะมีส่วนมาจากชื่อตำแหน่งนี้ก็เป็นได้ เพราะเกาะพะงันเคยขึ้นอยู่กับเมืองไชยามาก่อน หรือประการสุดท้ายที่เป็นข้อสันนิษฐานของผู้เขียนเองว่า การที่ชุมชนชาวจีนมาอาศัยอยู่บนเกาะพะงันพยายามออกเสียงคำว่า ลูกบ้านว่า โละบั่น เช่นลูกบ้านเก่าเรียกว่า โละบั่นเก๋า คำว่าโละนี้ก็อาจพ้องกับคำว่า…

ดูตะวันลับขอบฟ้า หาดศรีธนู หาดเจ้าเภา หาดสน เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี

ในบรรดาชายหาดด้านตะวันตกทั้งหมดนั้น หาดศรีธนู หาดเจ้าเภา และหาดสน จัดได้ว่าเป็นชายหาดที่มีมุมมองพระอาทิตย์ตกได้สวยกว่าหาดใดๆ ทั้งนี้เนื่องจากมุมมองทางทิศตะวันตกแถบนี้สามารถแลเห็นหมู่เกาะอ่างทองเรียงรายอยู่ตรงหน้าอย่างสวยงามจะต่างกันก็ตรงที่มองจากมุมไหนเท่านั้น หาดศรีธนูจะเริ่มจากปลายแหลมศรีธนูขึ้นไปทางด้านทิศเหนือ บริเวณแหลมศรีธนู เป็นปลายแหลมยื่นลงไปในทะเล มีลักษณะเป็นเนินเตี้ยๆ เป็นที่ตั้งของรีสอร์ท สวยงามหลายแห่ง ซึ่งหากได้ยืนอยู่บนยอดเนินก็จะเห็นมุมมองพระอาทิตย์ตกได้ชัดเจน ถัดจากแหลมศรีธนูจะเป็นหาดศรีธนูที่ต่อไปถึงแหลมเหนียด ความยาวราว 800 เมตร เนื่องจากแถบนี้มีหาดทรายสวยงามมีต้นสนทะเลขึ้นอยู่เป็นทิวบางคนจึงเรียกว่าแหลมสน ชายหาดบริเวณนี้ถือเป็นหาดที่มีคุณภาพ มีรีสอร์ทและบังกะโลอยู่หลายแห่งสามารถลงเล่นน้ำทะเล นอนอาบแดดและชมพระอาทิตย์ตกได้เป็นอย่างดี ในครั้งอดีตเมื่อราว 40 ปีมาแล้วพื้นที่แถบนี้เคยเป็นเหมืองแร่ดีบุกมาก่อน ปัจจุบันเลิกกิจการไปประมาณ 20 ปีที่แล้ว จึงยังมีขุมเหมืองเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง เรียกว่า ทะเลสาบแหลมสน…

แหล่งท่องเที่ยว บริเวณหาดท้องศาลา เกาะพะงัน

ชื่อหาด “ท้องศาลา” นี้มีกำาเนิดมาจากครั้งอดีตเมื่อราว พ.ศ. 2427เคยมีศาลาอยู่หลังหนึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณสะพานท่าเรือ ซึ่งเจ้าเมืองไชยา เคยใช้นั่งว่าราชการงานเมือง และใช้เป็นที่พักผ่อนปัจจุบันเรียกว่าศาลาที่ว่าการหรือทำเนียบ จึงเรียกขานหาดแถบนี้ว่า หาดท้องศาลา ซึ่งต่อมากลายเป็นศูนย์กลางความเจริญของเกาะพะงัน มีทั้งท่าเรือเฟอร์รี่ เรือด่วน รถรับส่งนักท่องเที่ยว ร้านอาหารนานาชาติ ร้านขายของที่ระลึก ร้านอินเทอร์เน็ต ร้านกาแฟน่ารักๆ ตลอดจนโรงแรมที่พัก ธนาคาร บริษัทท่องเที่ยว รถเช่า ฯลฯ ถือว่าเป็นแหล่งที่มีสิ่งอำานวยความสะดวกที่สุดบนเกาะพะงัน บริเวณหาดท้องศาลาแห่งนี้หากเป็นเทศกาลงานประเพณีสงกรานต์ ก็จะเป็นศูนย์รวมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มารวมตัวเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ก็ยังมีประเพณีชักพระในวันออกพรรษาเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สำาคัญซึ่งกำเนิดขึ้นที่เกาะพะงัน เป็นประเพณีพื้นบ้านที่ชาวเกาะพะงันยังคงยึดถือและปฏิบัติกันสืบมา หาดท้องศาลา หาดท้องศาลา…

ปั่นจักรยานท่องเที่ยวเกาะพะงันได้ทั่วถึงและปลอดภัย

ด้วยขนาดพื้นที่ ภูมิประเทศ ตลอดจนการแบ่งโซนการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้วยฝีมือของธรรมชาติ ประกอบกับ “วิถีพะงัน”การท่องเที่ยวด้วยจักรยานเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ขอแนะนำพร้อมประทับตรายืนยันให้ผู้เดินทางท่องเที่ยวรับรู้ว่า “เหมาะสม” ถนนทั่วเกาะพะงันตัดตรง ตัดขวาง ระโยงระยางทั่วเกาะนับรวมกันได้ความยาวที่ 74.72 กิโลเมตรเส้นทางเชื่อมโยงที่ยาวที่สุดคือเส้นท้องศาลา-อ่าวท้องนายปาน 17.0 กิโลเมตร สภาพเป็นถนนซีเมนต์ผสมถนนดิน แม้วันนี้ยังไม่มีเลนช่องทางจักรยานเป็นการเฉพาะ แต่ถนนทั่วเกาะพะงันยังมีพาหนะบนถนนน้อยมาก สิ่งที่ผู้เดินทางจะได้พบเจอบนสองฝั่งถนนแทบทุกสายต่างหากที่มากมายหลากหลาย เกาะแค่นี้มีนาข้าว มีดงเสม็ดขาวมีวิถีชาวบ้านพะงันที่บ่งบอก ว่าวิถีพะงันนี่แหล่ะที่จะนำพาไปสู่เกาะสีเขียวได้ ทั้งสถาปัตยกรรมบ้านที่สอดคล้องกับสภาพอากาศ นิสัยชอบปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษข้าง บ้านรับประทานกันเอง วิถีเศรษฐกิจพอเพียง รักสะอาด รักธรรมชาติ เก็บความเป็น “บ้าน บ้าน”ไว้ครบถ้วน ทั้งเช้าและบ่ายเป็นเวลาที่เหมาะสม…

ภูมิศาสตร์ของเกาะพะงัน เพชรเม็ดงามบริสุทธิ์ของอ่าวไทย

ด้วยสภาพที่ตั้งของเกาะพะงันที่เป็นเกาะขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในช่องอ่างทอง ทางด้านทิศเหนือของเกาะสมุย มีขนาดเนื้อที่ถึง 122 ตารางกิโลเมตร เป็นรองก็แต่เกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้าง และเกาะตะรุเตาเท่านั้น เกาะพะงันจึงเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีสภาพภูมิศาสตร์อุดมสมบูรณ์ทั้งหาดทรายชายทะเลที่มีอยู่เกือบรอบเกาะโดยมีแนวปะการังอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเหมาะแก่การดำน้ำชมความงามของโลกใต้สมุทรกับมีสันดอนทรายหรือหลังงันอยู่เป็น ระยะอันเป็นที่มาของชื่อเกาะพะงันในอดีตถัดจากชายหาดขึ้นไปเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาที่เหมาะแก่การทำาสวนมะพร้าว สวนผลไม้และสวนยางพาราไปจนจรดแนวเขาที่วางตัวเหนือใต้อยู่เป็นแกนกลางของพื้นที่เกาะแนวเขาเหล่านี้เองเป็นพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์มาแต่ครั้งโบราณกาลเป็นต้น น้ำลำาธารหลายสายที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนเกาะพะงัน มีน้ำตก ลำาธารอันสวยงามจนเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงเคยเสด็จประพาสมาถึงที่นี่โดยเฉพาะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสมาที่เกาะแห่งนี้ถึง 14 ครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดโดยเฉพาะกวางป่า มีหลักฐานกล่าวกันว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จะเสด็จเกาะพะงันเป็นครั้งที่ 2 นั้นมีการเตรียมกวางป่าให้พระองค์ท่านทรงปล่อย แต่เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงกำหนดการไม่ได้มาเยือน จึงมีการปล่อยกวางเหล่านั้นเข้าป่าไป…