เที่ยวอยุธยา

เทศกาลงานประเพณีประจำปี จังหวัดอยุธยา

เทศกาลงานประเพณีประจำปี จังหวัดอยุธยา

งานประจำปีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดเป็นประจำทุกปี ช่วงปลายเดือนมกราคม ภายในบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร มีการแสดงและประกวดผลงานด้านศิลปาชีพ มีการจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองทั่วไป การแสดงศิลปวัฒนธรรมอันงดงาม งานประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี (ในช่วงเทศกาลสงกรานต์) จัดในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ชมขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผชาติ การประกวดเทพีสงกรานต์ การแสดงทางวัฒนธรรม สอบถามรายละเอียดได้ที่ เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา (กองการศึกษา) โทร. ๐ ๓๕๒๕ ๒๑๖๘ พิธีไหว้ครูบูชาเตา เป็น “พิธีไหว้ครู” ช่างตีมีดตีดาบ ของชาวบ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนอง และบ้านสาไล ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง ซึ่งมีอาชีพในการตีมีดเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “มีดอรัญญิก” บรรพชนของชาวบ้านไผ่หนองและบ้านต้นโพธิ์ ตำบลท่าช้าง อำเภอ นครหลวง นั้นเป็นชาวเวียงจันทน์ เข้ามาตั้งรกรากอยู่ตั้งแต่สมัย กรุงรัตนโกสินทร์ มีอาชีพในการตีทองและตีเหล็ก แต่ต่อมาเลิกการตีทอง จึงเหลือแต่การตีเหล็กเพียงอย่างเดียว เหล็กที่ตีนี้ส่วนใหญ่ทำเป็นมีดดาบ และอาวุธ ตลอดจนเครื่องใช้อื่นๆ ซึ่งมีคุณภาพดีมากเมื่อทำเสร็จแล้วก็นำมาขายที่หมู่บ้านอรัญญิก ตำบลปากท่า อำเภอท่าเรือ จึงเรียกว่า “มีดอรัญญิก” สิ่งที่ชาวตำบลท่าช้างทุกคนยังคงถือสืบต่อกันมาตามขนบประเพณีเดิมคือการ …

เทศกาลงานประเพณีประจำปี จังหวัดอยุธยา Read More »

กิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ที่น่าสนใจ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โฮมสเตย์ กินอยู่อย่างไทยสัมผัสวิถีชีวิตไทย พักแรมที่บ้านชาวบ้านได้ที่คลองรางจระเข้ อยู่ริมคลองรางจระเข้ ในพื้นที่อำเภอเสนา นมัสการหลวงพ่อโตวัดรางจระเข้อายุ ๔๐๐ ปีสร้างในสมัยอยุธยา ชมอุทยานปลาหน้าวัดรางจระเข้ แมวตาเพชรที่สำนักปฏิบัติธรรมปัญญาโสภิต ล่องเรือ ชมธรรมชาติและบ้านทรงไทยริมฝั่งคลอง บรรยากาศเงียบสงบ ค่าบริการชาวไทย ๕๐๐ บาท ชาวต่างชาติ ๗๐๐ บาท รวมอาหาร ๒ มื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ จ.ส.ต.เริงไชย ฤกษ์บุปผา หรือ คุณดาวเรือง ฤกษ์บุปผา โทร. ๐๘ ๙๘๘๑ ๑๐๔๒ และ ๐๘ ๑๒๕๑ ๘๐๕๘ บางไทร อยู่ริมแม่น้ำน้อยในพื้นที่อำเภอบางไทร มีบ้านพัก ๕ หลัง รับนักท่องเที่ยวพักค้างคืนได้ ๒๕ คน มีกิจกรรมล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวบ้านริมแม่น้ำน้อย ชมการตกกุ้ง ตกปลา ลอยข่าย และการผลิตสินค้าหัตถกรรมการเป่าแก้วและถักแก้ว ร่วมกิจกรรมการทำนาข้าวตามฤดูกาล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณอุไร ศรีแก้วอินทร์ ๐๘ ๑๖๘๔ …

กิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ที่น่าสนใจ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Read More »

วัดสุทธาวาส วิปัสสนา อำเภอลาดบัวหลวง พระนครศรีอยุธยา

วัดสุทธาวาส วิปัสสนา ตั้งอยู่ที่ บ้านตะพังโคลน ตำบลลาดบัวหลวง เดิมเรียกว่า “วัดตะพังโคลน”วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๒ สำหรับปูชนียวัตถุสำคัญของวัดได้แก่ “พระบรมสารีริกธาตุ” (ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๙ องค์) ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงประธานให้กับวัดเมื่อวันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗ วัดสุทธาวาส วิปัสสนาเจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพระราชกุศลทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๖.๐๙ น. และมีการสอนกรรมฐานปฏิบัติธรรมแก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ ทุกเดือนตลอดทั้งปี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐๘ ๔๗๐๗ ๒๓๕๔, ๐๘ ๑๑๙๐ ๕๗๕๗  

ศาลเจ้าลาดชะโด แหล่งท่องเที่ยวอำเภอผักไห่ พระนครศรีอยุธยา

ตลาดลาดชะโด ชุมชนลาดชะโดมีอายุเก่าแก่ราวสมัยหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ หรือ ราวปีพ.ศ.๒๓๑๐ ก่อตั้งขึ้นโดยชาวกรุงเก่าที่อพยพหนีศึกสงครามมาในครั้งนั้น พื้นที่บริเวณที่ตั้งชุมชนแต่เดิมเรียกว่า “บ้านจักราช” แต่การที่หมู่บ้านนี้มีชื่อว่า “บ้านลาดชะโด” น่าจะมีที่มาจากสภาพพื้นที่ ที่เป็นที่ลาดริมน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของคูคลองที่มีอยู่มากมายและอุดมไปด้วยปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะปลาชะโด ถึงขนาดมีคำเตือนกันว่าเวลาพายเรือให้ระวังไม้พายจะไปโดนปลาชะโดเข้าชาวบ้านลาดชะโดแต่เดิมคงมีการปะปนกันหลายเชื้อชาติ ที่มีมากคือไทยและมอญ การตั้งบ้านเรือนนิยมทำเลริมน้ำ อาชีพหลักของชาวบ้านคือทำนา เพราะหมู่บ้านอยู่ใกล้ทุ่งลาดชะโด ซึ่งเป็นพื้นที่ดินตะกอนปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีคลองลาดชะโดซึ่งเชื่อมต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นทางน้ำสำคัญนับว่าเป็นหมู่บ้านที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำในแถบนี้ปัจจุบัน ชาวบ้านตำบลลาดชะโดได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเปิดชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวบ้าน จัดภูมิทัศน์เป็นตลาดบกท้องถิ่นวิถีชีวิตชุมชนภาคกลาง อย่างไรก็ดีชุมชนนี้ยังมีลักษณะของชุมชนเก่าแก่ที่มีองค์ประกอบของชุมชนอย่างครบถ้วนสถานที่น่าสนใจของชุมชนได้แก่ วัดลาดชะโด เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมานานกว่า ๒๐๐ ปี แต่เดิมพื้นที่วัดล้อมถูกล้อมรอบด้วยลำคลองมีลักษณะคล้ายเกาะ มีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง วัดลาดชะโดมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับชุมชนตลาดลาดชะโด เนื่องจากตลาดลาดชะโดตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัด และที่ดินที่ใช้ก่อสร้างตลาดนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งกรรมสิทธิ์ของวัด โดยวัดได้ยินยอมให้ก่อสร้างตลาดลาดชะโดขึ้น สมาชิกในตลาดจึงผูกพันอยู่กับวัด วัดและตลาดได้เอื้อแก่กันในด้านต่างๆ วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในตลาดที่เกือบจะทุกคนเป็นพุทธศาสนิกชน ส่วนตลาดเองก็เกื้อหนุนทำนุบำรุงวัดอย่างแข็งขันมาจนถึงปัจจุบัน ศาลเจ้าลาดชะโด เนื่องจากคนในชุมชนตลาดลาดชะโดโดยส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีนจึงมีศาลเจ้าประจำตลาด ซึ่งแต่เดิมนั้นประวัติการเกิดศาลเจ้านั้นมาจากความเชื่อ ในสมัยที่มีการขุดคลองลาดชะโดนั้น หลังจากขุดเสร็จสิ้นมักเกิดเหตุเพลิงไหม้อยู่เสมอๆ ชาวชุมชนจึงได้เชิญซินแสชาวจีนมาดูเพื่อหาสาเหตุ ได้ความว่าจะต้องสร้างศาลเจ้าขึ้นริมน้ำเพื่อไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก ดังนั้นจึงได้มีก่อสร้างศาลเจ้าเป็นอาคารไม้ขึ้นที่ฝั่งตรงข้ามอยู่เยื้องกับตลาด และได้ทำการอัญเชิญเทพเจ้า โดยการอัญเชิญควันธูป มาจากศาลเจ้าใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรี แต่เนื่องจากศาลเจ้าริมน้ำมักจะใช้ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อไม่ได้ในช่วงเวลาน้ำท่วม รวมถึงความไม่สะดวกในการเดินทาง สมาชิกชุมชนตลาดลาดชะโดจึงได้ร่วมกันสร้างศาลเจ้าขึ้นอีกแห่งอยู่ติดกับตัวตลาด ศาลเจ้าลาดชะโดแห่งใหม่นี้ใช้จัดงานหรือประกอบกิจกรรมของชุมชน อาทิ งานงิ้วซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี …

ศาลเจ้าลาดชะโด แหล่งท่องเที่ยวอำเภอผักไห่ พระนครศรีอยุธยา Read More »

หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิก สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอนครหลวง อยุธยา

ปราสาทนครหลวง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งทิศตะวันออก ในเขตตำบล นครหลวง เดิมเป็นตำหนักที่ประทับของกษัตริย์ในระหว่างเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีและเป็นที่ประทับแรมในระหว่างเสด็จไปลพบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แต่มาสร้างเป็นที่ประทับก่ออิฐถือปูนในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเมื่อพ.ศ.๒๑๗๔ พระองค์โปรดให้ช่างถ่ายแบบมาจากปราสาทศิลาที่เรียกว่า“พระนครหลวง” ในประเทศกัมพูชา นำมาสร้างใกล้กับวัดเทพจันทร์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่ได้กรุงกัมพูชากลับมาเป็นประเทศราชอีก แต่สร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ด้วยประการใดไม่ปรากฏ องค์ปราสาทสีเหลืองงดงาม ต่อมาจึงมีผู้สร้างมณฑปและพระพุทธบาทสี่รอยขึ้นบนปราสาทนี้ ส่วนตำหนักที่สร้างอยู่ข้างปราสาทนี้ได้ปรักหักพังไปหมดแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรง ประกอบพิธีฯเปิดเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ วัดใหม่ประชุมพล ตั้งอยู่ที่ ตำบลนครหลวง ริมแม่น้ำป่าสัก สร้างโดย สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากพระองค์ได้เสด็จทางชลมารคและทรงแวะค้างคืนที่อำเภอนครหลวง จึงได้มีการสร้างวัดนี้ขึ้น เพราะเป็นสถานที่ชุมนุมพล ภายในวิหารตึกเล็กๆ ที่ตั้งระหว่างศาลาการเปรียญใหญ่สองหลังประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องพระนามว่า “พระเจ้าทรงธรรม” บางท่านก็กล่าวว่าสมเด็จพระทรงธรรมเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น และบางคนก็กล่าวว่าพระพุทธรูปทรงเครื่ององค์นี้สร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากรูปเขียนที่งามหนักหนานั้น เป็นของสมัยพระเจ้าปราสาททอง ส่วนข้างบนของผนังด้านข้างประดับด้วยรูปเทวดานั่งชุมนุมเรียงรายอยู่ หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิก ประวัติความเป็นมา บ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนอง เป็นหมู่บ้านที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาเเน่น ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ และ ๗ ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งสองหมู่บ้านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว เพราะเป็นเเหล่งผลิตมีดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาเกือบสองร้อยปี กลุ่มชาติพันธุ์ ชาวบ้านต้นโพธิ์และชาวบ้านไผ่หนอง รกรากถิ่นฐานเป็นชาวเวียงจันทน์ ประเทศลาว ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยประมาณช่วงต้น …

หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิก สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอนครหลวง อยุธยา Read More »

เที่ยววัดไก่ วัดตาลเอน อำเภอบางปะหัน อยุธยา

วัดไก่ ตั้งอยู่ที่ตำบลหันสัง จากตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาไปประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ จะเห็นทางเข้าวัดอยู่ทางขวามือ เข้าไป ๖๐๐ เมตร (ปากทางเข้าจะมีป้ายสัญลักษณ์เป็นรูปลิง) วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมากลายเป็นวัดร้างภายหลังจากการเสียกรุงแก่พม่า ประมาณปีพ.ศ.๒๕๓๕ มีพระสงฆ์มาบูรณะและตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น และในปีพ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเป็นวัด และให้ชื่อว่า “วัดไก่” เนื่องจากมีไก่โดนโรคระบาดตายไปจำนวนมาก ส่วนฝูงลิงป่าที่อาศัยอยู่ที่วัดนี้ไม่มีใครบอกว่าอยู่มาตั้งแต่เมื่อใดเป็น ลิงแสม หรือลิงกัง มีอยู่เป็นจำนวนมากแต่เป็นลิงที่มีนิสัยน่ารัก เชื่อง ไม่ดุร้าย วัดตาลเอน เป็นวัดที่มีฝูงค้างคาวแม่ไก่และนกน้ำนานาชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น นกกาน้ำ นกเป็ดน้ำ นกกระยาง เป็นต้น แวดล้อมด้วยบรรยากาศร่มรื่นและธรรมชาติอันเงียบสงบ ด้านหลังของวัดติดกับคลองชลประทานมีฝูงปลาน้ำจืดอาศัยอยู่นานาชนิด การเดินทาง สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ ถนนสายเอเชีย ไปจนถึงแยกอำเภอบางปะหันแล้วเลี้ยวขวา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๔๗ ปากทางเข้าวัดจะอยู่ทางขวามือและเข้าไปอีก ๒ กิโลเมตร ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร  

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระราชวังบางปะอิน อยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าปราสาททองเป็นผู้สร้างพระราชวังแห่งนี้ เนื่องจากบริเวณเกาะบางปะอินเป็นที่ประสูติของพระองค์และเป็นเคหสถานเดิมของพระมารดาซึ่งเป็นหญิงชาวบ้านที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพบเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งแล้วเรือเกิดล่มตรงเกาะบางปะอิน พระเจ้าปราสาททองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นบนเกาะบางปะอินบริเวณเคหสถานเดิมของพระมารดาในปีพ.ศ.๒๑๗๕ พระราชทานชื่อว่า “วัดชุมพลนิกายาราม” และให้ขุดสระน้ำสร้างพระราชนิเวศน์ขึ้นกลางเกาะเป็นที่สำหรับเสด็จประพาส แล้วสร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งที่ริมสระน้ำนั้นพระราชทานนามว่า พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พระราชวังบางปะอินได้รับการบูรณะฟื้นฟูอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับ มีเรือนแถวสำหรับฝ่ายในและมีพลับพลาริมน้ำ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้น ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ ซึ่งยังคงใช้เป็นที่ประทับและต้อนรับพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงรับรองในโอกาสต่างๆเป็นครั้งคราว พระราชวังบางปะอินแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ เขตพระราชฐานชั้นนอกและ เขตพระราชฐานชั้นใน เขตพระราชฐานชั้นนอกใช้เป็นที่สำหรับการออก มหาสมาคมและพระราชพิธีต่างๆ ส่วนเขตพระราชฐานชั้นในใช้เป็น ที่ประทับส่วนพระองค์ สิ่งที่น่าสนใจในเขตพระราชวังชั้นนอกของพระราชวังบางปะอินมีดังนี้ หอเหมมณเฑียรเทวราช เป็นปรางค์ศิลาจำลองแบบจากปรางค์ขอม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ เพื่อทรงอุทิศถวายแด่พระเจ้าปราสาททองกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นพระที่นั่งปราสาทโถงทรงจตุรมุขอยู่กลาง สระน้ำ รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างเมื่อพ.ศ.๒๔๑๙ โดยจำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวังที่กรุงเทพฯและพระราชทานนาม “ไอศวรรย์ทิพยอาสน์” ตามพระที่นั่งองค์แรกซึ่งพระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เดิมพระที่นั่งสร้างด้วยไม้ทั้งองค์ ต่อมารัชกาล ที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเสาและพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด …

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Read More »

เที่ยวศูนย์ศิลปาชีพบางไทร รวมสถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบางไทร อยุธยา

วัดช้างใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างใหญ่ (อยู่ห่างจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทรประมาณ ๑ กิโลเมตร) เป็นวัดเก่าแก่สร้างก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า “วัดเสาธงหิน” เพราะมีเสาธงเก่าแก่ตั้งอยู่ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดช้างเฉย” และเปลี่ยนมาเป็น “วัดช้างใหญ่” เพราะเคยเป็นที่ตั้งของเพนียดคล้องช้าง เป็นที่ต่อช้างฝึกช้างป่า และเป็นที่อยู่ของช้างป่าจำนวนมาก วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพ.ศ.๒๓๖๐ ภายในโบสถ์ประดิษฐานพระประธานเดิมชื่อว่า “หลวงพ่อทอง” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “หลวงพ่อดำศักดิ์สิทธิ์” เชื่อกันว่า หลวงพ่อสามารถหยั่งถึงจิตใจของผู้ที่เข้าไปสักการะได้ โดยจะรู้ว่ามีความสุขหรือทุกข์โดยสังเกตจากสีหน้าของหลวงพ่อ (เป็น ความเชื่อส่วนบุคคล) ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร  ประวัติควำมเป็นมำ พระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คือการเสด็จพระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกแห่งหน ทั่วทุกภาคของประเทศไทยพระราชกรณียกิจนี้ ได้ทรงปฏิบัติติดต่อกันมานานนับเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้ว จึงทำให้ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ว่ามีความทุกข์สุขอย่างไร ที่ทรงเป็นห่วงมากก็คือ ความยากจนของราษฎร จึงทรงมีพระราชประสงค์จะจัดหาอาชีพให้ราษฎรทำ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้เพียงพอแก่การยังชีพ ในภาวะปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงสนพระทัยในงานฝีมือพื้นบ้านหรือศิลปกรรมพื้นบ้านที่จัดทำ ขึ้นโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นมาก พระองค์จึงส่งเสริมในเรื่องนี้โดยการจัดให้มีครูออกไปฝึกสอนราษฎรเป็นการช่วยปรับปรุงคุณภาพของงานให้ดียิ่งขึ้น เมื่อราษฎรมีความชำนาญแล้วผลงานที่ผลิตออกมา ก็จะทรงรับซื้อไว้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งงานนี้ต่อมาได้ขยายออกเป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฏาคม ๒๕๑๙ และได้ทรงจัดตั้งโรงฝึกอบรมศิลปาชีพขึ้นแห่งแรกที่ …

เที่ยวศูนย์ศิลปาชีพบางไทร รวมสถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบางไทร อยุธยา Read More »

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 6 ตอนจบ

หมู่บ้านโปรตุเกส ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก อยู่ทางใต้ของตัวเมือง ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพ.ศ.๒๐๕๔ โดยอัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์ก ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกส ประจำเอเซีย ได้ส่งนายดูอาร์เต้ เฟอร์นันเดส เป็นทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายและเป็นทหารอาสาในกองทัพกรุงศรีอยุธยา สร้างโบสถ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ศาสนาและเป็นศูนย์กลางของชุมชน ปัจจุบันบริเวณนี้ยังมีร่องรอยซากสิ่งก่อสร้างปรากฏให้เห็นคือ โบราณสถานซานเปโตรหรือเรียกในสมัยอยุธยาว่าโบสถ์เซนต์โดมินิค เป็นโบสถ์ในคณะโดมินิกัน นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในแผ่นดินไทยเมื่อปีพ.ศ.๒๐๘๓ ตั้งอยู่ในบริเวณเกือบกึ่งกลางหมู่บ้านโปรตุเกส มีเนื้อที่ประมาณ ๒,๔๐๐ ตารางเมตร ยาวตามแนวทิศตะวันออกไปตะวันตกหันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนหน้าเป็นสุสาน ของชาวคาทอลิคคณะโดมินิกัน ส่วนกลางใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและฝังศพบาทหลวง ส่วนในด้านหลังเและด้านข้างเป็นที่พักอาศัยและมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ กล้องยาสูบ เหรียญกษาปณ์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับกำไลแก้วและเครื่องประกอบพิธีทางศาสนาเช่น ไม้กางเขน เหรียญรูปเคารพในศาสนา ลูกประคำในส่วนของสุสาน พบโครงกระดูกจำนวนมากมายถึง ๒๕๔ โครง ฝังเรียงรายอย่างเป็นระเบียบและทับซ้อนกันหนาแน่นทั้งภายในและภายนอกอาคาร จากแนวโครงกระดูกที่พบแบ่งขอบเขตสุสานออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนในสุดกลางตัวอาคารที่เป็นฐานโบสถ์ อาจเป็นโครงกระดูกของบาทหลวงหรือนักบวช ถัดมาส่วนที่สอง ส่วนนี้อาจเป็นผู้มีฐานะทางสังคมในค่ายโปรตุเกสสูงกว่าคนธรรมดาทั่วไป ส่วนที่สามนอกแนวฐานโบสถ์มีการฝังซ้อนกันมากถึง ๓-๔ โครง โครงกระดูกเหล่านี้มีทั้งที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์และบางส่วนชำรุด …

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 6 ตอนจบ Read More »

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 5

วัดพุทไธสวรรย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทางด้านใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง หากเดินทางโดยรถยนต์ และใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ข้ามสะพาน วัดกษัตราธิราชวรวิหาร แล้วเลี้ยวซ้าย จะผ่านวัดไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางเป็นระยะไปจนถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพุทไธสวรรย์ วัดนี้สร้างขึ้นบริเวณตำหนักที่ประทับเดิมของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองซึ่งเรียกว่า “ตำหนักเวียงเหล็กหรือเวียงเล็ก” หลังจากนั้นพระองค์ไปสร้างพระราชวังใหม่ที่ตำบลหนองโสน(บึงพระราม)จึงสถาปนาสถานที่นี้เป็นวัดพุทไธสวรรย์ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ ปรำงค์ประธานองค์ใหญ่ศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กึ่งกลางอาณาเขตพุทธาวาสบนฐานไพที ซึ่งมีลักษณะย่อเหลี่ยมมีบันไดขึ้น ๒ ทางคือ ทางทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตก ส่วนทิศเหนือทิศใต้มีมณฑปสองหลังภายในพระมณฑปมีพระประธานพระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ประจำอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำหนักนี้อยู่ในสภาพค่อนข้างทรุดโทรมแต่ภายในผนังของตำหนัก มีภาพสีเกี่ยวกับเรื่องหมู่เทวดา นักพรต นมัสการพระพุทธบาท และเรือสำเภาตอนพระพุทธโฆษาจารย์ไปลังกา ภาพเหล่านี้อยู่ในสภาพไม่ชัดเจนนัก นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ หมู่พระเจดีย์สิบสององค์ และวิหารพระนอน วัดภูเขาทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ ๒ กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปจังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ กิโลเมตรที่ ๒๖ จะมีป้ายบอกทางแยกซ้ายไป วัดนี้ วัดภูเขาทองนี้หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนองเป็นผู้สร้างเมื่อพ.ศ.๒๑๑๒ คราวยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในเวลาที่ประทับอยู่พระนครศรีอยุธยาได้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นที่ระลึกเมื่อคราวรบชนะไทย โดยรูปแบบของฐานเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับแบบมอญพม่า สันนิษฐานว่าสร้างเจดีย์องค์นี้ขึ้นเพื่อชัยชนะแต่ทำได้เพียงรากฐาน แล้วยกทัพกลับ ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาเมื่อพ.ศ.๒๑๒๗ จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญและพม่าที่สร้างเพียงรากฐานไว้ ณ สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง …

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 5 Read More »

Scroll to Top