เกาะ

ถ้ำมรกต เกาะมุก จังหวัดตรัง

ถ้ำมรกต เกาะมุก จังหวัดตรัง

ถ้ำมรกตอัญมณีแห่งทะเลอันดามัน หลายคนชอบเที่ยวเกาะในทะเลตรัง เพราะนอกจากจะเป็นเกาะที่มีความสวยงามแล้ว ส่วนใหญ่ยังเที่ยวง่ายจากท่าเรือหาดปากเมงมีเรือนำเที่ยว และผู้ประกอบการนำเที่ยวให้บริการอยู่มากมาย ใช้เวลาเพียงหนึ่งวันก็สามารถเที่ยวชมเกาะชื่อดังของตรังได้อย่างครบถ้วน แต่ในบรรดาโปรแกรมเที่ยวเกาะของทะเลตรังที่คุณไม่ควรพลาดเลยก็คือ เกาะมุก เกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของทะเลตรัง รองจากเกาะลิบง และเกาะสุกร เพราะนอกจากจะมีชายหาดสวยให้เที่ยวชมกันแล้ว เกาะมุกยังเป็นที่ตั้งของถ้ำมรกต สถานที่ท่องเที่ยวอันน่าอัศจรรย์ของน่านน้ำทะเลตรั้งด้วย ถ้ำมรกต มีลักษณะเป็นปล่องภูเขาที่โอบล้อมหาดทรายเล็กๆ เอาไว้ประดุจเมืองลับแล โดยมีปากทางเข้าถ้ำอยู่ใต้หน้าผาทางทิศตะวันตก การจะเข้าเที่ยวชมได้นั้นต้องว่ายน้ำเกาะเชือกลอยคอลอดถ้ำเข้าไป ระยะทางประมาณ 80 เมตร โดยเมื่อใกล้ทะลุถึงปล่องเขาด้านในจะเห็นน้ำทะเลเป็นสีเขียวมรกตเกิดจากการสะท้อนของแสงแดด ซึ่งเป็นที่มาของชื่อถ้ำนี้ว่า ถ้ำมรกต และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น อัญมณีแห่งทะเลอันดามัน สำหรับภายในถ้ำมรกตนั้นมีแนวชายหาดช่วงสั้นๆ แต่ทรายเม็ดเล็กละเอียดสามารถนั่งพักผ่อนเล่นน้ำได้อย่างดี หลังจบโปรแกรมเที่ยวชมถ้ำมรกตของเกาะมุก หากคุณซื้อแพกเกจทัวร์มาจากผู้ประกอบการบนหาดปากเมง ช่วงเวลาที่เหลือยังมีเกาะอีกหลายแห่งให้ไปเที่ยวชมกันต่อ ได้แก่ เกาะเชือก เกาะม้า เกาะแหวน และเกาะกระดาน จากนั้นช่วงบ่ายแก่ๆ เดินทางกลับไปพักผ่อนในรีสอร์ตริมหาดปากเมง สำหรับคนเลือกพักบนเกาะมุกบนเกาะยังมีหาดหน้าบ้าน หาดหัวแหลม และหาดฝรั่งให้ไปเที่ยวชมกันตามอัธยาศัย   ที่ตั้ง ถ้ำมรกต เกาะมุก จังหวัดตรัง การเดินทาง จากท่าเรือควรตุงกู มีเรือโดยสารให้บริการส่งที่สะพานยาวบนเกาะมุกวันละ 3 รอบ หรือเหมาเรือไปแบบส่วนตัวได้ทั้งจากท่าเรือควนตุงกู …

ถ้ำมรกต เกาะมุก จังหวัดตรัง Read More »

แนวหินและฟองคลื่น เกาะสี่ หมู่เกาะสิมิลัน

แนวหินและฟองคลื่น เกาะสี่ หมู่เกาะสิมิลัน

วนมายังหาดทรายขาวสะอาดหน้าเกาะสี่ ที่ทอดยาวเหยียดด้วยทรายละเอียดเป็นแป้ง ที่ผมไม่พลาดที่จะมานอนค้างคืนบนเกาะแห่งนี้ เพราะความงดงามจะเปลี่ยนไปในทุกช่วงเวลา ทะเลไม่ได้สวยงามเพียงในเวลาแดดจัดเท่านั้น แต่ในยามเข้ากับสีหวานๆ ของพระอาทิตย์ขึ้นด้านหน้าเกาะที่ทำให้เราหลงไหลได้ทุกครั้ง ส่วนช่วงเวลาที่แสงสุดท้ายจะล่ำลาด้านหลังเกาะก็มีมนต์เสน่ห์อย่างลึกลับ ด้วยฟองคลื่นที่สาดเข้าสู่ก้อนหินขนาดใหญ่ที่กลมมน ทำให้ผู้ที่หลงรักการถ่ายภาพแนว Seascape ต้องไม่พลาดอย่างแน่นอน การเดินเท้ามายังหลังเกาะอาจจะไม่สบายนัก แต่ตลอดทางมีอะไรให้เราได้เห็นมากมาย ทั้งพรรณไม้บนเกาะ นกชาปีไหน ทีพบเห็นได้ยากในแหล่งอื่น หรือปูไก่ตัวใหญ่ๆ ที่จะแอบอยู่นิ่งๆ ตามขอนไม้ จนออกเดินไปทะลุผืนป่าโปร่งหลังเกาะ เราจะเห็นทิวทัศ์ของท้องทะเลไกลสุดสายตามองลงไปด้านล่างจะเป็นโขดหินใหญ่น้อยทอดตัวอยู่ท่ามกลางระลอกคลื่นที่ซัดสาดอยู่ในทุกช่วงเวลา เราเดินไปตามเนินชันเพื่อเข้าสู่หมายที่จะได้ภาพของยามเย็นที่งดงาม หลังจากพักพอคลายร้อนก็เตรียมอุปกรณ์ถ่ายภาพที่จำเป็น ทั้งเลนส์ไวด์ ฟิลเตอร์ครึ่งซีกสีเทา (GND) รวมถึงฟิลเตอร์ลดแสง (ND) เลือกฉากหน้าเป็นแนวคลื่นที่ซัดเข้าฝั่งและพ้นจากน้ำที่กระเซ็นขึ้นมา เมื่อได้เวลาที่พระอาทิตย์ราแสงลง และสามารถควบคุมไวชัตเตอร์ให้ต่ำแบบที่ต้องการได้ จึงเริ่มบันทึกภาพ โดยใช้ฟิลเตอร์ลดแสง (ND) และกราดูเอตด้านสีเทาบังส่วนของท้องฟ้าซึ่งมีแสงจ้า และให้ส่วนที่เป็นพื้นใสอยู่ตรงเส้นขอบฟ้าพอดี เพื่อให้มีความเปรียบต่างของแสงใกล้เคียงกับฟองคลื่นที่สาดเข้ามา เพียงเท่านี้เราก็ได้ภาพคลื่นพลิ้วๆ กับก้อนหินเท่ๆ และพระอาทิตย์ตกที่งดงามแล้ว (การถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นก็ใช้หลักการเดียวกัน) ทุกครั้งที่ได้มีโอกาสมาพักแรมบนเกาะสี่ ผมไม่เคยพลาดจะมาเก็บภาพช่วงเวลาพระอาทิตย์ลับขอบน้ำเลย เพราะแสงของแต่ละวินาทีที่เปลี่ยนแปลงเราเก็บมาเป็นความประทับใจได้อย่างเต็มเปี่ยม ทั้งในรูปแบบของการถ่ายภาพและความทรงจำ ความงดงามของเกาะสี่เป็นสิ่งที่นักเดินทางจากทั้วโลกได้มาสัมผัสแล้วล้วนประทับใจทั้งสิ้น และหลายคนที่ผมมีโอกาสได้พูดคุยต่างบอกว่าอยากมีโอกาสกลับมาเยือนอีกสักครั้ง  

มหัศจรรย์แห่งผืนทราย เกาะหนึ่ง เกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน

มหัศจรรย์แห่งผืนทราย เกาะหนึ่ง เกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน

น้ำทะเลสีหมึกน้ำเงินเข้มทอดยาวไปสุดสายตา เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ R44 ขนาด 4 ที่นั่ง ยังคงบินไปอย่างมั่นคงที่ความสูง 1,000 ฟุต เหนือน้ำทะเล มองลงไปด้านล่างเห้นเรือประมงเป็นเพียงจุดเล็กๆ ท่ามกลางน้ำทะเลสีเข้ม ยอดคลื่นสีขาวไหลเคลื่อนเป็นทิวตามแรงของมหาสมุทร และในบางช่วงผมเห็นนักบินปีกบางแห่งธรรมชาติอย่างผีเสื้อกำลังกระพือปีกสู้กับสายลม โดยที่ผมได้แค่เพียงเอาใจช่วยให้ไปถึงฝั่งของการเดินทาง เพราะไม่รู้ว่าสัตว์เล็กๆ เหล่านี้ต้องการไปหนแห่งใด ซึ่งคงเป็นเช่นเดียวกับเราที่ไม่รู้ว่าอนาคตจะไปสิ้นสุดที่ใด ไม่นานนักบินก็แจ้งผ่านวิทยุว่าเรากำลังเข้าใกล้ เกาะหนึ่ง ของ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ให้เตรียมตัวและอุปกรณ์ถ่ายภาพให้พร้อม เพื่อบันทึกภาพความงดงามของเกาะหูยง ซึ่งปกติไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวขึ้นบนชายหาดอย่างเด็ดขาด เพราะหวงห้ามไว้สำหรับเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เท่านั้น ภาพของเกาะปรากฏขึ้นต่อหน้า น้ำทะเลค่อยๆ เปลี่ยนจากน้ำเงินเข้มไล่โทนไปเป็นสีคราม และสีฟ้าอ่อนสดใส เมื่อเข้าใกล้ชายฝั่งเบื้องล่างเป็นผืนทรายขาวละเอียด และเข้าสู่หาดทรายยาวเหยียดที่มีฉากหลังเป็นผืนป่าสีเขียวเข้มดูงดงามยิ่งนัก ในความงดงามเหล่านี้หลายคนก็อยากมาเห็นและสัมผัส ทว่าที่นี่มีเต่าทะเลขี้นมาวางไข่ทุกปี จนปี พ.ศ. 2538 กองทัพเรือจึงได้ร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กรมป่าไม้เดิม) จัดตั้งโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลขึ้นที่เกาะหนึ่ง เพื่อฟื้นฟูปริมาณเต่าทะเลให้อยู่คู่ท้องทะเลอันดามัน โดยทางกองทัพเรือ ภาค 3 เป็นผู้รับผิดชอบดูแลโครงการอนุรักษ์เต่าทะเล ซึ่งในทุกวันจะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าดูชายหาดตลอดเวลา เมื่อมีเต่าขึ้นมาวางไข่ จะมีการเก็บไข่เต่าไปอนุบาลที่ฐานทัพเรือทับละมุ จังหวัดพังงา จนกระทั่งลูกเต่าฟักและมีอายุได้ราว 6 เดือน ก็ดำเนินการปล่อยสู่ท้องทะเล …

มหัศจรรย์แห่งผืนทราย เกาะหนึ่ง เกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน Read More »

ฤดูกาลและการเดินทางไปท่องเที่ยวเกาะพะงัน

เกาะพะงันมีฤดูกาลต่างๆ เป็นไปตามอิทธิพลของลมมรสุมเป็นสำคัญฤดูร้อนอากาศสดใสเหมาะกับการท่องเที่ยวที่สุดอยู่ระหว่างเดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ซึ่งฤดูนี้จะมีลมพัดยาหรือลมพัทธยาพัดสู่เกาะพะงันอาจมีฝนบ้างเล็กน้อยแต่ก็ยังสามารถท่องเที่ยวได้เพียงแต่ช่วงกลางวันนำ้าทะเลมักจะลงจนเห็นหลังงันหรือหลังนาที่เป็นแนวสันดอนปะการังอยู่นอกฝั่งอยู่ทั่วไปและนำ้าจะขึ้นเต็มฝั่งในช่วงเย็นและกลางคืน หาดที่มีผลกระทบในช่วงนี้ได้แก่ หาดริ้นใน หาดบ้านใต้ บ้านค่าย หาดท้องศาลาและหาดหินกอง อย่างไรก็ดีสำาหรับชาวประมงแล้วในช่วงที่มีลมพัดยาหรือลมพัทธยากลับเป็นฤดูที่ดีในการออกหาปูหาปลาที่มักจะชุกชุมกว่าในฤดูอื่น ส่วนในเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมเป็นช่วงฤดูมรสุมที่มีลมว่าวพัดเข้าสู่เกาะพะงันทำาให้มีฝนตกชุกกว่าช่วงอื่นเดือนที่มีฝนตกหนักที่สุดจะเป็นเดือนพฤศจิกายนและหาดที่หันหน้ารับคลื่นลมจากลมว่าวเต็มที่ก็คือ หาดริ้นนอกหาดธารเสด็จ หาดท้องนายปานใหญ่ หาดท้องนายปานน้อยและหาดขวดฤดูกาลต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นตัวกำาหนดเขตพื้นที่การ ท่องเที่ยวบนเกาะพะงันไปโดยปริยาย อย่างไรก็ดีถือว่าเกาะพะงัน ยังมีฤดูท่องเที่ยวได้เกือบตลอดทั้งปี ผิดกับทางฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อถึงฤดูมรสุมจะมีฝนตกยาวนานกว่าคือเกือบ  6 เดือนต่อปี การเดินทางสู่เกาะพะงันนั้นสามารถทำาได้ไม่ยาก โดยเฉพาะ จากท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสักซึ่งมีเรือเฟอร์รี่ของบริษัทราชาเฟอร์รี่ข้ามสู่เกาะพะงันวันละ 5 เที่ยวและออกจากเกาะอีกวันละ 5 เที่ยวเช่นกันเริ่มตั้งแต่เวลา 8.00   น ถึง 18.00 น. ขาไปและ 05.00 น. ถึง 17.00 น. สำาหรับขากลับใช้เวลาเดินทางราว 2 ชั่วโมง 30 นาที นักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถทัวร์จากกรุงเทพฯ สามารถมากับรถทัวร์แล้วลงเรือเฟอร์รี่เที่ยวเช้าข้ามไปยังเกาะพะงันได้จากที่นี่ส่วนท่านที่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวก็สามารถนำารถลงเรือได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้หากใครเดินทางด้วยเครื่องบินมาลงที่สนามบินสุราษฎร์ธานี ก็จะมีรถบัสปรับอากาศให้บริการรับ-ส่งตามเที่ยวบินของเครื่องบินสู่ท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสักสำหรับใครที่ไปท่องเที่ยว เกาะสมุย เกาะเต่าแล้วจะมาแวะเที่ยวชมเกาะพะงันก็สามารถเดินทางต่อไประหว่างเกาะเหล่านี้ได้ด้วยบริการเรือเร็วลมพระยาและเรือเร็วซีทรานดิสคัฟเวอรี่ที่วิ่งเชื่อมต่อระหว่างเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่าอยู่ทุกวันทั้งไปและกลับติดต่อหารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเอกสารและแผนที่ๆ …

ฤดูกาลและการเดินทางไปท่องเที่ยวเกาะพะงัน Read More »

พงันในอดีตกว่าจะมาเป็นเกาะพะงัน

เกาะพะงัน นับเป็นเกาะขนาดใหญ่เคียงคู่กับเกาะสมุย ตั้งอยู่ใน ทะเลอ่าวไทยบริเวณที่เรียกว่า ช่องอ่างทอง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้างและเกาะตะรุเตาโดยมีพื้นที่ 122 ตารางกิโลเมตร จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เชื่อว่าเกาะพะงันนี้ เคยมีผู้คนอาศัยอยู่มานานกว่า 1,300-2,000 ปี โดยคนกลุ่มแรกที่มาถึงเกาะพะงันน่าจะเป็นนักเดินเรือชาวโจฬะหรือชนเผ่าทมิฬ ซึ่งเป็นคนพื้น เมืองในแถบอินเดียตอนใต้ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14 ถึงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในรัชสมัยพระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 และพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ที่ได้ทรงแผ่ขยายพระราชอาณาจักรมา ถึงคาบสมุทรมลายู    ซึ่งตรงกันกับยุคสมัยอาณาจักรศรีวิชัยในสมัยนั้น และ ได้มีการเดินเรือค้าขายกับดินแดนแถบนี้จนมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ตาม เกาะต่างๆ เช่นที่เกาะพะงันนี้เป็นต้น อย่างไรก็ดี หลักฐานการตั้งชุมชนแบบถาวรบนเกาะพะงัน น่าจะเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่เกาะพะงันขึ้นอยู่กับเมืองไชยา ในขณะ ที่เกาะสมุยซึ่งอยู่ใกล้เคียงไปขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ตราบจนกระทั่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้รวมพื้นที่เกาะสมุยและเกาะพะงันเข้าเป็นอำาเภอเดียวกัน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 ใช้ชื่อว่า อำาเภอ เกาะสมุย สังกัดเมืองกาญจนดิษฐ์ …

พงันในอดีตกว่าจะมาเป็นเกาะพะงัน Read More »

เที่ยว เขาตะปู

เขาตะปู หรือ เกาะตะปู หรือที่นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักกันในชื่อ เกาะเจมส์บอนด์ เพราะเกาะแห่งนี้เคยปรากฎอยู่ในภาพยนต์เรื่อง James Bond ภาค The Man with the Golden Gun ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2517 ในสมัยดึกดำบรรพ์เกาะตะปูเคยเป็นส่วนหนึ่งของเขาพิงกัน แต่การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติอันเกิดจากกระแสลม แผ่นดินไหว และการกัดเซาะของน้ำทะเล ทำให้เขาตะปูถูกแยกออกจากเข้าพิงกันโดยสมบูรณ์ ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง และเป็นสัญลักษณ์ของอ่าวพังงา

เขาพิงกัน

เขาพิงกัน เป็นเกาะที่มีขนาดเล็กกว่าเกาะปันหยี อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีความพิเศษคือเป็นภูเขา 2 ลูก ที่มีลักษณะเอนเข้าหากัน โดยแนวที่เอนเข้าหากันนั้นมีลักษณะเป็นเส้นตรงตั้งแต่ยอดจรดพื้น คล้ายถูกมีดดาบผ่ากลาง สันนิษฐานว่าในสมัยก่อนเป็นภูเขาลูกเดียวกัน แต่ถูกฟ้าผ่าอย่างรุนแรงจนแยกออกจากกัน หรือเป็นภูเขา 2 ลูกที่โน้มเอียงเข้าหากันจากแรงของแผ่นดินไหวหรือการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก เกาะแห่งนี้เป็นจุดแวะจอดเรือสำคัญของนักท่องเที่ยว มีธรรมชาติและหินย้อยที่สวยงาม สามารถชมเขาตะปู ได้อย่างชัดเจนจากเกาะแห่งนี้ บนเกาะมีร้านค้าจำหน่ายของที่ระลึก

เที่ยวเกาะปันหยี

เกาะปันหยี เป็นเกาะภูเขาเล็กๆ ที่อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีพื้นที่ราบประมาณ 1 ไร่ บริเวณด้านหน้าของหน้าผาซึ่งเป็นมุมหลบลม เป็นชุมชนหมู่บ้านชาวประมงที่มีประมาณ 200 หลังคาเรือน สร้างอยู่เหนือน้ำทะเลโดยคำนวนให้พ้นระดับน้ำขึ้นน้ำลง สิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจภายในชุมชนได้แก่ มัสยิด โรงเรียน สถานีอนามัย ที่ทำการไปรษณีย์ สนามฟุตบอลพื้นปูน และสนามฟุตบอลลอยน้ำ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แระกอบอาชีพประมง และเปิดร้านจำหน่ายสินค้าท้องถิ่นหรืออาหารเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ของฝากขึ้นชื่อ น้ำพริกกุ้งเสียบ กะปิ ผ้าบาติก ผลิตภัณฑ์จากหอยมุก

Scroll to Top