เกาะสิมิลัน

หินเรือใบ หาดแทรายและน้ำทะเลสีฟ้า เกาะแปดหมู่เกาะสิมิลัน

หินเรือใบ หาดแทรายและน้ำทะเลสีฟ้า เกาะแปดหมู่เกาะสิมิลัน

หินเรือใบ หาดแทรายและน้ำทะเลสีฟ้า เกาะแปดหมู่เกาะสิมิลัน เกาะแปด เกาะสิมิลัน ที่นับได้ว่าเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่หินเรือใบและน้ำทะเลสีฟ้าใส หรืออาจจะต้องกล่าวว่าน่าจะใสที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ ทั้งหาดทรายก็นับได้ว่าเป็นที่สุดของประเทศนี้เช่นกัน ภาพทางอากาศทำให้เราได้เป็นแนวโอบล้อมของภูเขาที่ล้อมรอบชายหาดเอาไว้อย่างสวยงาม และจุดนี้มักเป็นที่หลบลมของบรรดาเรือต่างๆ ในช่วงมรสุมอีกด้วย แต่ในช่วงฤดูท่องเที่ยวหน้าหาดจะเต้มไปด้วยเรือสปีดโบตของบริษัททัวร์ต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกให้นักเดินทางจากทุกสารทิศ โดยส่วนใหญ่มาลงเรือที่ภูเก็ต หรือที่ท่าเรือทับลุมุ พังงา และมักจะเป็นนักท่องเที่ยวที่ไปเข้ากลับเย็น ซึ่งในช่วงวันะรรมดาโดยมากจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พอเป็นช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ก็มีนักท่องเที่ยวชาวไทยมาเยี่ยมเยือนกันอย่างมากมาย หน้าเกาะแปดเป็นแหล่งดำน้ำตื้นที่น่าสนในทีเดียว เพราะมีกลุ่มปะการังอยู่เป็นบริเวณกว้าง และมีปลาหลากหลายชนิดให้เราได้สัมผัส ทั้งกลุ่มปลานกแก้วสีเขียวสดใส ปลาโนรี สีเหลืองดำครีบยาวเป็นเอกลักษณ์รวมถึงปลาไหลมอเรย์ที่หน้าตาดุดัน และหากอยากชมปลาการ์ตูน ก็แนนำให้เดินข้ามไปด้านหลังเกาะ จะมีจุดดำน้ำที่งดงามเข่นกัน ซึ่งบริเวณนี้มีปลาการ์ตูนให้ได้ชมกันหลายชนิด โดยจะว่ายวนอยู่กับดอกไม้ทะเบที่เต็มไปด้วยเข็มพิษ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อปลาน่ารักเหล่านี้ เส้นทางด้านหลังเกาะแปดเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติใต้น้ำของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันอีกด้วย

แนวหินและฟองคลื่น เกาะสี่ หมู่เกาะสิมิลัน

แนวหินและฟองคลื่น เกาะสี่ หมู่เกาะสิมิลัน

วนมายังหาดทรายขาวสะอาดหน้าเกาะสี่ ที่ทอดยาวเหยียดด้วยทรายละเอียดเป็นแป้ง ที่ผมไม่พลาดที่จะมานอนค้างคืนบนเกาะแห่งนี้ เพราะความงดงามจะเปลี่ยนไปในทุกช่วงเวลา ทะเลไม่ได้สวยงามเพียงในเวลาแดดจัดเท่านั้น แต่ในยามเข้ากับสีหวานๆ ของพระอาทิตย์ขึ้นด้านหน้าเกาะที่ทำให้เราหลงไหลได้ทุกครั้ง ส่วนช่วงเวลาที่แสงสุดท้ายจะล่ำลาด้านหลังเกาะก็มีมนต์เสน่ห์อย่างลึกลับ ด้วยฟองคลื่นที่สาดเข้าสู่ก้อนหินขนาดใหญ่ที่กลมมน ทำให้ผู้ที่หลงรักการถ่ายภาพแนว Seascape ต้องไม่พลาดอย่างแน่นอน การเดินเท้ามายังหลังเกาะอาจจะไม่สบายนัก แต่ตลอดทางมีอะไรให้เราได้เห็นมากมาย ทั้งพรรณไม้บนเกาะ นกชาปีไหน ทีพบเห็นได้ยากในแหล่งอื่น หรือปูไก่ตัวใหญ่ๆ ที่จะแอบอยู่นิ่งๆ ตามขอนไม้ จนออกเดินไปทะลุผืนป่าโปร่งหลังเกาะ เราจะเห็นทิวทัศ์ของท้องทะเลไกลสุดสายตามองลงไปด้านล่างจะเป็นโขดหินใหญ่น้อยทอดตัวอยู่ท่ามกลางระลอกคลื่นที่ซัดสาดอยู่ในทุกช่วงเวลา เราเดินไปตามเนินชันเพื่อเข้าสู่หมายที่จะได้ภาพของยามเย็นที่งดงาม หลังจากพักพอคลายร้อนก็เตรียมอุปกรณ์ถ่ายภาพที่จำเป็น ทั้งเลนส์ไวด์ ฟิลเตอร์ครึ่งซีกสีเทา (GND) รวมถึงฟิลเตอร์ลดแสง (ND) เลือกฉากหน้าเป็นแนวคลื่นที่ซัดเข้าฝั่งและพ้นจากน้ำที่กระเซ็นขึ้นมา เมื่อได้เวลาที่พระอาทิตย์ราแสงลง และสามารถควบคุมไวชัตเตอร์ให้ต่ำแบบที่ต้องการได้ จึงเริ่มบันทึกภาพ โดยใช้ฟิลเตอร์ลดแสง (ND) และกราดูเอตด้านสีเทาบังส่วนของท้องฟ้าซึ่งมีแสงจ้า และให้ส่วนที่เป็นพื้นใสอยู่ตรงเส้นขอบฟ้าพอดี เพื่อให้มีความเปรียบต่างของแสงใกล้เคียงกับฟองคลื่นที่สาดเข้ามา เพียงเท่านี้เราก็ได้ภาพคลื่นพลิ้วๆ กับก้อนหินเท่ๆ และพระอาทิตย์ตกที่งดงามแล้ว (การถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นก็ใช้หลักการเดียวกัน) ทุกครั้งที่ได้มีโอกาสมาพักแรมบนเกาะสี่ ผมไม่เคยพลาดจะมาเก็บภาพช่วงเวลาพระอาทิตย์ลับขอบน้ำเลย เพราะแสงของแต่ละวินาทีที่เปลี่ยนแปลงเราเก็บมาเป็นความประทับใจได้อย่างเต็มเปี่ยม ทั้งในรูปแบบของการถ่ายภาพและความทรงจำ ความงดงามของเกาะสี่เป็นสิ่งที่นักเดินทางจากทั้วโลกได้มาสัมผัสแล้วล้วนประทับใจทั้งสิ้น และหลายคนที่ผมมีโอกาสได้พูดคุยต่างบอกว่าอยากมีโอกาสกลับมาเยือนอีกสักครั้ง  

หาดทรายละเอียด และผืนน้ำสีฟ้าใส เกาะสี่ หมู่เกาะสิมิลัน

หาดทรายละเอียด และผืนน้ำสีฟ้าใส เกาะสี่ หมู่เกาะสิมิลัน

จากเกาะหนึ่ง เราบินข้ามเกาะสอง เกาะปายัง และเกาะสาม เกาะปาหยัน ปัจจุบันไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นเกาะอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นหนึ่งในพื้นที่สงวนสำหรับเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ที่สำคัญช่วง พ.ศ. 2543 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กรมป่าไม้ในสมัยนั้น) ได้มีคำสั่งปิดกองหินแฟนตาซี กองหินใต้น้ำที่มีความสวยงามติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก เนื่องจากกองหินมีความทรุดโทรมลงอย่างมาก จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินไป ปัจจะบันมีรายงานว่ากองหินแฟนตาซีกำลังกลับมามีความงดงามอีกครั้ง ธรรมชาติดูแลและเยียวยาตัวเองได้เสมอหากมนุษย์ไม่เข้าไปทำกิจกรรมใดๆ เพียงไม่กี่อึดใจผมก็มาลินวนเกาะสี่ เกาะเมือง เกาะที่ผมเลือกมานอนเสมอเมื่อเดินทางมาโดยทางเรือ และครั้งนี้นับเป็นประสบการณ์สุดแสนพิเศษกับมุมมองแบบเบิร์ดอายวิว ทำให้หัวใจตื้นตันที่ได้เห็นธรรมชาติยังคงความงดงาม แนวประการังน้ำตื้นที่วางตัวคล้ายเงาบางๆ ภายใต้น้ำทะเลสีฟ้าใสนับได้ว่ามีความงดงามยิ่งนักหากเราได้ลงไปอยู่ในช่วงเวลานั้น เพราะตลอดแนวจะเต็มไปด้วยปะการังที่หลากหลายรวมทั้ง หมู่ปลาสวยงามอีกจำนวนไม่น้อย คนรักทะเลย่อมทราบดีถึงสิ่งนี้ว่าในหมู่เกาะห่งท้องทะเลอันดามัน หมู่เกาะสิมิลันเป็นจุดดำน้ำตื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนัก ด้านหน้าหาดในช่วงเวลาแดดจัดกับการดำน้ำตื้นเป็นอีกช่วงเวลาที่มีความสุขของการได้มาเยือนเกาะสี่ เพราะตามปะการังจะมีหมู่ปลาหลากหลายชนิดวนเวียนเข้ามาหากินอย่างไม่ขาดาย เราลอยตัวนิ่งๆ ปล่อยให้คลื่นและหัวใจล่องลอยไปเหนือผิวน้ำที่ได้รับการพยุงตัวด้วยเสื้อชูชีพสีสด กว่าจะรู้ตัวเวลาก็ผ่านไปเป็นชั่วโมง ความเพลิดเพลินของการได้เห็นชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ช่างมีความสุขเหลือเกิน  

มหัศจรรย์แห่งผืนทราย เกาะหนึ่ง เกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน

มหัศจรรย์แห่งผืนทราย เกาะหนึ่ง เกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน

น้ำทะเลสีหมึกน้ำเงินเข้มทอดยาวไปสุดสายตา เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ R44 ขนาด 4 ที่นั่ง ยังคงบินไปอย่างมั่นคงที่ความสูง 1,000 ฟุต เหนือน้ำทะเล มองลงไปด้านล่างเห้นเรือประมงเป็นเพียงจุดเล็กๆ ท่ามกลางน้ำทะเลสีเข้ม ยอดคลื่นสีขาวไหลเคลื่อนเป็นทิวตามแรงของมหาสมุทร และในบางช่วงผมเห็นนักบินปีกบางแห่งธรรมชาติอย่างผีเสื้อกำลังกระพือปีกสู้กับสายลม โดยที่ผมได้แค่เพียงเอาใจช่วยให้ไปถึงฝั่งของการเดินทาง เพราะไม่รู้ว่าสัตว์เล็กๆ เหล่านี้ต้องการไปหนแห่งใด ซึ่งคงเป็นเช่นเดียวกับเราที่ไม่รู้ว่าอนาคตจะไปสิ้นสุดที่ใด ไม่นานนักบินก็แจ้งผ่านวิทยุว่าเรากำลังเข้าใกล้ เกาะหนึ่ง ของ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ให้เตรียมตัวและอุปกรณ์ถ่ายภาพให้พร้อม เพื่อบันทึกภาพความงดงามของเกาะหูยง ซึ่งปกติไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวขึ้นบนชายหาดอย่างเด็ดขาด เพราะหวงห้ามไว้สำหรับเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เท่านั้น ภาพของเกาะปรากฏขึ้นต่อหน้า น้ำทะเลค่อยๆ เปลี่ยนจากน้ำเงินเข้มไล่โทนไปเป็นสีคราม และสีฟ้าอ่อนสดใส เมื่อเข้าใกล้ชายฝั่งเบื้องล่างเป็นผืนทรายขาวละเอียด และเข้าสู่หาดทรายยาวเหยียดที่มีฉากหลังเป็นผืนป่าสีเขียวเข้มดูงดงามยิ่งนัก ในความงดงามเหล่านี้หลายคนก็อยากมาเห็นและสัมผัส ทว่าที่นี่มีเต่าทะเลขี้นมาวางไข่ทุกปี จนปี พ.ศ. 2538 กองทัพเรือจึงได้ร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กรมป่าไม้เดิม) จัดตั้งโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลขึ้นที่เกาะหนึ่ง เพื่อฟื้นฟูปริมาณเต่าทะเลให้อยู่คู่ท้องทะเลอันดามัน โดยทางกองทัพเรือ ภาค 3 เป็นผู้รับผิดชอบดูแลโครงการอนุรักษ์เต่าทะเล ซึ่งในทุกวันจะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าดูชายหาดตลอดเวลา เมื่อมีเต่าขึ้นมาวางไข่ จะมีการเก็บไข่เต่าไปอนุบาลที่ฐานทัพเรือทับละมุ จังหวัดพังงา จนกระทั่งลูกเต่าฟักและมีอายุได้ราว 6 เดือน ก็ดำเนินการปล่อยสู่ท้องทะเล …

มหัศจรรย์แห่งผืนทราย เกาะหนึ่ง เกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน Read More »

Scroll to Top