สวนสัตว์

เทวสถานปรางค์แขก

สถานที่เที่ยว แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมืองลพบุรี ตอนที่ 2

เทวสถานปรางค์แขก อยู่ใกล้กับนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของลพบุรี เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐมีสามองค์ แต่ไม่มีฉนวน ต่อเชื่อมกันเหมือนปรางค์สามยอด นักโบราณคดีกำหนดว่ามีอายุราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๕ เพราะมีลักษณะคล้ายกับปรางค์ ศิลปะเขมรแบบพะโค (พ.ศ. ๑๔๒๕-๑๕๓๖) เป็นปรางค์แบบเก่าซึ่งมีประตูทางเข้าแบบโค้งแหลม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้สร้างวิหารขึ้นด้านหลัง และถัง เก็บน้ำซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของปรางค์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวิหารขึ้นด้านหน้า และถังเก็บน้ำประปา ทางด้านทิศใต้ของเทวสถาน พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่บนเนินดินทางด้านตะวันตกของทางรถไฟใกล้กับศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน ๓ องค์ มีฉนวน ทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สร้างด้วยศิลาแลง และตกแต่งลวดลายปูนปั้น ที่สวยงาม เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบ บายนปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมี เพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันสีแดง ด้านหน้าทางทิศตะวันออกมีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิ มหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ใน องค์ปรางค์ทั้งสามปรางค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงได้ บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดเป็นวัดในพระพุทธศาสนา …

สถานที่เที่ยว แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมืองลพบุรี ตอนที่ 2 Read More »

อุทยานสัตว์ป่าอีสานตอนบน ขอนแก่น-อุดรธานี (สวนสัตว์เขาสวนกวาง)

อุทยานสัตว์ป่าอีสานตอนบน ขอนแก่น-อุดรธานี (สวนสัตว์เขาสวนกวาง) ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 แห่ง คือ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาสวนกวาง และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี รวมพื้นที่ 4,696 ไร่ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2552 จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2555 สวนสัตว์แห่งนี้มีรูปแบบของอุทยานการเรียนรู้ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า หายาก เป็นศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยง แหล่งการศึกษาและการท่องเที่ยว ในรูปผจญภัย (จังเกิล ปาร์ค) โดยยึดหลักการป่าชุมชนตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ให้คนอยู่กับป่าได้และมีส่วนร่วม เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว การลงทุน และการจ้างงานในท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะเป็นสวนสัตว์แล้ว ยังจัดให้มีอควาเรียม รวมถึงเครื่องเล่น  และสวนน้ำเล็กๆ เชื่อว่าจะสร้างความสนใจให้นักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวเป็นจำานวนมาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ อุทยานสัตว์ป่าอีสานตอนบนขอนแก่น-อุดรธานี โทร. ๐๘ ๖๔๕๕ ๖๓๔๐-๑ การเดินทาง  ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น ๖๔ กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒ (ขอนแก่น-อุดรธานี)    

Scroll to Top