พระที่นั่ง

หอเกียรติภูมิรถไฟ

สถานที่ท่องเที่ยวเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

หอเกียรติภูมิรถไฟ ตั้งอยู่ด้านเหนือของสวนจตุจักรใกล้บริเวณลานจอดรถเอนกประสงค์ประตู ๒ (ตรงข้ามสวนรถไฟ) ถนนกำาแพงเพชร ๓ เป็นอาคารเก่าของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ ๓๐ ปีมาแล้วเพื่อใช้เป็นที่เก็บขบวนรถไฟพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และหัวรถจักรประวัติศาสตร์บางคัน ต่อมาได้ถูกปิดไประยะหนึ่ง ภายหลังได้รับการปรับปรุง และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นสถานที่รวบรวมและให้ความรู้เกี่ยวกับการรถไฟ มีการจัดแสดงรถจักรไอน้ำ รถจักรจำลอง ขบวนรถไฟเล็กขนาดต่างๆ ภาพถ่าย และภาพวาดเกี่ยวกับเกียรติภูมิของการรถไฟโลก รวมทั้งสิ่งที่น่าสนใจต่างๆ อีกมากมาย เปิดให้เข้าชมเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๐๘.๐๐-๑๕.๐๐ น. ปิดวันจันทร์-ศุกร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามรายละเอียดได้ที่ “ชมรมเรารักรถไฟ” คุณจุลศิริ วิรยศิริ ผู้อำนวย การหอเกียรติภูมิรถไฟ โทร. ๐๘ ๑๖๑๕ ๕๗๗๖ พิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในบริเวณสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ บนพื้นที่ ๕ ไร่ เป็นโครงการที่สืบเนื่องจากพระราชปรารภในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้อย่างเพลิดเพลินของเด็กไทย และจัดกิจกรรมสำหรับเด็กและครอบครัวของชาวกรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครจึงได้ถือกำเนิดขึ้น เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการ ๓ หลัง …

สถานที่ท่องเที่ยวเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร Read More »

พิพิธภัณฑ์ทรัพยากรธรณี (พิพิธภัณฑ์แร่และหิน)

สถานที่ท่องเที่ยวเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์ทรัพยากรธรณี (พิพิธภัณฑ์แร่และหิน) ตั้งอยู่ชั้น ๑ อาคารพิพิธภัณฑ์ ติดกับกรมทรัพยากรธรณี ถนนพระราม ๖ เป็นหน่วยงานในความดูแลของสำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ภายในพิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมวัตถุพวก แร่ หิน ซากดึกดำบรรพ์ และเครื่อง มือเครื่องใช้โบราณที่ทำาจากแร่ หิน มาจัดแสดง โดยแบ่งเนื้อหาเป็น ๓  ส่วน คือ ๑. ด้านธรณีวิทยา ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องกำเนิดโลก การเปลี่ยน แปลงเปลือกโลก แร่และหิน การสำรวจธรณีวิทยา น้ำบาดาล ซากดึกดำบรรพ์  ๒.ทรัพยากรแร่ ได้แก่ อัญมณีและหินมีค่า การใช้ประโยชน์ของ แร่ชนิดต่างๆ แร่เชื้อเพลิง ปิโตรเลียม การทำาเหมืองแร่จากต่างประเทศ ๓.นิทรรศการพิเศษ ปัจจุบันแสดงเรื่องไดโนเสาร์ในประเทศไทย เปิดให้ชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม หากเข้าชมเป็นหมู่คณะทำหนังสือถึงอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๒๐๒ ๓๖๗๐ …

สถานที่ท่องเที่ยวเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร Read More »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

สถานที่ท่องเที่ยวเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยา เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณที่มีความวิจิตรงดงามและเป็นระเบียบ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุดวัดหนึ่ง ทั้งยังประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในชื่อ “Marble Temple” พระประธานของวัดจำลองมาจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก บริเวณพระระเบียงด้านหลังพระอุโบสถเรียงรายด้วยพระพุทธรูปโบราณปางต่างๆ ๕๒ องค์ ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมมาจากหัวเมืองต่างๆ และต่างประเทศ หรือ www.watbencha.com พระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๑ ด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุน โดย จ้างนายช่างชาวฝรั่งเศสแห่งบริษัท ซุซ เซอร เฟรส ฟองเดอร์ หล่อมาจากกรุงปารีส ส่วนเงินที่เหลือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำไปใช้สร้างมหาวิทยาลัยขึ้น มีนามตามพระปรมาภิไธยว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” พระที่นั่งอนันตสมาคม ตั้งอยู่ใกล้กับพระบรมรูปทรงม้าและพระที่นั่งวิมานเมฆ เริ่มก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๐ โดยมีเจ้าพระยายมราชหรือนายปั้น สุขุม เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง ช่างออกแบบ วิศวกรและช่างเขียนภาพเป็นชาวอิตาเลียน ทั้งนี้มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รับรองแขกเมือง และประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน เป็นอาคารหินอ่อนสองชั้น ตัวอาคารเป็นอาคารหินอ่อนแบบเรอเนอซองส์ของประเทศอิตาลีและแบบนีโอคลาสสิก ภายนอกประดับด้วยหินอ่อน ซึ่งสั่งมาจากเมืองคารารา ประเทศอิตาลี มีโดมสูงใหญ่อยู่ตรงกลางและมีโดมเล็กๆ โดยรอบ …

สถานที่ท่องเที่ยวเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร Read More »

พระบรมมหาราชวัง

สถานที่ท่องเที่ยวเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างขึ้นพร้อมสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อแรกสร้าง ประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ พระมหาปราสาท พระราชมณเฑียรสถาน และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีเนื้อที่ ๑๓๒ ไร่ ในอดีตพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ลักษณะแบบแผนการก่อสร้างคล้ายคลึงกับพระบรมมหาราชวังเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ มีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่ในบริเวณวังเหมือนกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ เริ่มรับอิทธิพลจากตะวันตก ทำให้สถาปัตยกรรมมีลักษณะผสมผสานกับทางตะวันตกมากขึ้น หมู่พระที่นั่งที่สำคัญมีดังนี้คือ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เดิมชื่อพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาท เป็นพระมหาปราสาทองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี และพระบรมวงศานุวงศ์ ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีการมงคลและบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท อยู่ใกล้กับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ใช้เป็นที่ประทับทรงพระราชพาหนะ และประทับเปลื้องเครื่องในงานพระราชพิธีที่มีขบวนแห่ พระที่นั่งพิมานรัตยา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เป็นที่บรรทม และทรงใช้เป็นที่ชุมนุมมหาสมาคมสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารฝ่ายในเข้ารับพระราชทานเครื่องอิสริยยศ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และนอกจากนั้นยังเป็นที่สรงน้ำพระบรมศพพระบรมวงศานุวงศ์ ก่อนที่จะประดิษฐานพระบรมโกศใน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๙ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะชั้นพระราชาธิบดี …

สถานที่ท่องเที่ยวเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร Read More »

เทวสถานปรางค์แขก

สถานที่เที่ยว แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมืองลพบุรี ตอนที่ 2

เทวสถานปรางค์แขก อยู่ใกล้กับนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของลพบุรี เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐมีสามองค์ แต่ไม่มีฉนวน ต่อเชื่อมกันเหมือนปรางค์สามยอด นักโบราณคดีกำหนดว่ามีอายุราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๕ เพราะมีลักษณะคล้ายกับปรางค์ ศิลปะเขมรแบบพะโค (พ.ศ. ๑๔๒๕-๑๕๓๖) เป็นปรางค์แบบเก่าซึ่งมีประตูทางเข้าแบบโค้งแหลม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้สร้างวิหารขึ้นด้านหลัง และถัง เก็บน้ำซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของปรางค์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวิหารขึ้นด้านหน้า และถังเก็บน้ำประปา ทางด้านทิศใต้ของเทวสถาน พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่บนเนินดินทางด้านตะวันตกของทางรถไฟใกล้กับศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน ๓ องค์ มีฉนวน ทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สร้างด้วยศิลาแลง และตกแต่งลวดลายปูนปั้น ที่สวยงาม เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบ บายนปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมี เพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันสีแดง ด้านหน้าทางทิศตะวันออกมีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิ มหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ใน องค์ปรางค์ทั้งสามปรางค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงได้ บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดเป็นวัดในพระพุทธศาสนา …

สถานที่เที่ยว แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมืองลพบุรี ตอนที่ 2 Read More »

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สถานที่เที่ยว แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมืองลพบุรี ตอนที่ 1

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟลพบุรี สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เมื่อเข้าไปในบริเวณวัดจะพบร่องรอยของศาลา เปลื้องเครื่อง ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเปลื้องเครื่องทรงก่อนที่จะ เข้าพิธีทางศาสนาในพระวิหารหรือพระอุโบสถ ปัจจุบันศาลาเปลื้องเครื่อง คงเหลือเพียงเสาเอนอยู่เท่านั้น ถัดไปเป็นวิหารหลวงซึ่งสร้างในสมัย สมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก ประตูทำเป็นเหลี่ยมแบบไทย หน้าต่างเจาะช่องแบบโกธิคของฝรั่งเศส ภายในสร้างฐานชุกชีประดิษฐาน พระพุทธรูป ทางทิศใต้ของวิหารหลวงเป็นพระอุโบสถขนาดย่อม ประตูหน้าต่างเป็นแบบฝรั่งเศสทั้งหมด ห่างไปทางทิศตะวันตกของวิหารหลวง เป็นพระปรางค์องค์ใหญ่ สร้างเป็นพุทธเจดีย์ องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง โบกปูน มีเครื่องประดับลวดลายเป็นพระพุทธรูปและพุทธประวัติ ที่ลายปูนปั้นหน้าบันพระปรางค์แสดงถึงอิทธิพลของพุทธศาสนานิกาย มหายาน และซุ้มโคปุระของปรางค์องค์ใหญ่เป็นศิลปะละโว้ มีลายปูนปั้น ที่งดงามมาก สันนิษฐานว่าคงจะสร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจแต่ได้รับการ ซ่อมแซมในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระนารายณ์ฯ ลวดลายจึงปะปนกันหลายสมัย ปรางค์องค์นี้ บรรจุพระพุทธรูปไว้เป็นจำนวนมาก ที่ขึ้นชื่อคือ พระเครื่องสมัยลพบุรี เช่น พระหูยาน และพระร่วง สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ ปรางค์รายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่มุมกลีบมะเฟืองทุกมุมปั้นเป็นรูปเทพนมหันออกรอบทิศพระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยม พระขนงต่อกัน ลักษณะเป็นศิลปะแบบอู่ทอง ชฎาเป็นทรงสามเหลี่ยมมีรัศมีออกไปโดยรอบ เป็นศิลปะที่มีความงามแปลกตาหาชมได้ยาก เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา ๐๗.๐๐-๑๗.๐๐ น. เว้นวันจันทร์-อังคาร อัตราเข้าชม คนไทย ๑๐ …

สถานที่เที่ยว แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมืองลพบุรี ตอนที่ 1 Read More »

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระราชวังบางปะอิน อยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าปราสาททองเป็นผู้สร้างพระราชวังแห่งนี้ เนื่องจากบริเวณเกาะบางปะอินเป็นที่ประสูติของพระองค์และเป็นเคหสถานเดิมของพระมารดาซึ่งเป็นหญิงชาวบ้านที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพบเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งแล้วเรือเกิดล่มตรงเกาะบางปะอิน พระเจ้าปราสาททองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นบนเกาะบางปะอินบริเวณเคหสถานเดิมของพระมารดาในปีพ.ศ.๒๑๗๕ พระราชทานชื่อว่า “วัดชุมพลนิกายาราม” และให้ขุดสระน้ำสร้างพระราชนิเวศน์ขึ้นกลางเกาะเป็นที่สำหรับเสด็จประพาส แล้วสร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งที่ริมสระน้ำนั้นพระราชทานนามว่า พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พระราชวังบางปะอินได้รับการบูรณะฟื้นฟูอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับ มีเรือนแถวสำหรับฝ่ายในและมีพลับพลาริมน้ำ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้น ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ ซึ่งยังคงใช้เป็นที่ประทับและต้อนรับพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงรับรองในโอกาสต่างๆเป็นครั้งคราว พระราชวังบางปะอินแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ เขตพระราชฐานชั้นนอกและ เขตพระราชฐานชั้นใน เขตพระราชฐานชั้นนอกใช้เป็นที่สำหรับการออก มหาสมาคมและพระราชพิธีต่างๆ ส่วนเขตพระราชฐานชั้นในใช้เป็น ที่ประทับส่วนพระองค์ สิ่งที่น่าสนใจในเขตพระราชวังชั้นนอกของพระราชวังบางปะอินมีดังนี้ หอเหมมณเฑียรเทวราช เป็นปรางค์ศิลาจำลองแบบจากปรางค์ขอม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ เพื่อทรงอุทิศถวายแด่พระเจ้าปราสาททองกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นพระที่นั่งปราสาทโถงทรงจตุรมุขอยู่กลาง สระน้ำ รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างเมื่อพ.ศ.๒๔๑๙ โดยจำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวังที่กรุงเทพฯและพระราชทานนาม “ไอศวรรย์ทิพยอาสน์” ตามพระที่นั่งองค์แรกซึ่งพระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เดิมพระที่นั่งสร้างด้วยไม้ทั้งองค์ ต่อมารัชกาล ที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเสาและพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด …

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Read More »

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 5

วัดพุทไธสวรรย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทางด้านใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง หากเดินทางโดยรถยนต์ และใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ข้ามสะพาน วัดกษัตราธิราชวรวิหาร แล้วเลี้ยวซ้าย จะผ่านวัดไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางเป็นระยะไปจนถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพุทไธสวรรย์ วัดนี้สร้างขึ้นบริเวณตำหนักที่ประทับเดิมของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองซึ่งเรียกว่า “ตำหนักเวียงเหล็กหรือเวียงเล็ก” หลังจากนั้นพระองค์ไปสร้างพระราชวังใหม่ที่ตำบลหนองโสน(บึงพระราม)จึงสถาปนาสถานที่นี้เป็นวัดพุทไธสวรรย์ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ ปรำงค์ประธานองค์ใหญ่ศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กึ่งกลางอาณาเขตพุทธาวาสบนฐานไพที ซึ่งมีลักษณะย่อเหลี่ยมมีบันไดขึ้น ๒ ทางคือ ทางทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตก ส่วนทิศเหนือทิศใต้มีมณฑปสองหลังภายในพระมณฑปมีพระประธานพระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ประจำอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำหนักนี้อยู่ในสภาพค่อนข้างทรุดโทรมแต่ภายในผนังของตำหนัก มีภาพสีเกี่ยวกับเรื่องหมู่เทวดา นักพรต นมัสการพระพุทธบาท และเรือสำเภาตอนพระพุทธโฆษาจารย์ไปลังกา ภาพเหล่านี้อยู่ในสภาพไม่ชัดเจนนัก นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ หมู่พระเจดีย์สิบสององค์ และวิหารพระนอน วัดภูเขาทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ ๒ กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปจังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ กิโลเมตรที่ ๒๖ จะมีป้ายบอกทางแยกซ้ายไป วัดนี้ วัดภูเขาทองนี้หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนองเป็นผู้สร้างเมื่อพ.ศ.๒๑๑๒ คราวยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในเวลาที่ประทับอยู่พระนครศรีอยุธยาได้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นที่ระลึกเมื่อคราวรบชนะไทย โดยรูปแบบของฐานเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับแบบมอญพม่า สันนิษฐานว่าสร้างเจดีย์องค์นี้ขึ้นเพื่อชัยชนะแต่ทำได้เพียงรากฐาน แล้วยกทัพกลับ ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาเมื่อพ.ศ.๒๑๒๗ จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญและพม่าที่สร้างเพียงรากฐานไว้ ณ สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง …

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 5 Read More »

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 3

วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ทางทิศตะวันออกของวัด พระศรีสรรเพชญ์ พงศาวดารบางฉบับกล่าวว่าวัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ต่อมาสมเด็จพระราเมศวรโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดเมื่อ พ.ศ.๑๙๒๗ พระปรำงค์วัดมหาธาตุถือเป็นปรางค์ที่สร้างในระยะแรกของสมัยอยุธยาซึ่งได้รับอิทธิพลจากปรางค์ขอม ชั้นล่างก่อสร้างด้วยศิลาแลงแต่ที่เสริมใหม่ตอนบนเป็นอิฐถือปูน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์ใหม่โดยเสริมให้สูงกว่าเดิม แต่ขณะนี้ยอดพังลงมาเหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น จึงเป็นที่น่าเสียดายเพราะมีหลักฐานว่าเป็นปรางค์ที่มีขนาดใหญ่มากและก่อสร้างอย่างวิจิตรสวยงามมาก เมื่อพ.ศ.๒๔๙๙  กรมศิลปากรได้ขุดแต่งพระปรางค์แห่งนี้ พบของโบราณหลายชิ้น ที่สำคัญคือ ผอบศิลา ภายในมีสถูปซ้อนกัน ๗ ชั้น แบ่งออกเป็น ชิน เงิน นาก ไม้ดำ ไม้จันทร์แดง แก้วโกเมน และทองคำ ชั้นในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องประดับอันมีค่า ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุนำไปประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สิ่งที่น่าสนใจในวัดอีกอย่างคือ เศียรพระพุทธรูปหินทราย ซึ่งมีรากไม้ปกคลุมเข้าใจว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ในสมัยเสียกรุงจนรากไม้ขึ้นปกคลุมมีความงดงามแปลกตาไปอีกแบบ การเดินทาง จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วข้ามสะพานสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชตรงไปจนถึงสี่แยกไฟแดงที่ ๒ เลี้ยวขวาตรงไป ไม่ไกลนัก ผ่านบึงพระราม จะเห็นวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ เปิดทุกวันเวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างชาติ ๕๐ บาท …

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 3 Read More »

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 2

วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับบริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือและอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดเกล้าฯให้สร้างพระสถูปเจดีย์ใหญ่สององค์เมื่อพ.ศ.๒๐๓๕ องค์แรกทางทิศตะวันออกเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดา และองค์ที่สองคือองค์กลางเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พระบรมเชษฐา ต่อมาในปีพ.ศ.๒๐๔๒ ทรงสร้างพระวิหารขนาดใหญ่และในปีพ.ศ.๒๐๔๓ ทรงหล่อพระพุทธรูปยืนสูง ๘ วา (๑๖ เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก ๒๘๖ ชั่ง (ประมาณ ๑๗๑ กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร พระนามว่า “พระศรีสรรเพชญดาญาณ” ซึ่งภายหลังเมื่อคราวเสียกรุงพ.ศ.๒๓๑๐ พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด ในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯให้อัญเชิญชิ้นส่วนชำรุดของพระประธานองค์นี้ลงมากรุงเทพฯและบรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า “เจดีย์สรรเพชญดาญาณ” สำหรับเจดีย์องค์ที่สามถัดมาทางทิศตะวันตก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (สมเด็จพระหน่อพุทธำงกูร) พระราชโอรสได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เจดีย์สามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา ระหว่างเจดีย์แต่ละองค์มีมณฑปก่อคั่นไว้ซึ่งคงจะมีการสร้างในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และมีร่องรอยการบูรณะปฏิสังขรณ์หนึ่งครั้งในราวรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการบูรณะเจดีย์แห่งนี้จนมีสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน วัดนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าเข้าชม ชาวไทย …

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 2 Read More »

Scroll to Top