Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

น้ำตกนางรอง
น้ำตกนางรอง

ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครนายก เสาหลักเมืองเดิมเป็นเสาไม้ยาว ๑ เมตรเศษ ปลายเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัว ตั้งอยู่บริเวณกำแพงเมืองเก่า ต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ย้ายหลักเมืองไปประดิษฐานที่ตึกแดงในโรงเรียนศรีนครนายก เป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด และได้ย้ายมาสร้างใหม่ริมแม่น้ำนครนายกภายในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๙ โดยสร้างเป็นศาลาจัตุรมุข เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจนถึงทุกวันนี้

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ตั้งอยู่ที่ตำบลพรหมณี ห่างจากตัวจังหวัด ๑๔ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามเส้นทางองครักษ์ ๗๕ กิโลเมตร บริเวณโรงเรียนติดกับเขาชะโงก มีพื้นที่ ประมาณ ๑๙,๒๙๐ ไร่ เป็นสถานที่ศึกษาของผู้ที่จะรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตรแห่งกองทัพไทย ภายในมีสถานที่น่าสนใจและกิจกรรมต่าง ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินและสนุกสนาน เหมาะแก่การท่องเที่ยวแบบครอบครัวหรือหมู่คณะ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสำนักงานการท่องเที่ยวโรงเรียนนายร้อย จปร. เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมท่องเที่ยวภายในโรงเรียนได้

สถานที่น่าสนใจภายในโรงเรียนนายร้อย จปร. ได้แก่

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่หน้ากองบัญชาการโรงเรียนนายร้อย จปร. ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อย จปร. พระบรมรูปอยู่ในฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมทัพไทยแห่งกองทัพบกเต็มยศประทับเหนือพระราชอาสน์

ศาลาวงกลม หรือ ศาลาลม จอมพลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ทรงดำริให้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนของนักเรียนนายร้อย ภายในศาลาวงกลมประดิษฐาน พระบรมรูปรัชกาลที่ ๕

อาคารพิพิธภัณฑ์ รร.จปร. ๑๐๐ ปี เป็นที่แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับกองทัพไทย จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เคยใช้ทำาสงครามในอดีต เครื่องแบบนายทหารของกองทัพ ห้องชมสไลด์มัลติวิชั่นบรรยายเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของโรงเรียน และยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปหุ่นขี้ผึ้งรัชกาลที่ ๕ เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชมคนละ ๑๐ บาท หากจะชมสไลด์มัลติวิชั่น มีค่าเข้าชมอีกคนละ ๑๐ บาท

ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน
ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน

ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน เป็นสถานที่ที่ประชาชนเคารพนับถือมาก ท่านเป็นนายด่านเมืองนครนายกในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๐ ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะที่ไทยติดพันศึกกับพม่า ได้มีทหารเขมรเข้ามากวาดต้อนผู้คนพร้อมทั้งได้ยึดเมืองปราจีนบุรีและเมืองนครนายกไว้ ขุนด่านจึงได้รวบรวมชาวเมืองถอยไปตั้งหลักที่เขาชะโงกแล้วยกกำลังเข้าขับไล่เขมรออกจากนครนายกได้สำเร็จ

พระพุทธฉาย เป็นภาพเขียนสีติดกับชะโงกผาบนภูเขาเตี้ย ๆ ซึ่งอยู่ถัดจากเขาชะโงก มีวิหารครอบไว้ เล่ากันว่าสภาพเดิมเป็นภาพพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ กรมแผนที่ทหารบกเข้าไปตั้งโรงงานหินอ่อนที่เชิงเขา จึงได้เขียนสีตามรอยพระพุทธรูปเดิมให้ชัดเจนขึ้น เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ในช่วงกลางเดือน ๓ จะมีงานนมัสการเป็นประจำทุกปี ถ้าเราเดินไปทางด้านหลังวัดพระฉายจะพบ “น้ำตกพระฉาย” เป็นน้ำตกเล็ก ๆ ตกลงมาเป็นสายจากผาสูง ๓๐ เมตร มายังแอ่งน้ำเบื้องล่างซึ่งสามารถเล่นน้ำได้ นอกจากการเที่ยวชมสถานที่ดังกล่าวแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถขับรถหรือขี่จักรยานเที่ยวชมบริเวณรอบ ๆ ได้ โดยสำนักงานท่องเที่ยวมีจักรยานให้เช่า มีที่พัก ห้องประชุมสัมมนา และค่ายเยาวชน ส่วนกิจกรรมกีฬาที่เปิดให้บริการได้แก่ สนามยิงปืน สนามกอล์ฟ สนุกเกอร์ คาราโอเกะ และสำหรับผู้ที่ต้องการจัดกิจกรรมกลุ่ม เช่น เดินป่า พักแรมที่เขาชะโงก กิจกรรมไต่หน้าผาจำลองและหน้าผาจริง ต้องติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย ๗ วัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการท่องเที่ยว โทร. ๐ ๓๗๓๙ ๓๐๑๐ – ๕ ต่อ ๖๒๙๖๑ – ๓, ๐ ๓๗๓๙ ๓๑๘๕

หลวงพ่อเศียรนคร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดบุญนาครักขิตาราม (วัดต่ำ) ตำบลนครนายก เป็นพระพุทธรูปที่ชาวจังหวัดนครนายกให้ ความเคารพเป็นอย่างมาก สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย (พระร่วง) ขุดพบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ บริเวณโรงกลั่นสุราจังหวัดนครนายก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้วัดนางหงษ์ ตำบลท่าช้าง โดยขุดพบแต่เศียร ต่อมานำไปประดิษฐานที่วัดบุญนาครักขิตาราม ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ มีผู้ศรัทธาสร้างองค์พระและวิหารถวาย พร้อมทั้งถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อเศียรนคร” นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่เป็นประธานของลานปฏิบัติธรรม และมีศาลาริมน้ำสำหรับนั่งพักผ่อน

วัดใหญ่ทักขิณาราม
วัดใหญ่ทักขิณาราม

วัดใหญ่ทักขิณาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหญ่ ริมแม่น้ำนครนายก จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๐๔๙ แล้วเลี้ยวขวาเข้าบ้านใหญ่ วัดใหญ่ทักขิณารามเป็นวัดเก่าแก่กล่าวกันว่าชาวเวียงจันทน์ได้อพยพมาเมื่อครั้งเกิดสงครามลาวกับฝรั่งเศส ชาวเวียงจันทน์จึงอพยพลงมาทางใต้ และมีกลุ่มหนึ่งมาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเขตอำเภอเมือง เรียกว่า “บ้านใหญ่ลาว” และได้สร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๒๓ เรียกว่า “วัดใหญ่ลาว” ในปี ๒๔๘๔ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่

ทักขิณาราม สิ่งที่สำาคัญในวัดคือ อุโบสถซึ่งมีขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๐.๑๕ เมตร สูง ๑๐ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ สร้างโดยช่างชาวเวียงจันทน์ อุโบสถเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ก่ออิฐถือปูน บานประตูเป็นไม้แกะสลักกรอบด้านขวามือเป็นรูปยักษ์ถือกระบองชูขึ้น และเท้าเอว หน้าบันเป็นไม้แกะสลักรูปเทพนม กำแพงแก้วมีซุ้มประตูโค้งเลียนแบบศิลปะตะวันตก มีทหารสวมหมวกแต่งกายแบบยุโรป ถือกระบองเป็นทวารบาลด้านละ ๒ คน

วัดพราหมณี ตั้งอยู่หมู่ ๙ ตำบลสาริกา ประมาณกิโลเมตรที่ ๕ ทางไปน้ำตกสาริกา – นางรอง เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อปากแดง”  พระพุทธรูปเก่าแก่ที่ชาวลาวอพยพได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ พุทธลักษณะทรงเครื่องดอกพิกุล พระโอษฐ์แดง เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป

ภายในวัดพราหมณี ยังเป็นที่ตั้งของ อนุสรณ์สถานกองพลทหารญี่ปุ่นที่  ๓๗ ซึ่งสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๘ กองพลทหารญี่ปุ่นที่ ๓๗ เคยมาตั้งทัพที่วัดแห่งนี้ สมาคมทหาร สหายสงครามกองพลญี่ปุ่นที่ ๓๗ จึงสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงดวงวิญญาณของบรรดาทหารสังกัด กองพลญี่ปุ่นที่ ๓๗ จำานวน ๗,๙๒๐ นาย ซึ่งเสียชีวิตในระหว่างสงคราม โดยนำอัฐิที่ฝังอยู่ในบริเวณวัดมาบรรจุในแท่นที่จัดสร้างขึ้น

รอยพระพุทธบาทจำลองเขานางบวช ประดิษฐานอยู่ในมณฑปบนยอดเขานางบวช ตำบลสาริกา ห่างจากตัวจังหวัด ๙ กิโลเมตร เขานางบวชสูง ๑๐๐ เมตร ทางขึ้นมีบันไดคอนกรีตจากเชิงเขาถึงมณฑป ๒๒๗ ขั้น รอยพระพุทธบาทนี้สร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๑ ในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา และจะมีงานนมัสการรอยพระพุทธบาทในกลางเดือน ๕ ของทุกปี

เมืองโบราณดงละคร
เมืองโบราณดงละคร

เมืองโบราณดงละคร ตั้งอยู่ที่ตำบลดงละคร ห่างจากตัวจังหวัด ๙ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๗๖ เลี้ยวขวาเข้าไป ๖.๓ กิโลเมตร ผ่านวัดเจดีย์ทอง แล้วเลี้ยวไปทางเดียวกับวัดดงละคร เดิมเรียกว่า “เมืองลับแล” เป็นสถานที่ตั้งเมืองโบราณสมัยทวารวดีและขอม เนินดินดงละครหรือดงใหญ่มีเนื้อที่ ๖ ตารางกิโลเมตร ภายในมีเมืองโบราณหรือดงเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่อยู่ค่อนไปทางทิศตะวันตกของเนินดิน มีคันดินเป็นกำแพง ๒ ชั้น ชาวบ้านเรียกกันว่า “สันคูเมือง” และมีคูน้ำล้อมรอบ ลักษณะเดียวกับเมืองโบราณทั่วไปในสมัยทวารวดี

ภายในเมืองน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของชนชั้นปกครอง ส่วนประชาชนทั่วไปน่าจะกระจายอยู่ในบริเวณที่ลุ่มรอบเมือง ความรุ่งเรืองที่เด่นชัดแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเริ่มพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖ เป็นวัฒนธรรมแบบทวารวดี ช่วงที่สองราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๙ เป็นวัฒนธรรมขอม และวัฒนธรรมก่อนอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ชาวบ้านดงละครคงจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานตามลำนน้ำสายหลักในจังหวัดนครนายก สันนิษฐานว่าน่าจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองศรีมโหสถที่จังหวัดปราจีนบุรี เพราะเมืองทั้งสองอยู่ห่างกันเพียง ๕๕ กิโลเมตร โบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณโบราณสถาน ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ภาชนะเคลือบสีฟ้า ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน เบี้ยดินเผา แผ่นตะกั่ว ตุ้มหูสัมฤทธิ์ แผ่นทองคำ เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง สถูปศิลาแลง แหวนสัมฤทธิ์ และกำไลสัมฤทธิ์ สำหรับตำนานเมืองนั้นเล่ากันว่า เมืองนี้เคยเป็นเมืองของราชินีขอม ซึ่งเป็นที่รโหฐานผู้อื่นไม่สามารถเข้าออกได้ ประกอบกับลักษณะของบริเวณเมืองมีต้นไม้สูงขึ้นอยู่ทั่วไปใครเข้าไปแล้วอาจหาทางออกไม่ได้ จะต้องวนเวียนอยู่ในดงนั้นเอง และวันโกนวันพระจะได้ยินเสียงกระจับปี่ ซอ ปี่พาทย์ มโหรีขับกล่อมคล้าย ๆ กับมีการเล่นละครในวังชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ดงละคร” หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า “ดงละคร” นั้นอาจเพี้ยนมาจาก “ดงนคร” กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘

อ่างเก็บน้ำห้วยปรือ อยู่ที่ตำบลเขาพระ แยกซ้ายมือจากถนนที่ไป น้ำตกสาริกา – นางรอง กิโลเมตรที่ ๑ ไปตามถนนเขาทุเรียนระยะทาง ๑๑ กิโลเมตร (ทางไปบ้านวังรี) เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่มี ทิวทัศน์สวยงามตามธรรมชาติมีน้ำตลอดปี มีถนนลาดยางรอบอ่าง เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับพักผ่อนของประชาชน

อ่างเก็บน้ำทรายทอง อยู่ที่ตำบลเขาพระ แยกซ้ายจากถนนที่ไป น้ำตกสาริกา – นางรอง กิโลเมตรที่ ๑ ไปตามถนนเขาทุเรียนระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร (ทางเดียวกับอ่างเก็บน้ำห้วยปรือ) เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ภูมิประเทศโดยรอบเป็นภูเขาสวยงามตามธรรมชาติ เหนืออ่างเก็บน้ำขึ้นไป ๒ กิโลเมตร มี “น้ำตกทรายทอง” เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีน้ำเกือบตลอดปี การเดินทางไปยังน้ำตกทรายทองต้องเดินจากตัวเขื่อนเข้าไปใช้เวลา ๓๐ นาที

น้ำตกลานรัก หรือ น้ำตกตาดหินกอง ตั้งอยู่ในตำบลสาริกา ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปน้ำตกสาริกาและน้ำตกนางรอง โดยเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกประชาเกษมบริเวณกิโลเมตรที่ ๘ เข้าไป ๕ กิโลเมตรก็จะถึงบริเวณตัวน้ำตกซึ่งเกิดจากสายธารเล็ก ๆ ไหลผ่านลานหินในช่วงสุดท้ายและไหลพุ่งเป็นทางยาวผ่านที่กว้างเลียบตรงเชิงเขาเตี้ย ๆ ดูแปลกตาไปจากน้ำตกแห่งอื่น น้ำาตกลานรักมีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายนจะมีน้ำมากที่สุดเหมาะที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว

น้ำาตกสาริกา
น้ำาตกสาริกา

น้ำตกสาริกา เป็นน้ำตกในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลสาริกา จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๔๙ ระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๐๕๐ อีก ๓ กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย น้ำตกสาริกาเป็นน้ำตกขนาดใหญ่สายน้ำไหลตกจากหน้าผาเป็นทอด ๆ ถึง ๙ ชั้น ผาที่สูงที่สุดประมาณ ๒๐๐ เมตร แต่ละชั้นมีอ่างรับน้ำและมีน้ำมากเฉพาะในฤดูฝนบริเวณด้านล่างของน้ำตกมีบริการห้องอาบน้ำ ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ค่าเข้าชมสำหรันักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้ใหญ่ ๔๐ บาท เด็ก ๒๐ บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ ๔๐๐ บาท เด็ก ๒๐๐ บาท

วัดถ้ำสาริกา ตั้งอยู่ใกล้กับน้ำตกสาริกา เป็นสถานที่ที่พระอาจารย์มั่น ภูริฑตฺโต มาบำเพ็ญศาสนธรรมระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๐ – ๒๔๖๓ สภาพเป็นเนินเขา ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยกุฏิสงฆ์ เรือนบูชา หลวงปู่มั่น และโบสถ์ซึ่งอยู่สุดทางเดินเท้าขึ้นเขา สักการะพระบรมสารีริกธาตุที่สมเด็จพระสังฆราช พระราชทานให้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ บรรจุที่ยอดมณฑปบนยอดเขา หอพระธาตุ และศาลาปฏิบัติธรรม สำหรับผู้ที่สนใจปฏิบัติธรรม

อุทยานวังตะไคร้ ตั้งอยู่ที่ตำบลหินตั้ง ใกล้กับน้ำตกนางรองอยู่ห่างจากตัวเมือง ๑๖ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๔๙ อุทยานวังตะไคร้เป็นของกรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ และหม่อมราชวงศ์หญิงพันธุ์ทิพย์บริพัตร เป็นอุทยานที่ได้รับการตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ ดอกไม้ประดับนานาพรรณในเนื้อที่ ๑,๕๐๐ ไร่ มีถนนให้นำรถยนต์เข้าชมในบริเวณได้ เปิดรับนักท่องเที่ยวทั่วไปทั้งประเภทเช้าไปเย็นกลับ และพักค้างแรม โดยคิดค่าผ่านประตูดังนี้ รถทุกประเภท คันละ ๑๕๐ บาท ผู้โดยสารเกิน ๘ คน คิดเพิ่มคนละ ๑๐ บาท รถจักรยานยนต์ต้องจอดไว้บริเวณด้านหน้าทางเข้า ชำระค่าจอดคันละ ๑๐ บาทและค่าบัตรผ่านประตูคนละ ๑๐ บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๓๗๓๘ ๕๑๖๔-๕, ๐๘ ๑๙๘๙ ๐๓๖๕

น้ำตกนางรอง ตั้งอยู่ที่ตำบลหินตั้ง ห่างจากตัวเมือง ๒๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๔๙ น้ำตกนางรองอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นน้ำตกขนาดกลางที่ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ สวยงาม ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำจากน้ำตกนางรองจะไหลเชี่ยวมาก ต้องระมัดระวังในการลงเล่นน้ำ ภายในจัดเป็นระเบียบสะอาดตา และมีบ้านพักบริการ การเข้าชมน้ำตกนางรองมีค่าบำรุงสถานที่ดังนี้ รถยนต์โดยสาร ๒๐๐ บาท รถยนต์เล็ก ๕๐ บาท รถตู้ ๑๐๐ บาท รถจักรยานยนต์ ๑๐ บาท นักท่องเที่ยวคนละ ๑๐ บาท

เขื่อนขุนด่านปราการชล ตั้งอยู่บ้านด่าน ตำบลหินตั้ง สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อบรรเทาความทุกข์เรื่องการจัดสรรทรัพยากรน้ำของชาวนครนายก และจังหวัดใกล้เคียง ตัวเขื่อนประกอบด้วยเขื่อนหลักและเขื่อนรอง สร้างด้วยคอนกรีตบดอัด ปัจจุบันเป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดที่ยาวที่สุดในโลก โดยมีความยาวรวม ๒,๕๙๔ เมตร สูง ๙๓ เมตร มีความจุน้ำ ๒๒๔ ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นเขื่อนที่มีคุณประโยชน์นานัปการ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างความภาคภูมิใจให้ชาวนครนายก

เขื่อนขุนด่านปราการชล
เขื่อนขุนด่านปราการชล

ด้านหน้าเขื่อนเป็นอ่างเก็บน้ำซึ่งมีพื้นน้ำสีขาวคั่นกลางผืนป่าสีเขียวที่อุดมสมบูรณ์ ด้านหลังเขื่อนเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพของชาวบ้าน รวมถึงกิจกรรมล่องแก่งลำาน้ำนครนายกที่สามารถเล่นได้ตลอดทั้งปี ท้ายเขื่อนจัดเป็นพื้นที่ปลูกพันธุ์ไม้นานาชนิดและมีศูนย์การเรียนรู้ ทั้งพิพิธภัณฑ์เขื่อนขุนด่านปราการชล ท่าเรือสำหรับล่องแก่ง ส่วนพื้นที่บนภูเขาด้านบนสันเขื่อนเป็นจุดชมทิวทัศน์ต่าง ๆ และด้านบนจุดสูงสุดของภูเขาสร้างเป็นอาคารที่ประทับเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๓๗๓๘ ๔๓๓๔, ๐ ๓๗๓๘ ๔๒๐๘-๙

ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ตั้งอยู่บริเวณหลังเขื่อนขุนด่านปราการชล บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง เป็นที่ดินส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมูลนิธิชัยพัฒนา และสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ขอใช้ที่ดินเนื้อที่ ๑๔ – ๒ – ๑๘ ไร่ เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป โดยจัดทำโครงการศูนย์นิทรรศการการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ แสดงแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาตนเองตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย อาคารนิทรรศการต้อนรับนักท่องเที่ยว อาคารประชุมร้านค้า และ Out Door Theater แปลงสาธิตกิจกรรมกลางแจ้งแปลงทฤษฎีแก้มลิง แปลงปลูกหญ้าแฝก แปลงทฤษฎีเกษตรแผนใหม่ จุดสาธิตเรื่องพลังงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๓๗๓๘ ๔๐๔๙

วัดคีรีวัน ตำบลหินตั้ง ห่างจากตัวเมือง ๙ กิโลเมตร เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระแก้วมรกตองค์จำลอง ในพระวิหารบนยอดเขาองค์พระแก้วจำลองมีเนื้อเป็นเรซิ่นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๙ นิ้ว สูง ๓๒.๙ นิ้ว หนัก ๑ ตัน และมีเครื่องทรงครบทั้ง ๓ ฤดู ประดับตกแต่งด้วยเพชรแท้ ๗ กะรัต พลอยแท้กว่า ๒,๐๐๐ เม็ด และทับทิมเป็นจำนวนมาก

วัดนางรอง ตั้งบนเนินเขาน้อย หมู่ที่ ๓ ตำบลหินตั้ง สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ มณฑปประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) พระบรมรูปหล่อเท่าองค์จริง เททอง เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๔ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) เป็นองค์ประธาน โดยมีหลวงพ่อเณรโกศล มีวุฒิสม (พระครูพรหมสาร) เป็นผู้ดำเนินการโดยขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันวัดนางรองได้สร้างมณฑปทรงยุโรปหลังคา ๘ เหลี่ยม กว้าง ๘ เมตร ยาว ๘ เมตร ประดิษฐานพระบรมรูปเท่าพระองค์จริงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๔ องค์ ของประเทศไทย และยังมีจุดชมทิวทัศน์บนวิหารระฆังที่สูงจากพื้นดิน ๑๘ เมตร แบ่งเป็น ๕ ชั้น เป็นจุดชมทิวทัศน์รอบ ๆ และสามารถมองเห็นเขื่อนขุนด่านปราการชลได้อย่างชัดเจน

อุทยานพระพิฆเณศ
อุทยานพระพิฆเณศ

พุทธสถานจีเต็กลิ้ม ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๑ บ้านบางหอย ตำาบลศรีจุฬา ประดิษฐาน เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ไฉ่ซิ้งเอี้ย ปางเศรษฐีชัมภล (ปางมหาราช) หรือเจ้าแห่งยักษ์ หล่อด้วยโลหะขนาดฐานกว้าง ๒ เมตร ลักษณะสมบูรณ์น่าเลื่อมใส ซึ่งชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพนับถือว่าเป็นเทพเจ้าที่ให้คุณด้านโชคลาภ ทรัพย์สมบัติและการค้าขาย ในการจัดงานตรุษจีนฉลอง ๒๒๒ ปี เยาวราช เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ได้อัญเชิญรูปหล่อเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ไฉ่ซิ้งเอี้ย ไปให้ประชาชนสักการบูชาทำาให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น ปัจจุบันพุทธสถานจีเต็กลิ้มได้แกะสลักเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ไฉ่ซิ้งเอี้ย จากหยกเขียวน้ำาหนัก ๑,๐๐๐ กิโลกรัม เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภที่แกะสลักจากหยกเขียวใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีรูปหล่อ พระโพธิสัตว์กวนอิม พระศรีอริยเมตตรัย พระอวโลกิเตศวรพันกร เทพเจ้ากวนอู และเทพเจ้าตามคติความเชื่อของชาวจีน การเดินทางตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๗๖ (นครนายก-บ้านสร้าง) เลี้ยวผ่านด้านหลังอนามัยหนองทราย ผ่านวัดศรีจุฬา รวมระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร

อุทยานพระพิฆเณศ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔/๔ หมู่ ๑๑ ตำบลสาริกา จากตัวเมืองไปทางถนนสาริกา – นางรอง ถึงสี่แยกประชาเกษม เลี้ยวซ้ายไปทางน้ำาตกลานรัก ๓๐๐ เมตร ภายในอุทยานประกอบด้วย องค์พระพิฆเณศปางประทานพร ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และปางไสยาสน์ และอาคารพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมองค์พระพิฆเณศ จำานวน ๑๐๘ ปาง ที่ครบสมบูรณ์อีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. ๐๘ ๑๙๐๖ ๖๙๗๔

ตลาดน้ำบ้านใหญ่ วัดท่าข่อย ตั้งอยู่บริเวณวัดท่าข่อย ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมืองฯ ติดริมแม่น้ำ นครนายก เปิดทำการทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. เป็นต้นไป ภายในตลาดผสมผสานวิถีชีวิตของชาวบ้านดั้งเดิมและสังคมเมืองได้อย่างผสมกลมกลืน ชมการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรม – การแสดงบนเวที วาดภาพล้อ กิจกรรมไหว้พระ ๙ วัด ริมแม่น้ำนครนายก (วัดท่าข่อย วัดสุวรรณ วัดเกาะทอง วัดใหญ่ ทักขิณาราม วัดอุดม (พระอารามหลวง) วัดดง วัดรังสีโสภณ วัดหนองโพธิ์ วัดศรีนาวา) ชวนชิมอาหารอร่อยนานาชนิด – ขนมจีน น้ำายา, น้ำาพริก, แกง พร้อมเครื่องเคียงนานาชนิด ขนมหวาน – วุ้นแฟนซี, ขนมตระกูลทอง, ผลไม้, ของฝากสินค้าชุมชน เป็นต้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *