เกาะพะงันกับคุณค่า และความหมายของการเสด็จประพาส

เกาะพะงันกับคุณค่า และความหมายของการเสด็จประพาส
เกาะพะงันกับคุณค่า และความหมายของการเสด็จประพาส

ในห้วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของการเสด็จประพาสไปในสถานที่ต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ไทยนั้น พระพุทธเจ้าหลวงหรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 นับทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงโปรด การเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ ไปและทรงเยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์อยู่เสมอ ถึงขนาดบางครั้งพระองค์ก็เสด็จประพาสไปในที่ต่างๆโดยการเสด็จ ประพาสแต่ละครั้งทรงไม่เปิดเผยพระองค์เองว่า เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทำให้ ทรงได้รับรู้ถึงความทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์และเห็นความเป็นอยู่ ของบ้านเมืองตามชนบทตลอดจนได้สร้างความใกล้ชิดกับราษฎร นับเป็น  พระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง

เกาะพะงันกับคุณค่า และความหมายของการเสด็จประพาส

เกาะพะงัน นับเป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเป็นการส่วนพระองค์และได้เคยเสด็จประพาสมาถึงที่นี่บ่อยครั้งกว่าที่แห่งใดในประเทศไทยถึง 14 ครั้ง ระหว่าง พ.ศ.2431-2452 ซึ่งมีทั้งที่เป็นทางผ่านตามเส้นทางเสด็จสู่แหลมมลายูหรือการเสด็จมณฑล ฝ่ายใต้  เช่นเมืองนครศรีธรรมราช สงขลา เป็นต้น การเสด็จประพาสครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นใน พ.ศ.2431 (ร.ศ. 107) เป็นการเสด็จประพาสเมืองสงขลาและแวะที่ เกาะพะงันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2431 ครั้งกระนั้นพระองค์ เสด็จประพาสธารน้ำตกแห่งหนึ่งบนเกาะพะงันซึ่ง ต่อมาพระองค์ท่านได้เสด็จ กลับมาเยือนน้ำตกแห่งนี้อีกหลายครั้งและพระราชทานนามว่า “น้ำตกธารเสด็จ” และโปรดให้จารึกอักษรพระปรมาภิไธยย่อ “หินจปรที่ ๑”    ไว้ที่โขดหินบริเวณ น้ำตกธารเสด็จนี้ เพื่อเป็นการบันทึกประวัติการเดินทาง หากคิดอีกมุมหนึ่งก็เพื่อ เป็นการประกาศพระราชอาณาเขตของพระองค์ด้วยอีกนัยหนึ่ง เพราะสมัยนั้น ชาติตะวันตกออกล่าอาณานิคมมายังดินแดนตะวันออกซึ่งมีประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เป็นเป้าหมาย

น้ำตกธารเสด็จแห่งนี้หากเป็นเมื่อ พ.ศ. 2431 ก็น่าเชื่อว่าจะงดงามอุดมสมบูรณ์เป็นธรรมชาติยิ่งนัก เพราะแม้กระทั่งวันนี้กาลเวลาผ่านไปถึง   124 ปี ผืนป่าบริเวณน้ำตกธารเสด็จก็ยังอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่นสวยงามที่สุดบนเกาะพะงันไม่เสื่อมคลายเพียงแต่ว่าฤดูแล้งวันนี้อาจจะมีน้ำท่าไม่อุดมสมบูรณ์ เท่าวันวานคงสวยงามเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น แต่ก็นับว่าเป็นมนต์ขลังและความมีเสน่ห์ที่มีมาแต่ โบราณกาลโดยแท้

การเสด็จประพาสน้ำตกธารเสด็จในครั้งต่อๆมาของพระองค์ ก็เพื่อสรงน้ำที่ลำาธารแห่งนี้ รวมทั้งยังเป็นแหล่งน้ำจืดในระหว่างเส้นทางการเดินเรือ ซึ่งทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกลสมกับการเป็นนักเดินทางและนักบุกเบิกผจญภัยโดยแท้นอกจากนั้นพระองค์ยังได้ทรงสำารวจน้ำตกแห่งใหม่ที่อยู่ ในบริเวณไม่ไกลกันกับน้ำตกธารเสด็จอีก 2 แห่ง พระราชทาน

ปัจุจบันการเดินทางเข้าไปเที่ยวยังน้ำตกธารเสด็จนั้นสะดวกสบายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เนื่องจากถนนที่ตัดข้ามเกาะพะงันไปยังอ่าวท้องนายปานทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะได้ เสร็จสมบูรณ์เกือบทั้งหมดแล้ว คงเหลือช่วงที่เป็นทางลูกรังอีก 4 กิโลเมตร ก่อนถึงปากทางเข้าน้ำตกธารเสด็จ จากนั้นจะมีถนนลูกรังแยกเข้าสู่น้ำตกธารเสด็จ ระยะทางอีก 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำาการอุทยานแห่งชาติธารเสด็จ ฤดูแล้งรถปิกอัพเดินทางได้สะดวก ส่วนฤดูฝนยังต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อจึงจะเดินทางไปถึงได้ ส่วนรถเก๋งไม่แนะนำ

ระหว่างทางจากจุดแยกนี้ ถือว่าเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์อย่างแท้จริงเพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  6 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  7 และสมเด็จพระนาง เจ้ารำาไพพรรณี     ตลอดจนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ก็ล้วนแต่เคยเสด็จประพาสมายังน้ำตกธารเสด็จแห่งนี้  โดยมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทั้ง 3 รัชกาลจารึกไว้บนแผ่นหินเรียงรายเป็นระยะริมธารเสด็จถึง 10 แห่ง ซึ่งอนุชนรุ่น หลังสามารถศึกษาหาความรู้ได้

 

เกาะพะงันกับคุณค่า และความหมายของการเสด็จประพาส

 

เมื่อเดินทางเข้าไปตามทางแยกสู่น้ำตกธารเสด็จ ทางด้านขวามือก็จะพบพื้นที่โบราณสถานกลุ่มแรกซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ถัดไปเป็นจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จปร ๑๐๘ ต่อไปมีไร่” และฟากตรงข้ามลำาธารจะเป็นจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร ๒๔๖๙, ๒๔๗๑” ต่อจากนั้นเมื่อเดินทางลึกเข้าไปอีก ก็จะพบโบราณสถานกลุ่มที่สองอยู่ทางด้านขวามือเช่นกัน โบราณสถานกลุ่มนี้จะมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “วปร ๑๓๐” จารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” และ จุลศักราชที่เสด็จประพาส จารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร,รพ ๒๔๖๙”ครั้นเมื่อเดินทางเลยที่ทำาการสำานักงาน อุทยานแห่งชาติธารเสด็จเข้าไปอีกก็จะเป็นพื้นที่โบราณสถานกลุ่มที่สาม ซึ่งกลุ่มนี้มีจารึกเรียงรายอยู่สองฝั่งลำาธารคือ จารึกอักษรพระนามย่อ “รพ” ทางฝั่งซ้ายของลำาธาร และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร ๒๓ เมษายน ๒๕๐๕” และจารึกอักษรคำาว่า ธารเสด็จ ที่ล้นเกล้า รัชกาลที่   5 ได้ทรงให้จารึกไว้แต่ครั้งเสด็จน้ำตกแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.2432  ส่วนด้านในสุดบริเวณใกล้กับปากลำาธารจะเป็นกลุ่มโบราณสถานกลุ่มสุดท้าย ด้านซ้ายมือจะเป็นจารึกพระปรมาภิไธยย่อ 3 รัชกาล และพลับพลาเก่าที่เคยประทับซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่เป็นอนุสรณ์ บริเวณใกล้ลำาธารมีจารึกอักษรจีนย่อ “จปร  ๑๑๙” เป็นจารึกสุดท้ายที่พบตลอดแนวลำธารสายประวัติศาสตร์แห่งนี้ ส่วนต้นจันกะพ้อ 4 ต้นที่มีบันทึกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เคยปลูกไว้บริเวณพลับพลาแห่งนี้ปัจจุบันไม่พบว่ามีหลงเหลืออยู่ คาดว่าคงจะสูญหายล้มตายไปหมดแล้ว

สำหรับการเที่ยวชมน้ำตกธารเสด็จสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปีฤดูที่ดีที่สุดควรเป็นช่วงปลายฤดูฝนราวเดือนมกราคมจะมีน้ำมากกว่าในฤดูอื่น ส่วนฤดูแล้งน้ำตกจะไม่ค่อยมีน้ำแต่หากใครสนใจในเรื่องราวประวัติศาสตร์หรือแวะมาพักผ่อนเที่ยวชมผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ลำาธารสายนี้ก็ยังคงมีคุณค่าต่อการค้นหาเสมอส่วนน้ำตกธารประพาศนั้น ปัจจุบันเส้นทางยังค่อนข้างลำาบากสามารถเดินทางได้เฉพาะรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้นเนื่องจากระยะทางราว 4 กิโลเมตรที่เข้าไปยังตัวน้ำตกต้องข้ามเนินเขาหลายแห่งและสภาพเส้นทางไม่ค่อยดีนัก ส่วนน้ำตกธารประเวศจะแยกเข้าไปจากหัวโค้ง บริเวณที่จะลงสู่หาดท้องนายปานเพียง 300 เมตรเท่านั้นตามเส้นทางที่จะไปหาดขวด แต่ควรเป็นรถปิคอัพเท่านั้นที่จะเดินทางได้เนื่องจากเส้นทางเป็นลูกรังและไม่ค่อยดีเช่นกัน น้ำตกทั้งสองแห่งนี้ ปัจจุบันมีคุณค่าในความเป็นแหล่งน้ำจืดและเส้นทางเสด็จ มากกว่าที่จะเป็นน้ำตก ทั้งนี้ด้วยสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *