หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง

วัดท่าหลวง เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๘ สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก หน้าตักกว้าง ๑.๔๐ เมตร สูง ๑.๖๐ เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร ตามประวัติเล่าว่า พระพิจิตรซึ่งเป็นเจ้าเมืองอยากได้พระประธานมาประดิษฐานที่เมืองพิจิตรในโอกาสที่ทัพกรุงศรีอยุธยาได้เดินทางผ่านเมืองพิจิตรเพื่อไปปราบขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ พระพิจิตรจึงได้ขอร้องแม่ทัพว่า เมื่อปราบขบถเสร็จแล้วให้หาพระพุทธรูปมาฝาก ดังนั้น เมื่อเสร็จศึกแล้ว แม่ทัพนั้นจึงได้อาราธนาพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรลงแพลูกบวบล่องมาทางแม่น้ำาปิงโดยฝากเจ้าเมืองกำแพงเพชรไว้ ต่อมาจึงได้อาราธนาหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดนครชุมก่อน แล้วจึงย้ายมาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดท่าหลวง อำาเภอเมืองพิจิตร จนถึงปัจจุบัน พระอุโบสถเปิดให้เข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.  โทร. ๐ ๕๖๖๑ ๒๕๘๕, ๐ ๕๖๖๑ ๕๓๕๙, ๐๘ ๑๗๒๗ ๗๕๒๗

พิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดพิจิตร (หลังเดิม) เป็นสถานที่ทางราชการตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัย เป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมข้อมูลวิถีชีวิต ภูมิปัญญา กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีของคนในจังหวัดพิจิตร ภายในมีห้องจัดแสดง ๓ ห้อง ได้แก่ ห้องภูมิหลัง ภูมิเมือง คีตนาฏศิลป์ ห้องบรรยายสรุป ห้องสินแผ่นดิน ห้องบุคคลสำคัญ ห้องภาษาและวรรณกรรม และห้องภูมิชน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร โทร.๐ ๕๖๖๑ ๒๖๗๕-๖

บึงสีไฟ

บึงสีไฟ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป บึงสีไฟถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร มีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่

 สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ พิจิตร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ มีพื้นที่ ๑๗๐ ไร่ เป็นสวนพักผ่อนริมบึงสีไฟ มีสะพานทอดลงน้ำาสู่ศาลาใหญ่ นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารปลาและชมอาทิตย์อัสดง

รูปปั้นพญาชาละวัน เป็นรูปปั้นจระเข้อยู่ด้านหน้าบึงสีไฟ ที่มีความยาวถึง ๓๘ เมตร กว้าง ๖ เมตร สูง ๕ เมตร ภายในตัวจระเข้ทำเป็นห้องประชุม ขนาด ๒๕-๓๐ ที่นั่ง

รูปปั้นพญาชาละวัน บึงสีไฟ

สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะตัวอาคารเป็นรูปดาวเก้าแฉก ยื่นลงในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลามากกว่า ๒๐ ชนิด และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ นอกจากนั้นบริเวณส่วนกลางของอาคารยังทำาเป็นช่องสำหรับชมปลา และให้อาหารปลา เปิดให้เข้าชมทุกวัน วันธรรมดา เปิดตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๘.๐๐ น. และวันหยุดราชการ เปิดตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๙.๐๐ น. ติดต่อสอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๕๖๖๑ ๑๓๐๙

น้ำตกสามมิติ เป็นการวาดภาพน้ำาตก ๓ มิติ และภาพตำนานชาละวันลงบนพื้นถนนจนดูเหมือนเล่นอยู่ในน้ำตก และอาณาจักรพญาชาละวันจริงๆ ณ บริเวณหอดูนกในบึงสีไฟ นักท่องเที่ยวต้องมองจากมุมสูง ทำมุม ๔๕ องศา โดยเฉพาะในช่วงเวลา ๑๐.๐๐-๑๑.๐๐ น. แสงอาทิตย์จะทำมุมกับภาพ จนดูเหมือนเล่นอยู่ในน้ำาตกจริงๆ ซึ่งถือว่าเป็นภาพมหัศจรรย์แห่งแรกของประเทศไทย

อุทยานบัว เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาบัวสายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบึงสีไฟพิจิตร ภายในอุทยานบัวประกอบด้วย อาคารนิทรรศการบัว ๓ หลัง เป็นแหล่งรวบรวมและแสดงองค์ความรู้เกี่ยวกับบัวที่มีอยู่ในประเทศไทย และสายพันธุ์ของบัวภายในบึงสีไฟพิจิตร สวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย อีกทั้งภายในบริเวณสวนยังมีการรวบรวมบัวสายพันธุ์ต่างๆ มาปลูกไว้ในอ่างบัว ให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชม และยังมีหอคอยสูงสำาหรับชมวิวทิวทัศน์ของบึงสีไฟที่เป็นท้องน้ำและจะได้เห็นนกนานาชนิดที่อาศัยอยู่โดยรอบบริเวณบึงสีไฟ ซึ่งจะเป็นแหล่งศึกษาความงดงามทางธรรมชาติแห่งใหม่ของจังหวัดพิจิตรที่สามารถสร้างจุดสนใจแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย นอกจากนี้ยังมี สะพานชมบัวแดง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินไปตามสะพานที่สร้างยื่นเข้าไปในบึงสีไฟสำหรับชมบัวแดงที่ขึ้นได้อย่างใกล้ชิด

ศาลเจ้าแม่ทับทิมท่าฬ่อ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ทางด้านหลังใกล้ทางรถไฟสายเชียงใหม่-กรุงเทพฯ ภายในศาลมีองค์เจ้าแม่ทับทิม (ตุ้ยบ่วยเต่งเหนี่ยง) เป็นองค์ประธาน ด้านขวาเป็นที่ประทับของเจ้าพ่อกวนอู ด้านซ้ายเป็นที่ประทับของเจ้าพ่อปุ้นเถ่ากง และปุ้นเถ่าม่า ตามประวัติและหลักฐานที่ปรากฏอยู่พบว่าองค์เจ้าแม่ทับทิม และองค์เจ้าพ่อกวนอู ได้อัญเชิญมาจากเกาะไหหลำ มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ในราว พ.ศ. ๒๔๑๐ ในสมัยนั้นเจ้าของอู่ต่อเรือซึ่งตั้งถิ่นฐานทำการค้าอยู่ที่หมู่บ้านท่าฬ่อเป็นผู้อัญเชิญองค์เจ้าแม่ทับทิมมาจากประเทศจีน ได้บริจาคซุงไม้สัก จำนวน ๒ แพ เพื่อปลูกสร้างศาลขนาดใหญ่ถวายแด่องค์เจ้าแม่ทับทิม และเจ้าพ่อกวนอู ให้เป็นที่สักการะบูชาของชาวบ้านและผู้เลื่อมใสศรัทธาทั้งใกล้และไกล ยิ่งกว่านั้นศาลเจ้าแห่งนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ สอนหนังสือไทยและหนังสือจีน ให้แก่บุตรหลานในหมู่บ้านอีกด้วย นับตั้งแต่นั้นมาความเจริญทางด้านการค้าและการเติบโตของครอบครัวในหมู่บ้านก็มีมากขึ้นตามลำดับ หลักฐานตามประวัติ และถาวรวัตถุอันล้ำค่าของศาลเจ้าแห่งนี้ คือ เกี้ยวสำหรับประทับขององค์เจ้าแม่ที่ได้นำมาจากประเทศจีน เป็นเรือนไม้แกร่งแกะสลักทั้งหลังด้วยลายดอกไม้ และสัตว์ต่างๆ ตามแบบฉบับศิลปะของจีน วัตถุกายสิทธิ์ซึ่งเป็นเครื่องหมายประจำาเซียนทั้งแปด (โป๊ยป้อ) จำนวน ๒ ชุด (๑๖ อัน) นับเป็นวัตถุล้ำค่าซึ่งทำมาเฉพาะจากนครกวางเจาในสมัยนั้น ความศักดิ์สิทธิ์ และอภินิหารของเจ้าพ่อเจ้าแม่แห่งศาลเจ้าแม่ทับทิมท่าฬ่อ เป็นที่เลื่องลือกันมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกแล้ว ศิษยานุศิษย์ทั้งใกล้และไกลต่างก็ได้รับความสุขความเจริญ ปราศจากอันตรายอย่างทั่วถึงกันตราบเท่าทุกวันนี้

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๑ สายพิจิตร-สากเหล็ก เลี้ยวซ้ายเข้าซอยวัดวิจิตราราม ผ่านตลาดท่าฬ่อแล้วเลี้ยวซ้าย

วัดโรงช้าง ตำบลโรงช้าง อยู่ทางทิศใต้ของตัวเมือง วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพระยาโคตรบองขึ้นครองราชย์ สถานที่แห่งนี้เรียกว่า “กองช้าง” เพราะเป็นที่พักของกองช้าง ต่อมาได้เรียกกันเพี้ยนไปเป็น “คลองช้าง” จนกระทั่งทางราชการได้เปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่วัดนี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดโรงช้าง” บริเวณวัดโรงช้างมีพระพุทธรูปใหญ่อยู่กลางแจ้ง ๓ องค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปางห้ามญาติ และปางไสยาสน์ สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือ เจดีย์องค์ใหญ่สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๗ บริเวณรอบองค์เจดีย์มีตู้พระไตรปิฎก จำานวน ๑๐๘ ตู้ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญใส่ตู้เพื่อเป็นสิริมงคล และภายในองค์เจดีย์ได้สร้างเป็นห้องลับใต้ดินเพื่อใช้เก็บแผ่นอิฐจารึกพระไตรปิฎก จำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยได้เล็งเห็นและสันนิษฐานว่า ในอนาคตอาจมีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง เช่น สงครามนิวเคลียร์ซึ่งอาจทำให้พระไตรปิฏกสูญหายจากโลกได้

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๕ สายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก และทางหลวงหมายเลข ๑๐๖๘ หลักกิโลเมตรที่ ๕ อุทยานเมืองเก่าพิจิตร เป็นที่ตั้งของเมืองพิจิตรเก่า สร้างขึ้นในสมัยพระยาโคตรบอง เมื่อประมาณพ.ศ. ๑๖๐๑ ภายในบริเวณกำแพงเมืองมีพื้นที่ ๔๐๐ ไร่เศษ ประกอบด้วย ซากโบราณสถาน อาทิ กำแพงเมือง คูเมือง เจดีย์เก่า ฯลฯ มีสวนรุกขชาติกาญจนกุมาร ซึ่งกรมป่าไม้ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๕๒๐ ทำให้ภายในบริเวณอุทยานแห่งนี้มีต้นไม้ร่มรื่นหลายชนิดเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและยังมีสถานที่ที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ คือ

ศาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นอาคาร ๒ ชั้น คือ ด้านบนเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง ส่วนด้านล่างเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระยาโคตรบองซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “พ่อปู่

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำาน่านเก่า กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของวัดนี้เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๘ ประกอบด้วย พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงลังกา ภายในมีพระเครื่องชนิดต่างๆ ซึ่งได้ถูกลักลอบขุดค้นไป ด้านหน้าพระเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารเก้าห้อง ด้านหลังพระเจดีย์เป็นพระอุโบสถ มีใบเสมา ๔ มุม ส่วนหลังคาถูกต้นไม้ล้มทับหักลงมาโดนองค์พระ ปัจจุบันเหลือแต่ฐานอิฐสูง กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๔ บริเวณใต้เนินดินส่วนวิหารได้พบสิ่งก่อสร้าง ๒ ยุค คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา บริเวณโดยรอบพบเจดีย์รายจำานวนมากและแนวกำาแพงขนาดใหญ่

ถ้ำชาละวัน มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง ไกรทอง บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๒ ลักษณะเป็นช่องขุดลึกลงไปในดิน มีเรื่องเล่าว่า เมื่อประมาณ ๖๕ ปีมาแล้ว พระภิกษุวัดนครชุมรูปหนึ่งจุดเทียนไขเดินเข้าไปในถ้ำจนหมดเทียนหนึ่งเล่มก็ยังไม่ถึงก้นถ้ำ จึงไม่ทราบว่าภายในถ้ำชาละวัน จะสวยงามวิจิตรพิสดารเพียงใด ในปัจจุบันดินพังทลายทับถมถ้ำจนตื้นเขิน ทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันไว้ที่บริเวณปากถ้ำด้วย

เกาะศรีมาลา  มีลักษณะเป็นมูลดินคล้ายเกาะเล็กๆ อยู่กลางคูเมืองนอกกำแพงเก่า มีคูล้อมรอบเกาะแต่ตื้นเขิน สันนิษฐานจากลักษณะของคูเมืองและกำาแพงแล้ว เกาะศรีมาลาเดิมน่าจะเป็นป้อมหรือหอคอยรักษาการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะตั้งอยู่นอกเมืองและอยู่กลางคูเมือง

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๕ สายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก และทางหลวงหมายเลข ๑๐๖๘ หลักกิโลเมตรที่ ๖

วัดนครชุม

วัดนครชุม เป็นวัดที่สร้างในสมัยสุโขทัย มีอายุราว ๘๐๐ ปี ด้านตะวันออกมีพระอุโบสถเก่าแก่มาก ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน เครื่องบนเป็นไม้โดยใช้สลักไม้แทนตะปู มีช่องระบายลมแทนหน้าต่าง พระอุโบสถหลังนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชรก่อนอัญเชิญไปวัดท่าหลวง ปัจจุบันประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ก่ออิฐถือปูน ศิลปะสุโขทัยซึ่งเป็นพระประธานในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยก่อน

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๖๘ สายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก ประมาณหลักกิโลเมตรที่ ๙

วัดหัวดง

วัดหัวดง หมู่ที่ ๗ ตำบลหัวดง สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๔๑๓ ผูกพัทธสีมาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ มีพื้นที่ ๔๐ ไร่ สิ่งที่น่าสนใจ คือ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้พบพระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ นิ้ว เนื้อนวโลหะ(ทองเหลือง) แทรกขึ้นมาที่ต้นอินทนิลซึ่งมีอายุประมาณ ๒๐ ปีเศษ หลวงพ่อเงินเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมีประชาชนเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายพิจิตร-ตะพานหิน ห่างจากตัวเมืองพิจิตรไปทางตอนใต้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร

วัดเขารูปช้าง ตำบลดงป่าคำ มีเจดีย์แบบลังกาซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่มีหินสีขาวซ้อนกันมองดูคล้ายช้าง แต่เดิมเป็นเจดีย์เก่ามาก่อน และทางวัดได้ทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อประมาณ ๒๐ ปี โดยประดับกระเบื้องเคลือบสีทองทั้งองค์ มีรั้วรอบองค์เจดีย์ ที่บริเวณลานกว้างบนยอดเขาทางวัดได้สร้างวิหารใหญ่ขึ้นหลังหนึ่งและมีเจดีย์เก่าอยู่องค์หนึ่งเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา มีตัวระฆังเป็นกลีบมะเฟืองแต่ยอดเจดีย์หักแล้ว นอกจากนั้นยังมีมณฑปแบบจตุรมุขหลังเก่าอยู่ใกล้กับโบสถ์หลังใหม่ ภายในมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์และที่ฝาผนังมีภาพเขียนเรื่องไตรภูมิพระร่วง

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายพิจิตร-ตะพานหิน ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *