Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

เที่ยวอุทยานแห่งชาติแม่เมย และแหล่งท่องเที่ยวอำเภอท่าสองยาง ตาก
เที่ยวอุทยานแห่งชาติแม่เมย และแหล่งท่องเที่ยวอำเภอท่าสองยาง ตาก

เที่ยวอุทยานแห่งชาติแม่เมย และแหล่งท่องเที่ยวอำเภอท่าสองยาง ตาก

เป็นอำเภอชายแดนติดกับสหภาพพม่า ริมแม่นํ้าเมย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขาสูงชันตามแนวเทือกเขาถนนธงชัย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพื้นราบ ประกอบอาชีพทำไร่ ระยะทางจากอำเภอแม่สอด-อำเภอท่าสองยาง ประมาณ ๘๔ กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอเมืองตากถึงอำเภอท่าสองยางประมาณ ๑๖๙ กิโลเมตร

หลวงพ่อครูบาสร้อย ขันติสาโร วัดมงคลคีรีเขตร์ เกิดวันจันทร์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๗๒ ตรงกับวันขึ้น ๗ คํ่า เดือน ๑๐ ปีมะเส็ง ตำบลละหานทราย อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อได้ ๗ ขวบ โยมบิดา โยมมารดาถึงแก่กรรมท่านจึงอยู่ในความดูแลของคุณยาย ในวัยเด็กท่านมีโอกาสถวายนํ้าตาลแด่พระธุดงค์ และพระธุดงค์รูปนั้นได้กล่าวกับท่านว่าเมื่อโตขึ้นให้บวช จนกระทั้งท่านเรียนจบประถม ๔ คุณยายจึงพาไปบวชเณรที่วัดชุมพรใกล้บ้าน มีหลวงพ่อมั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้เล่าเรียนการบริกรรมด้วยการตกลูกประคำ เพื่อฝึกสมาธิจนมีจิตใจมั่นคงดีแล้ว หลวงพ่อมั่นจึงสอนอาคมต่างๆ ควบคู่กับการปฏิบัติสมาธิ และออกธุดงค์รุกขมูลไปยังสถานที่ต่างๆ จนล่วงได้อายุ ๒๒ ปี จึงอุปสมบท มีหลวงพ่อมั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อสุข เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อสุต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ขันติสาโร หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้กราบลาหลวงพ่อมั่น เพื่อไปฝึกปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงพ่อสุข และวิชาต่างๆ ที่สำคัญ คือ การตรวจดูบุญวาสนา และเวรกรรมของผู้ป่วย เพื่อช่วยในการรักษาโรคต่างๆ ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงพ่อสร้อยได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และจำพรรษาที่วัดมหาธาตุ ศึกษาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ถึง ๗ เดือน จึงลาพระอาจารย์ชาดกกลับไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดกลางนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พอออกพรรษาท่าน ได้ลํ่าลาญาติโยมเพื่อออกรุกขมูลไปตามสถานที่ต่างๆ จนถึงนครพนมและข้ามไปฝั่งลาวกลับมามุกดาหาร เข้าสู่เทือกเขาภูพาน ในเขตสกลนคร ช่วงนั้นท่านเดินหลงป่ามาทะลุที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จนกระทั้งถึงดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ท่านได้พบกับหลวงปู่แหวน และได้ศึกษาข้อธรรมต่างๆ ระยะหนึ่งจึงกราบลาหลวงปู่แหวน ออกรุกขมูลต่อ ไปจนถึงอำเภอแม่สะเรียงโดยจำพรรษาที่วัดศรีบุญเรือง พอออกพรรษา ท่านทราบจากญาติโยมว่ามีวัดร้างที่ท่าสองยาง ท่านจึงคิดจะไปอยู่เพื่อปฏิบัติธรรม ในสมัยนั้นการเดินทางลำบากมาก เมื่อเดินทางมาถึงชาวบ้านต่างดีใจที่ได้พบพระสงฆ์ จึงช่วยสร้างกุฎิมุงด้วยใบตองตึงให้ท่านจำพรรษา จนล่วงมาถึงพ.ศ. ๒๕๐๓ หลังฉันอาหารเช้า ท่านเกิดอาการครั่นเนื้อครั่นตัวจึงไปพักผ่อน ปรากฏว่าวิญญาณท่านได้ออกจากร่างเป็นครั้งที่ ๒ แต่เพียง ๑ วัน ท่านก็ฟื้น ต่อมาในพ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านจึงได้สร้างวัดเพื่อให้ถูกต้องมีวิสุงคามวาสี เหมือนกับเทวดาที่รักษาวัดจะทราบเรื่องราว คืนนั้นในสมาธิเทวดาซึ่งเป็นเจ้าที่ได้มาปรากฏและถามท่านถึงความต้องการ ท่านจึงบอกไปว่าจะทำการบูรณะปรับปรุงวัดให้ดีขึ้น ช่วงกำลังก่อสร้างมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๖ จึงสร้างเสร็จ ท่านเป็นพระที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับชาวบ้านและลูกศิษย์อย่างมากมาย จนถึงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๑ เวลา ๐๗.๑๙ น. ท่านได้หยุดดับธาตุขันธ์ เมื่ออายุ ๖๙ ปี ทิ้งเหลือไว้แต่คุณงาม ความดีที่ยังคงประทับในหัวใจของลูกศิษย์เสมอมา ถึงแม้ท่านจะดับขันธ์ไปแล้วปัจจุบันร่างของท่านก็ไม่เน่าเปื่อย นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไป กราบนมัสการขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลได้ทุกวัน

อุทยานแห่งชาติแม่เมย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลแม่อุสุ และตำบลแม่สอง มีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนสหภาพพม่าโดยมีแม่นํ้าเมยเป็นเส้นแบ่งเขตแดน บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีการจัดภูมิทัศน์ และตกแต่งพื้นที่ด้วยไม้ดอกไม้ประดับบรรยากาศโดยรอบสงบร่มรื่นด้วยป่าเขา และยังมีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น กวาง ละมั่ง เป็นต้น

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ใช้เวลาเดินประมาณ ๖ ชั่วโมง ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทางโดยติดต่อล่วงหน้าที่อุทยานฯ เป็นเส้นทางเดินแบบไปเช้า-เย็นกลับ หรือจะพักแรมก็ได้ เส้นทางเดินเท้าขึ้น-ลงเขาไม่ชันมาก เดินเลียบลำนํ้าขึ้นไปผ่านนํ้าตกเล็กๆ บางช่วงต้องปีนบันไดไม้ไผ่ที่สร้างขนานไปกับนํ้าตก หากมาในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะพบดอกไม้ป่านานาชนิดหลากสีสันบาน อยู่ริมทางเดินหรือริมนํ้าตก เช่น ดอกกระทือสีแดง ดอกบัวตองสีเหลือง บานเป็นกอชวนสะดุดตาตัดกับผืนป่าสีเขียว บางดอกซ่อนตัวอยู่กับพรมมอสสีเขียวเข้ม

นํ้าตกผาเทวะ เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะได้พบในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และเปน็ น้ำตกที่เดน่ ที่สุดในอุทยานฯ มีความสูง ๑๕๐ เมตร เวลาที่อยู่ใกล้ๆ จะมองเห็นสายนํ้าทิ้งตัวลงจากหน้าผาสูงส่งผลให้สายนํ้าไหลลงกระทบโขดหินเป็นละอองนํ้า และไหลลงสู่แอ่งนํ้าเบื้องล่าง ทำให้ผืนป่ารอบๆ บริเวณชุ่มชื้นและฉํ่าเย็นด้วยละอองของนํ้าที่กระจายไปทั่วบริเวณความสวยงามของนํ้าตกผาเทวะที่ไหลลงสู่เบื้องล่างยังสามารถมองเห็นได้จากอีกยอดเขาหนึ่งเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาจะพบ ทุ่งหญ้า นิรนาม เป็นทุ่งหญ้า และหุบเขาสามารถพักแรมได้ และต้องเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างไปเอง เช่น ไฟฉาย นํ้า อาหารเครื่องนอน ทุ่งหญ้ามีทิวทัศน์สวยงาม และบรรยากาศเย็นสบาย ตอนเช้า หากฟ้าเปิดจะมองเห็นทะเลหมอกสีขาวที่สวยงามมาก ใกล้ๆ บริเวณจะพบหลุมขุดแร่เป็นระยะๆ เพราะที่นี่เคยเป็นพื้นที่สัมปทานเหมืองแร่มาก่อน และบริเวณกลางป่ามีเจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิของหญิงสาวที่มาผูกคอตาย เพราะผิดหวังในความรัก ทางอุทยานฯ ได้จัดเป็นเส้นทางเดินป่า “เล่นน้ำตกผาเทวะ พักแรมทุ่งหญ้านิรนาม ชมทะเลหมอก” ซึ่งนักท่องเที่ยวต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางก่อนทุกครั้ง

นํ้าตกแม่สลิดน้อย เป็นนํ้าตกสำหรับผู้ที่รักการเดินป่า เพราะต้องเดินจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมยประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นนํ้าตกขนาดกลาง และเป็นต้นนํ้าของลำห้วย แม่สลิดน้อยเกโก ที่ไหลผ่านที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย เป็นชั้นๆ เรื่อยไปจนถึงชั้นสูงสุด อุทยานฯ ได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเดินท่องธรรมชาติฟังเสียงสายนํ้า และศึกษาพรรณไม้นานาชนิด ระหว่างเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ มีนํ้าตกขนาดเล็กมากมายให้ได้ชม

นํ้าตกชาวดอย เป็นนํ้าตกขนาดกลาง ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ตามถนนแม่สลิด-แม่ระเมิง ประมาณ ๕ กิโลเมตร นํ้าตกอยู่ห่างจากถนนประมาณ ๕๐๐ เมตร กิจกรรม: เที่ยวนํ้าตก ชมทิวทัศน์ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

ถํ้าแม่อุสุ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าสองยางไปทางเหนือประมาณ ๑๒ กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ สายแม่สอด-แม่สะเรียง เลยกิโลเมตรที่ ๙๔ ไปเล็กน้อย จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร การเดินทางเข้าไปชมถํ้าจะต้องเดินลุยไปตามลำห้วยแม่อุสุ ช่วงฤดูฝนเข้าชมถํ้าไม่ได้เนื่องจากระดับนํ้าในลำธารจะสูงมาก ภายในถํ้ากว้างใหญ่ เพดานสูง อากาศโปร่ง มีหินงอก หินย้อยรูปร่างต่างๆ แปลกตาสวยงามมาก ทางด้านทิศตะวันตกของตัวถํ้าจะพบโพรงหิน ขนาดใหญ่ ในช่วงบ่ายจะปรากฎความสว่างเหมือนมีลำแสงของสปอตไลท์ส่องเข้ามา ทำให้ถํ้าดูสวยงามอย่างยิ่งเปรียบเสมือนเป็นฉากหนึ่งแห่งโรงละครใต้พิภพ ทางเดินไม่ลำบาก หากปีนขึ้นไปจนทะลุโพรงหินจะยิ่งสวยงาม เมื่อเดินเข้าไปในถํ้าสักระยะหนึ่งแล้ว หันกลับมาดูทางเข้าจะเห็นลำห้วยที่ไหลคดเคี้ยวออกจากถํ้าที่มืดไหลไปสู่ปากถํ้าที่สว่าง และบริเวณด้านหลังเป็นทุ่งหญ้าสีเขียวสวยงาม

จุดชมทะเลหมอกภายในอุทยานแห่งชาติแม่เมย มี จุด ดังนี้

จุดชมทะเลหมอกหลังที่ทำการอุทยานฯ มีความสูงประมาณ ๑,๑๐๐ เมตร เป็นจุดที่ชมทะเลหมอกได้กว้างไกลและชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก จุดนี้เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินป่าเพราะต้องเดินทางเข้าไป ๓-๔ ชั่วโมง และต้องพักแรม ๑ คืน เพื่อชมทิวทัศน์ที่สวยงาม

ม่อนครูบาใสและม่อนพูนสุดา อยู่ห่างกันประมาณ ๒๐๐ เมตร สามารถชมทะเลหมอกยามเช้า และพระอาทิตย์ตกดินอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๗ กิโลเมตร

ม่อนกิ่วลม เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวมากที่สุดเพื่อดูพระอาทิตย์ยามเช้าเหนือทะเลหมอก ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๑๔ กิโลเมตร อัตราค่าเข้าอุทยานฯ ชาวไทย เด็ก ๒๐ บาท ผู้ใหญ่ ๔๐ บาท ชาวต่างชาติ เด็ก ๒๐๐ บาท ผู้ใหญ่ ๔๐๐ บาท รถยนต์ ๔ ล้อ ๓๐ บาท (ไม่รวมคนขับ)

สถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีบริการบ้านพัก จำนวน ๓ หลัง ราคา ๑,๐๐๐ บาท หากต้องการให้อุทยานฯ บริการอาหารต้องแจ้งล่วงหน้า ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติแม่เมย อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ๖๓๑๕๐ โทร. ๐ ๕๕๕๗ ๗๔๐๙, ๐ ๕๕๕๗ ๖๔๕๒-๓ หรือกรมอุทยานแห่งชาติฯ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐-๒ www.dnp.go.th

การเดินทาง จากตัวเมืองตากใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ สายแม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง ระยะทางประมาณ ๑๑๔ กิโลเมตร เลี้ยวขวามือ ที่จุดตรวจแมส่ ลิดเปน็ ทางที่ตัดไปสู่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่เป็นทางขึ้นเขาไปอีกประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ ทางขึ้นเขาเป็นทางชันรถบัสใหญ่ไม่สามารถขึ้นได้ หรือนั่งรถสองแถวประจำทางจากแม่สอดไปบ้านแม่สลิดหลวง หลังจากนั้นต้องเหมารถต่อไปที่ทำการอุทยานฯ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *