Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

ยามเย็นที่บ้านศรีรายายามเย็นที่บ้านศรีรายา
ยามเย็นที่บ้านศรีรายา
ยามเย็นที่บ้านศรีรายา

จะออกเรือไปจนสุดขอบฟ้า

หลังออกจากตัวเมืองกระบี่มาไม่นาน ถนนราบเรียบทอดยาวพาเราผ่านบ้านร่าหมาด และมาสิ้นสุดปลายทางที่บ้านขุนสมุทร

ว่ากันตามจริง การเดินทางไปเกาะลันตาคนส่วนใหญ่มักเลือกเดินทางด้วยแพขนานยนต์ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่บางครั้งแง่งามที่พบเห็นระหว่างการเดินทางอาจตกหล่นสูญหาย การล่องเรือไปยังเกาะลันตาดูจะเป็นหนทางที่ทำให้เราสามารถเก็บเกี่ยวภาพงามทางตาได้อย่างลึกซึ้งและเข้าถึงมากกว่า

ยามเช้าที่ท่าเรือขุนสมุทร คล้ายโลกยังไม่ตื่นจากการหลับไหล

ล่องเรือหัวโทงไปเกาะลันตา
ล่องเรือหัวโทงไปเกาะลันตา

เรือหัวโทงหลายลำลอยเรียงรายอยู่เหนือผิวน้ำ ใกล้กันมีกระชังปลาให้เห็นเป็นหย่อมๆ ภาพตรงหน้านั้นช่างสงบงาม

เสียงเครื่องยนต์เรือเริ่มแว่วดังเข้ามาใกล้ๆ สักพักเรือหัวโทงลำใหญ่มีหลังคาคลุมกันร้อนก็มาเที่ยบท่า ก่อนพาเราล่องเรื่อยผ่านป่าโกงกางที่แผ่กิ่งก้านอวดใบเขียวเป็นมันแน่นขนัดสองฟากผั่งออกสู่ท้องน้ำกว้างสุดลูกหูลูกตา

“ข้ามแพมันสะดวก แต่ก็ไม่ได้เห็นอะไรมากมายเท่ากับล่องเรือข้าไป ถ้ไม่รีบร้อนไปเรือดีกว่า” พี่มนต์คนขับเรือใจดีชวนเราคุย พร้อมชี้ชวนให้ดูเกาะต่างๆ ระหว่างทาง

“นั่นเกาะเปรว คนอิสลามเขาใช้ฝังศพกัน นั่นเขาร่าปู ที่เขาว่ามีสมบัติซ่อนไว้”

เรือค่อยๆ เคลื่อนผ่านผืนน้ำใสไปเรื่อยๆ บางช่วงก็โยกโยนตามแรงคลื่น ระหว่างทางเราเห็นเรือหัวโทงลำเล็กอีกลำจอดนิ่งเหนือผิวน้ำ ชายผิวคล้ำเข้มสวมหน้ากากดำน้ำดำผุดดำว่ายคล้ายกำลังหาบางสิ่ง

“เขางมหอยชักตีนครับ แถวนี้น้ำไม่ลึกมาก” พี่มนต์ว่าพร้อมจอดเรือเทียบกับเรือลำเล็กนั้น

หญิงสาวที่อยู่ในเรือหยิบถังใบใหญ่ให้ดู ในถังออแน่นด้วยหอยชักตีนหลายสิบตัว ซึ่งอีกไม่นานมันจะถูกส่งไปเป็นจานเด็ดตามร้านรวงในตัวเมืองกระบี่

การงมหอยถือเป็นวิถีประมงแบบดั้งเดิม ไม่ทำร้ายระบบนิเวศจนเกินไป และแต่ละวันจะหาหอยได้พอประมาณเท่านั้น

เวลาผ่านไปไม่นานนัก เขาหินปูนรูปร่างแปลกตาก็ปรากฏตรงหน้า เกาะกอริลลา ใครผ่านไปมาเป็นต้องเดาได้ ด้วยโค้งหลืบของเนื้อหินเว้โหว่คล้ายกับกะโหลกหน้าของลิงกอริลลาอย่างไรอย่างนั้น หากพายเรือคายักมาที่เกาะนี้สามารถเดินขึ้นไปเที่ยวชมโถงถ้ำบนเกาะใต้น้ำ แต่ควรมีคนนำทาง

นักท่องเที่ยวพายเรือคายัก
นักท่องเที่ยวพายเรือคายัก

จากเกาะกอริลลามาไม่ไกล เราสวนทางกับคายักสีสดของนักท่องเที่ยวที่ออกแรงพายฝ่าแรงลมและกระแสคลื่นอย่างแข็งขันหน้าเกาะตะละเบ็ง เกาะหินปูนที่มีหาดทรายเล็กๆ และโพรงถ้ำที่ยามน้ำลดจะสามารถเข้าไปเที่ยวภายในได้ จากจุดนั้นเรือยังคงแล่นเรื่อยต่อไปจนถึงเกาะสนกลาง เกาะเล็กๆ แต่สะดุดตาแต่ไกลด้วยกลุ่มสนที่ตั้งต้นสูงยาวพลิ้วไหวไปกับแรงลม ล้อมรอบด้านหาดทรายสีขาวกระจ่างตาตัดกับน้ำสีเขียววอมฟ้า ทรายบนเกาะนี้ละเอียดนุ่มเนียนเท้า ทว่าร้อนระอุเพราะอิ่มแดดแรงมาครึ่งค่อนวันจนทำให้พวกเราต้องเดินกึ่งวิ่งกันรอบเกาะ

พี่มนต์มาส่งเราที่ท่าเรือศาลาด่าน ด่านแรกของการใช้ชีวิตติดเกาะลันตาที่คึกคักและครึกครื้นด้วยนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติเป็นแหล่งรวมของร้านรวงต่างๆ ทั้งที่กิน ที่พัก จุดเช่ารถมอเตอร์ไซค์ ร้านขายแพ็กเกจทัวร์จากลันตาไปเกาะต่างๆ

พี่โอ๊ะ ธีรพจน์ กษิรวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตามารอรับเราไปส่งที่ฝั่งตะวันออกของเกาะ พร้อมบอกเล่าเรื่องราวความเป็นไปของเกาะลันตาให้ฟังอย่างคร่าวๆ ทำให้เราพอนึกภาพวิถีชีวิตของผู้คนและนิยามการท่องเที่ยวของเกาะลันตาได้อย่างชัดเจนขึ้น

เราทิ้งความคึกคักของชายหาดฝั่งตะวันตกไว้เบื้องหลัง แล้วมุ่งหน้าลัดเลาะไปเป็นชาวเกาะฝั่งตะวันออก เพียงเพราะว่าอยากเห็นย่านเก่าของลันตาในมุมสงบงามทว่าเปี่ยมด้วยสีสันจากอดีตสู่ปัจจุบัน ย่านเก่าที่ยังคงมีชีวิต

ศรีรายา ร่องรอยวันเวลาในบ้านไม้

แดดเช้ายังไม่ทันทอแสง

เรือนไม้สองฟากฝั่งถนนสายเล็กๆ ดูขริมขลังในแสงสลัวจากโคมไฟตะเกียงบนยอดเสาไฟฟ้า

ประภาคารจำลอง
ประภาคารจำลอง

ศรีรายายามนี้ดูสงบงัน ท่าเรือเทศบาลร้างไร้นักท่องเที่ยว มีเพียงเรือโดยสารบางลำที่ทอดตัวเนิบนิ่งบนท้องน้ำ สะพานปูนที่พาดผ่านระหว่างท่าเรือกับแผ่นดินบนฝั่งแห่งนี้เคยถูกกระแสคลื่นจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อหลายปีก่อนซัดสาดจนพังทลาย ก่อนก่อร่างขึ้นใหม่พร้อมกับความทรงจำที่ไม่เคยจางหาย ใกล้กันกับท่าเรือเทศบาลมีประภาคารจำลองสีอิฐตั้งเด่นตระหง่านริมทะเล หากไต่ตามบันไดขึ้นไป ภาพมุมสูงของชุมชนเก่าศรีรายาในโอบกอดของทะเลนั้นงดงามชวนมอง

ตรงหัวมุมถนนวิถึชีวิตยามเข้าเริ่มดำเนิน

ไก่ทอดร้อนๆ ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ ปาท่องโก๋ใส่ไก่หน้าตาแปลก คือมื้อเข้าง่ายๆ แต่แฝงไว้ด้วยภาพชีวิตของคนที่นี่

“มาจากที่ไหนกันล่ะ” คุณลุงคนนึ่งทักทายด้วยความเอ็นดูราวกับคนต่างถิ่นอย่างเราคล้ายลูกหลานญาติมิตรยามเมื่อเดินผ่านหน้าบ้าน คำเพียงไม่กี่คำ หรือประโยคแสนสั้นนั้น เจือปนด้วยความอบอุ่นมากล้นมิตรไมตรีจนสามารถละลายเส้นกั้นบางๆ ของการเป็นคนแปลกหน้าให้จางหาย

แดดสายทาบทาบนเรือนไม้เก่าแก่ คนพื้นถิ่นต่างเรียกขานบ้านเรือนย่านนี้ว่า “บ้านยาว” ตามลักษณะการวางตัวเรือนทอดยาวลงไปในท้องทะเล บ้างก็เรียกว่า “ลันตาเมืองเก่า” (Lanta Old Town) ตามความรุ่งเรืองในอดีตในฐานะที่เป็นเมืองท่าเก่า เป็นศูนย์รวมความเจริญในวันก่อน

แง่มามของบ้านเรือนในย่านนี้ไม่ได้มีเพียงความเก่าแก่ตามที่ตาเห็น แต่มันยังสะท้อนตัวตน ค่านิยมของคนในสมัยนั้น บ้านไม้ 2 ชั้น ชั้นบนมีส่วนที่ยื่นออกจากตัวบ้านคล้ายระเบียงไว้ให้คนเดินลอดผ่านด้านล่างได้เรียกว่า “หง่อคากี่” ซึ่งเชื่อมต่อบ้านทุกหลังไว้ด้วยกัน ทำให้คนผ่านทางได้หลบร้อน หลบฝน ช่องลมเหนือบานประตูฉลุสลักเสลาลวดลายละเอียดลออบนเนื้อไม้ฉายชัดภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน มากกว่าความงามคือการปรับอุณหภูมิภายในบ้านให้ปลอดโปร่งเย็นสบายโดยไม่ต้องพิ่งพาเครื่องปรับอากาศเหมือนทุกวันนี้

พิพิธภัณฑ์ชุมชนเกาะลันตา
พิพิธภัณฑ์ชุมชนเกาะลันตา

บ้านเก่าบางหลังปรับแปลงตัวเองกลายเป็นเกสต์เฉาส์มีสไตส์ตกแต่งแนวโมเดิร์นแต่ยังคงกลิ่นอายอดีต บ้างก็เปิดเป็นร้านกาแฟเล็กๆ มีผลงานศิลปะให้เดินชมเพลินๆ บางบ้านชายสูงวัยค่อยๆ จัดเรืองผลไม้หลากชนิดรอนักท่องเที่ยวผ่านมาดับกระหายด้วยน้ำผลไม่เย็นชื่น

“ส่วนใหญ่คนที่อยู่ย่านนี้มีเชื้อสายจีนครับ” พี่โอ๊ะเล่าให้ฟัง

ศาลเจ้าสามต่องอ๋อง คือหลักฐานขี้ชัดถึงรากเหง้าของผู้คนที่นี่ หรือหากมองลึกเข้าไปในบ้านแทบทุกหลังจะเป็นศาลพระแบบนีนพร้อมเครื่องสักการะตั้งอยู่

มาถึงย่านเก่าหากอยากรู้เรื่องราวพื้นเพดั้งเดิมของผู้คนบนเกาะบันตาไม่ควรพลาดชม พิพิธภัณฑ์ชุมชนชาวเกาะลันตา เดิมคืออาคารที่ว่าการอำเภอหลังเก่าอายุนับร้อยปี แม้ว่าเวลาล่วงเลยแต่ตัวอาคารยังคงความงามของเรือนไม้โบราณค่อนข้างสมบูรณ์ หลังจากย้ายที่ว่าการอำเภอเกาะลันตาไปอยู่ที่เกาะลันตาน้อย อาคารแห่งนี้จึงถูกปรับปรุงก่อนเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ความเป็นมาของวิถีชีวิตคนบนเกาะลันตาในอดีต

ตัวอาคารไม้ฉาบทาสีเทาอ่อน ร่มครึ้มด้วยกิ่งก้านของจำปีต้นสูงใหญ่ที่ผลิดอกหอมเย็นพราวต้น เมื่อเดินขึ้นไปยังชั้นบนจะพบกับ “เรือปลาจั๊ก” จำลอง ที่สะท้อนให้เห็นถึงพิธีกรรมและความเชื่อของชาวเลเกี่ยวกับประเพณีชีวิตอย่างพิธีลอยเรือที่จัดขึ้นทุก 6 เดือน เพื่อให้เรือปลาจีกล่องลอยไปสู่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของบรรพบุรุษที่เรียกว่า “ฆูนุงฌึรัย” อันไกลโพ้น

ใกล้กันจำลองภาพบ้านของชาวมุสลิม ข้างฝาเรียงรายด้วยรูปภาพมีหิ้งวางพระคัมภีร์ รวมถึงจัดแสดงเสื้อผ้า กรงนก ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ชาวมุสลิมใช้ในชีวิตประจำวัน อีกห้องจัดแสดงวิถีขีวิตของชาวจีนที่ตั้งรกรากในศรีรายา

เราเดินจากชั้นบนลงชั้นล่าง ก็พบกับทางเดินเล็กๆ ผ่านป่าโกงกางจำลอง ท้ายห้องจำลองเตาเผาถ่านโบราณขนาดใหญ่ หนึ่งในสินค้าชั้นดีของลันตาในอดีตที่ส่งออกไปขายไกลถึงปีนัง

“เตาเผาถ่านโบราณมีขนาดสูงมากครับ ย่านเผาถ่านจะอยู่แถบป่าโกงกาง เพราะเราใช้ไม้โกงกางทำถ่าน ถ่านที่ได้มีคุณภาพดีมาก ไหม้ช้าและให้ไฟแรง” อาจารย์ทรงธรรม เทพศรีบุญญา ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์เล่าให้ฟัง ใบหน้าคมเข้มเปื้อนยิ้มจางๆ

“สมัยก่อนเราใช้ข้าวของนำเข้าจากปีนังและสิงคโปร์เยอะมากสังกะสีเก่าๆ เห็นสนิมเกรอะกรังแบบนี้ แต่เนื้อในไม่มีกร่อนเลยนะครับ” อาจารย์เล่าให้ฟังต่อ ทำให้เราพอจะนึกภาพการซื้อขายแลกเปลี่ยนในวันที่ศรีรายายังเป็นเมืองท่าที่คลาคล่ำค้วยเรือสำเภาเข้าออกอย่างไม่ว่างเว้น

เป็นเรื่องจริงที่หลายสิ่งในศรีรายาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะการหมุนของโลก แต่เสน่ห์ในเนื้อไม่ไม่เคยหายสูญยามเมื่อนึกถึง

ล่องเรือชมป่าโกงกาง
ล่องเรือชมป่าโกงกาง

ทุ่งหยีเพ็ง สงงามตามวิถีมุสลิมริเล

ทางสายเดิมพาดผ่านตามความโค้งและสูงชันไล่ระดับของเนินเขา

มัสยิดสีเขียวอ่อนวางตัวสงบงามย่านบ้านทุ่งหยีเพ้ง ชุมชนมุสลิมผู้ที่มีหัวใจอนุรักษ์

ไม่ไกลกันหญิงสาวคลุกฮิญาบสีเข้มสวมงอบทับอีกชั้นกันแสงแดดแผดจ้า เธอบรรจงเกลี่ยก้อนกะปิให้โดนแดดทั่วร้านไม้ไผ่ที่ทอดยาวกลางลานกว้าง

“เราทำกะปิมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย แต่ก่อนทำกันหลายบ้าน แต่ตอนนี้เหลือที่นี่ที่เดียว” พี่ห่าลี่ย๊ะ สายนุ้ย ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งหยีเพ็ง เล่าถึงที่มาของกะปิชื่อดัง

“ถ้าใช้กุ้งทำมันจะมีรสหวาน แต่ถ้าใช้เคยทำสีมันจะคล้ำ เรากินอย่างไร เราก็ทำขายอย่างนั้น” เธอว่าสิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงความอร่อย แต่ในรสชาติหอมชวนน้ำลายสอก็ลอยมาเตะจมูก

พี่ห่าลี่ย๊ะ พาเราเดินข้ามไปที่อีกฝั่งของถนน

ใต้ร่มเงาของยางสูงโปร่งที่ตอนนี้ผลิใบอ่อนสีเขียวละมุนตาตัดกับท้องฟ้าครามเข้ม

ควันไฟคุกรุ่นลอยเคว้ง

เม็ดมะม่วงหิมพานต์เพิ่งผ่านการคั่วไฟแบบโบราณ
เม็ดมะม่วงหิมพานต์เพิ่งผ่านการคั่วไฟแบบโบราณ

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบถูกเทใส่ถาดเหล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อนลากไปวางเหนือเตาไฟ ภาพีทีเห็นคือวิธีการคั่วเม็ดมะม่วงหิมพานต์แบบโบราณที่หลายคนอาจไม่รู้จัก

เมื่อควันไฟเริ่มลอยคละเคล้ากับเม็มะม่วงหิมพานต์ คนคั่วก็จะใช้พลั่วตักเกลี่ยให้โดนความร้อนทั่วกัน คั่วไปได้สักพักไฟก็จะลุกโชนท่วมถาดเพราะยางในเม็ดไหลซืมออกมา หลังจากคั่วเสร็จเราได้ลองกะเทาะเปลือกที่ไหม้ไฟจนดำเมี่ยมด้วยไม้ท่อนเล็กๆ หนึ่งท่อน ทำให้รู้เลยว่าความพอดีเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเราออกแพงทุบมากไป เม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ได้จะแตกหักไม่สวย ถ้าออกแรงเบาไปก็กะเทาะไม่ออก หรือถ้าแต่เหม่อก็จะทุบโดนมือให้ได้ร้องโดอโอย

นาทีนั้นรู้เลยว่ากว่าจะกลายมาเป็นเม็ดมะม่วงหิมพานต์แสนอร่อยนั้น มันต้องใช้ความสามารถแค่ไหน ที่สำคัญ หากใครได้ลองชิมเม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่วร้อนๆ หอมมัน รับรองว่าอร่อยจนลืมเม็ดะม่วงหิมพานต์ในซองสำเร็จที่เคยกินอย่างแน่นอน

เยื้องๆ กันกับเตาคั่วเม็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นศูนย์เรียนรู้วิถีข้าว

ในอาคารไม้เปิดโล่งจัดวางครกกระเดื่องทั้งแบบธรรมดาและแบบใช้แรงเท้าเหยียบ ยุ้งข้าว เครื่องสีข้าว โม่หินใช้ทำแป้งจากข้าว ฯลฯ

“คนสมัยก่อนเขาจีบกันก็ตอนตำข้าวนี่ล่ะ ตำไปคุยไป” ไม่พูดเปล่า แต่พี่ชายคนนั้นยังสาธิตการตำข้าวให้ดูถึงรู้ว่าจังหวะที่พอดีกันเป็นเรื่องสำคัญ

“เราอยากให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามามีกิจกรรมให้ได้ทำเพลินๆ มาเที่ยวทั้งทีน่าจะได้ความรู้กลับไป อีกอย่างเราตั้งใจจะทำขนมจีนเส้นสดขายอยู่แล้ว เลยเอวิธีการทำแบบดั้งเดิมมาให้ได้เรียนรู้กันทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ตำข้าวเลย” หนึ่งในสมาชิกชุมชนบ้านทุ่งหยีเพ็งบอกกับเราอย่างนั้นนับเป็นจุดขายที่น่าสนใจมากทีเดียว

จากศูนย์เรียนรู้วิถีช้าวเรามุ่งหน้าเข้าสู่ป่าชายเลนบ้านทุ่งหยีเพ็ง

“เดิมป่าชายเลนแถบนี้ไม่สมบูรณ์แบบนี้ แต่เพราะชาวบ้านช่วยกันดูแลป่า อนุรักษ์ป่าให้เป็นป่าของชุมชน เราจึงมีป่าที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น” พี่นัท นราธร หงษ์ทอง ประธานท่องเที่ยวชุมชนทุ่งหยีเพ็งเล่าให้ฟังถึงความแข็งขันในการอนุรักษ์ผืนป่าโกงกางที่เป็นบ้านของพวกเขา

ที่ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านทุ่งหยีเพ็ง มีจุดลงเรือคายักพายล่องออกจากคลองไปสู่เกาะต่างๆ ได้ ถ้าไม่ถนัดพายก็ลองล่องเรือหัวโทงชมป่าโกงกาง หรือไม่ก็เดินเที่ยวชมทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนบ้านทุ่งหยีเพ็ง

ทางเดินไม้พาเราลัดเลาะใต้ร่มเงาของตะบูนดำที่ว่ากันว่ายามผลัดใบจะกลายเป็นสีแดงทั่วทั้งป่า  เราเดินไปเรื่อยๆ อย่างไม่รีบเร่ง บางช่วงหยุดมองพื้นเลนด้านล่าง

ปูก้ามดาบตัวสีฟ้าสดทำตัวนิ่งเหมือนกำลังพักผ่อนหลบลมร้อนขณะที่ปลาตีนแก้มยุ้ยก็โผล่พรวดจากแอ่งน้ำแล้วไถตัวเล่นบนขี้เลนนุ่มเย็นช้าๆ การเดินชมป่าโกงกางจึงไม่ควรส่งเสียงดัง และให้เป็นคนช่างสังเกตจึงจะเห็นสีสันของสรรพชีวิตรายรอบได้ไม่ยาก

โต๊ะบาหลิว ชาวเลบนผืนแผ่นดิน

เราย้อนกลับไปที่ศาลาด่านอีกครั้ง เมื่อรู้ว่าท่ามกลางสีสันของการท่องเที่ยวและความเจริญที่หลั่งไหลบนผืนแผ่นดินเดียวกัน ยังมีหมู่บ้านชาวเลเล็กๆ ตั้งรกรากอย่างกลมกลืน ดำเนินชีวิตเรียบง่าย

หลายคนรู้จักชุมชนชาวเลที่บ้านสังกะอู้ แต่มีไม่กี่คนที่รู้ว่าหากเดินเลี้ยวซ้ายจากท่าเรือศาลาด่านไปตามสะพานปูนริมฝั่งทะเลจะได้พบกับบ้านเรือนหลังเล็กๆ ปลูกอย่างง่ายๆ ของชาวเล หรืออูรักลาโว้ย บ้านโต๊ะบาหลิว หนึ่งในชุมชนชาวเลบนผืนแผ่นดินลันตา

เรือหัวโทงทอดลำสงบนิ่งรอเวลาโลดแล่นสู่ท้องน้ำกว้าง ขณะที่เด็กตัวน้อยกำลังสนุกกับการเอาฝาลังน้ำแข็งมาวิ่งไถลบนผืนน้ำตื้นๆ จนน้ำแหวกกระจายคล้ายกับนักโต้คลื่น ถัดไปไม่ไกลกันแผงตากปลาเรียงรายด้วยปลาเสียดตัวขนาดฝ่ามือสะท้อนแดดมันวาว  ด้วยความที่หนังปลาชนิดนี้ค่อนข้างหนาจึงเหมาะแก่การทำปลาเค็ม เพราะเกลือจะไม่ซึมเข้าเนื้อในมาก ทำให้ไม่เค็มจนเกินไป

สุดปลายทางเดิน เรือหัวโทงลำใหญ่ถูกยกขึ้นมาวางบนผืนทรายอวดลวดลายข้างลำเรือที่ไม่ซ้ำกันแต่ละลำ ชายหนุ่มหลายคนง่วนกับการงานตรงหน้าทั้งไสมันยาง ตอกชัน บางคนก็ใช้เลื่อยไฟฟ้าตัดแต่งไม้หัวเรืออย่างคล่องแคล่วชำนาญราวกับใช้มีดตัดชิ้นเค้ก

“หลังสือนามิมีคนบริจาคเครื่องไม้เครื่องมือดีๆ น่าให้ใช้” ใครบางคนกล่าวไว้อย่างนั้น

ชาวเล เก่งทั้งในเรื่องประมงและฝีมือเชิงช่าง
ชาวเล เก่งทั้งในเรื่องประมงและฝีมือเชิงช่าง

“ชาวเล ผู้ชายทำประมงเป็นหลัก ซ่อมเรือเป็นงานเสริม ไม่ถนัดงานเกษตร ส่วนผู้หญิงแต่ก่อนขี้อาย เลยอยู่แต่บ้านไม่ออกไปไหน เดี๋ยวนี้เริ่มเข้าไปทำงานในรีสอร์ตแล้ว” โอ้น หนุ่มชาวเลยุคใหม่เรียนจบวิศวะฯ คอมพิวเตอร์จากกรุงเทพ” เล่าให้ฟัง ยามที่เขาเลือกกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด

บ้านหลังเล็กยกพื้นสูง ข้างฝาเป้นไม้ไผ่ขัดสาน หลังคามุงสังกะสีเรียบง่ายตามวิถีดั้งเดิมของชาวเล

“เดี๋ยวนี้รูปแบบบ้านก็มีปรับเปลี่ยนไปบ้าง เพราะไม้ไผ่ที่ใช้ทำข้างฝาหายาก” โอ้นเล่าต่อถึงความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานเข้ามา บางอย่างคงเป็นเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

บนลานข้างบ้านมไซวางเรียงกันเป็นแถว ทั้งไซปลาและไซหมึก หากเป็นไซหมึกจะมีใบเต่าร้างยึดติดอยู่เป็นแผง

“หมึกชอบที่ร่ม ชอบกลิ่นเปรี้ยวๆ ของใบเต่าร้าง เวลาวางไซเราจะใช้ไข่หมึกเป็นเหยื่อล่อ เพราะมันจะคิดว่าตัวอื่นเข้ามาวางไข่ไว้ก่อนหน้าแสดงว่าปลอดภัย มันก็จะเข้ามาอยู่ในไซ” คนเมืองอย่างเราได้แต่ทึ่งกับภูมิปัญญาในการช่างสังเกตและวิธีคิดอันแยบคายของพวกเขา

“ถ้าเป็นไซยก จะวางในน้ำไม่ให้ติดพื้น และต้องคอยเฝ้า ส่วนไซทั่วไปเราจะใช้สีธงเป็นตัวบอกว่าเป็นไซของใคร เพราะแต่ละบ้านจะใช้สีต่างกัน” โด้นบอกให้เห็นถึงอิทธิพลของสีในชีวิตประจำวัน พื้นเพชาวเลชอบสีสันสดๆ จัดจ้า ทั้งเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ โดยแฉพาะยามจัดงานใหญ่อย่างพิธีลอยเรือ พวกเขาจะตกแต่งสถานที่อย่างงดงามด้วยผ้าสีต่างๆ ที่จับคู่สีกันอย่างลงตัว ราวกับพวกเขาเป็นศิลปินกลางทะเล

เราเดินไปจนถึงท้ายหมู่บ้านก็พบกับ ศาลเจ้าตะบาหลิว ศูนย์รวมศรัทธาของคนในหมู่บ้าน เป็นที่สิงสถิตวิญญาณของบรรพบุรุษซึ่งแต่เดิมสิงอยู่ในจอมปลวก 3 ยอดติดกัน ยอดตรงกลางคือโต๊ะบาหลิว ยอดซ้ายเป็นผู้หญิงชื่อโต๊ะอาโฆ๊ะเบอราตัย ส่วนยอดขวาเป็นผู้ชายชื่อโต๊ะอีตับ ทั้งสองเป็นศิษย์ของโต๊ะบาหลิว ชาวเลที่นี่เชื่อกันว่า หากใครประพฤติไม่ดีโต๊ะบาหลิวจะส่งโต๊ะอีตับมาทำโทษให้เจ็บไข้ไม่สบาย

ภายในศาลเจ้าโต๊ะบาหลิว มีรูปปั้นจำลองโต๊ะบาหลิวกับศิษย์ทั้งสองนั่งเรียงกันตามลำดับ ข้างๆ กันยังจัดนิทรรศการประวัติความเป็นมาของชาวเล รวมถึงเรื่อราวประเพณีลอยเรือที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวเลอย่างจริงแท้ เริ่มตั้งแต่การขอไม้ระกำ หรือไม้ตีนเป็ด การทำเรือปลาจั๊ก ซึ่งเป็นเรือลอยเคราะห์ ไปจนถึงการปักไม้ปาดั๊กรอบหมู่บ้านเพื่อกันสิ่งชั่วร้าย

“พิธีลอยเรือจัดขึ้นทุกหกเดือนในช่วงเปลี่ยนฤดู ทั้งหมู่บ้านจะครึกครื้นมาก ชาวเลชอบการเต้นรำที่สุด ทั้งรองแง็ง รำมะนา หรือเพลงสมัยใหม่ เต้นได้หมด ไม่ว่าจะเพลงช้าหรือเพลงเร็ว ใช้จังหวะเท้าเดียวกัน”

ว่ากันว่าจังหวะเท้าเวลาเต้นของชาวเลคล้ายคลึงกับจังหวะการเต้นของชาวยุโรปยุคโบราณ วัฒนธรรมดังกล่าวน่าจะรับมาทางปีนังในวันก่อนหลักฐานหนึ่งซึ่งพอจะเชื่อมโยงการรับวัฒนธรรมต่างถิ่นมาผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ที่เครื่องดนตรีชนิดเครื่องสายรูปร่างหน้าตาคล้ายไวโอลินของชาวเล ซึ่งถ้าใครอยากเห็นของจริงลองแวะเวียนไปชมได้ที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนชาวเกาะลันตา

แสงสุดท้ายจับขอบฟ้า เรือประมงเริ่มเคลื่อนไหวตัวเองออกไปในท้องทะเลกว้าง วิถีของคนบนเลยังคงดำเนินต่อไป ท่ามกลางกระแสลมและเกลียวคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลง

คู่มือนักเดินทาง

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านจังหวัดชุมพร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวนมุ่งหน้าสู่อำเภอไชยา เวียงสระ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 4035 ถึงกิ่งอำเภออ่าวลึก แล้ววดเข้าทางหลวงหมายเลข 4 อีกครั้ง มุ่งหน้าสู่จังหวัดกระบี่ รวมระยะทางประมาณ 814 กิโลเมตร

จากตัวเมืองกระบี่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ อำเภอเหนือคลอง คลองท่อม ถึงหลักกิโลเมตรที่ 64 เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 4206 มุ่งหน้าสู่บ้านหัวหิน ซึ่งเป็นจุดลงแพขนานยนต์ข้ามไปยังเกาะบันตาน้อย จากนั้นลงแพขนานยนต์ช่วงที่สองจากเกาะลันตาน้อยไปสู่เกาะลันตาใหญ่ ค่าข้ามแพ 2 ช่วง รถยนต์ คนละ 100 บาท ผู้โดยสารคนละ 20 บาท

รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ (บรมราชชนนี) ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 ชั่วโมง

บริษัท ขนส่ง จำกัด โทรศัพท์ 1490 เว็บไซต์ www.transport.co.th

บริษัท ลิกไนท์ ทัวร์ โทรศัพท์ 02 269 6999, 02 894 6151-2 เว็บไซต์ www.ลิกไนท์ทัวร์.com

เมื่อลงรถที่สถานีขนส่งจังหวัดกระบี่แล้ว มีท่ารถตู้โดยสารเส้นทางกระบี่-ลันตา ราคาคนละ 200 บาท สำหรับผู้ที่ไม่ได้เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางต้องไปขึ้นรถตู้ที่ถนนมหาราช ซอย 6 ควรจองที่นั่งล่วงหน้าที่โทรศัพท์ 081 606 3591 รถออกทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 7.00-17.00 น.รถตู้จะวิ่งไปส่งถึงที่พักสิ้นสุดปลายทางที่บ้านศรีรายา เที่ยวกลับควรนัดรถตู้ให้มารับที่ที่พัก และควรเผื่อเวลาในการเดินทางสัก 3 ชั่วโมง เพราะอาจต้องใข้ระยะเวลาในการรอแพขนานยนต์นานนับชั่วโมง

ล่องเรือหัวโทง หากไม่เร่งรีบ แนะนำให้เช่าเรือจากข้านขุนสมุทรไปเกาะลันตา ระหว่างทางแวะเที่ยวชมเกาะต่างๆ เช่น เกาะสนกลาง เกาะกอริลลา กาะตะละเบ็ง  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ผู้ใหญ่บ่าว โทรศัพท์ 081 968 6102 และพี่มนต์ โทรศัพท์ 083 395 1311

เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด โทรศัพท์ 02 356 1111 เว็บไซต์ www.thaiairways.co.th

บริษัท นกแอร์ จำกัด โทรศัพท์ 1318 เว็บไซต์ www.nokair.com

บริษัท แอร์เอเชีย จำกัด โทรศัพท์ 02 515 9999 เว็บไซต์ www.airasia.com

บริษัท บางกอกแอร์เวย์ส จำกัด โทรศัพท์ 1771 เว็บไซต์ www.bangkokair.com

การเดินทางภายในเกาะลันตา หากไม่ได้เช่ารถยนต์ขับมาจากตัวเมืองกระบี่ บนเกาะบริเวณท่าเรือศาลาด่านมีร้านมอเตอร์ไซค์ให้เช่าหลายร้าน ค่าเช่า ราคาวันละ 150-250 บาท นอกจากนั้นที่พักบางแห่งอาจมีบริการให้เช่ามอเตอรืไซค์รวมอยู่ด้วย หรือไม่ก็เช่ารถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างพร้อมคนขับ ราคาตามแต่ตกลงกัน

ถนนบนเกาะมีทั้งที่เป็นถนนลาดยางและคอนกรีต บางช่วงมีความสูงชันตามเนินเขา และบางช่วงพื้นถนนเกิดการยุบตัว ผู้ขับขี่ควรระมัดระวัง

กินหรอย ร้านอาหารบนเกาะลันตา มีให้เลือกมากมายตามสไตล์ความชอบ

ลานตา ซีฟู้ด ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือศาลาด่าน คัดสรรวัตถุดิบอย่างดี สดสะอาด โทรศัพท์ 075 668 411, 075 684 106, 081 787 1549

เพรช ตั้งอยู่ริมทะเลชุมชนเก่าศรีรายา โดดเด่นด้วยอาหารทะเลสดรสจัดจ้าน โทรศัพท์ 075 697 306, 084 061 3401

ร่มไทร ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ คั่วกลิ้ง แกงเหลือง ถึงเครื่องจานใต้ ร้านตั้งอยู่เยื้องๆ ถนนศรีรายาซอย 6

นอนสบาย ศรีรายามีที่พักแนวเกสต์เฮาส์ น่านอนหลายหลัง

The Old Times B&B บ้านไม้เก่าตกแต่งด้วยภาพถ่ายขาวดำ เท่ มีสไตล์ ห้องนอนแบ่งตามเฉดสีมากด้วยกิมมิกเก๋ๆ ด้านหลังบ้านมีชานไม้ทอดยาวลงไปในท้องทะเล น่านอนเอกเขนกทั้งวัน โทรศัพท์ 092 878 3718, 075 697 255, 075 697 288 เว็บไซต์ www.theoldtimeslanta.com

 

ขอบคุณ  อสท

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *