Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

พิพิธภัณฑ์ทรัพยากรธรณี (พิพิธภัณฑ์แร่และหิน)พิพิธภัณฑ์ทรัพยากรธรณี (พิพิธภัณฑ์แร่และหิน)
พิพิธภัณฑ์ทรัพยากรธรณี (พิพิธภัณฑ์แร่และหิน)
พิพิธภัณฑ์ทรัพยากรธรณี (พิพิธภัณฑ์แร่และหิน)

พิพิธภัณฑ์ทรัพยากรธรณี (พิพิธภัณฑ์แร่และหิน) ตั้งอยู่ชั้น ๑ อาคารพิพิธภัณฑ์ ติดกับกรมทรัพยากรธรณี ถนนพระราม ๖ เป็นหน่วยงานในความดูแลของสำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ภายในพิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมวัตถุพวก แร่ หิน ซากดึกดำบรรพ์ และเครื่อง มือเครื่องใช้โบราณที่ทำาจากแร่ หิน มาจัดแสดง โดยแบ่งเนื้อหาเป็น ๓  ส่วน คือ ๑. ด้านธรณีวิทยา ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องกำเนิดโลก การเปลี่ยน แปลงเปลือกโลก แร่และหิน การสำรวจธรณีวิทยา น้ำบาดาล ซากดึกดำบรรพ์  ๒.ทรัพยากรแร่ ได้แก่ อัญมณีและหินมีค่า การใช้ประโยชน์ของ แร่ชนิดต่างๆ แร่เชื้อเพลิง ปิโตรเลียม การทำาเหมืองแร่จากต่างประเทศ ๓.นิทรรศการพิเศษ ปัจจุบันแสดงเรื่องไดโนเสาร์ในประเทศไทย เปิดให้ชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม หากเข้าชมเป็นหมู่คณะทำหนังสือถึงอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๒๐๒ ๓๖๗๐ โทรสาร ๐ ๒๒๐๒ ๓๗๕๔

วังสวนผักกาด ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยา เป็นที่ประทับของกรมหมื่นนครสวรรค์ ศักดิ์พินิต และ ม.ร.ว.หญิงพันธุ์ทิพย์ บริพัตร ชื่อวังสวนผักกาดตั้งตามลักษณะของพื้นที่ซึ่งเคยเป็นสวนผักกาดของชาวสวน จัดแสดงศิลปวัตถุโบราณต่างๆ มากมาย เป็นของสะสมและของส่วนตัวของราชสกุลบริพัตร ภายในหมู่เรือนไทยโบราณ ๘ หลังอายุกว่าร้อยปี เช่น เรือนไทยหลังที่ ๑ ชั้นล่างคือ พิพิธภัณฑ์ดนตรีทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งดนตรีไทย” เรือนไทยหลังที่ ๔ จัดแสดงโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูปสำริดศิลปะสุโขทัย งาช้างแกะสลัก เรือนไทยหลังที่ ๗ เป็นพิพิธภัณฑ์โขน จัดแสดงหัวโขนต่างๆและหุ่นละครเล็ก เรือนไทยหลังที่ ๘ จัดแสดงวัฒนธรรมบ้านเชียง และยังมีหอเขียน ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในมีภาพลายรดน้ำเรื่องพุทธประวัติ เรื่องรามเกียรติ์ และเหตุการณ์ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ส่งราชทูตฝรั่งเศสเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วนที่บริเวณชั้น ๒ ของศิลปาคารจุมภฏพันธุ์ทิพย์ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง แสดงโบราณวัตถุ มีอายุเก่าแก่ประมาณ ๔,๐๐๐ ปี เช่น ภาชนะดินเผา กำไลหิน ลูกปัดแก้ว ซึ่งพบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชม ชาวไทย คนละ ๕๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท นักศึกษา ๒๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๔๖ ๑๗๗๕-๖, ๐ ๒๒๔๕ ๔๙๓๔ หรือ www.suanpakkad.com

พระราชวังพญาไท ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี เขตราชเทวี เป็นวังในสมัยรัชกาลที่ ๕ สำหรับเป็นที่แปรพระราชฐานเพื่อพักผ่อนอิริยาบถและทดลองปลูกธัญพืช เนื่องด้วยบริเวณนี้แต่เดิมเป็นที่สวนที่นา ประกอบด้วยอาคารหลายหลัง ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงหมู่พระที่นั่ง แบบสถาปัตยกรรมยุโรป ที่แห่งนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองดุสิตธานี ซึ่งตั้งในสมัยรัชกาลที่ ๖ เพื่อปูพื้นฐานทางการปกครองแบบประชาธิปไตย และยังเคยใช้เป็นโรงแรมชั้นหนึ่งสำหรับอำนวยความสะดวกแก่ชาวต่างประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เปลี่ยนเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกในประเทศไทย หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. ๒๔๗๕ ใช้เป็นสถานพยาบาลกองทัพบก และต่อมาพ.ศ. ๒๔๙๕ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ภายในประกอบด้วยพระที่นั่งต่างๆ เช่น พระที่นั่งพิมานจักรี และพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน เปิดวันเสาร์เวลา ๐๙.๓๐-๑๕.๓๐ น. ปิดวันอาทิตย์-วันศุกร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๓๕๔ ๗๗๓๒ กรุณาติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม (เข้าชมเป็นหมู่คณะและนอกวันทำการ ทำจดหมาย เรียน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ล่วงหน้า อย่างน้อย ๒ สัปดาห์)

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตั้งอยู่ที่ถนนพหลโยธิน รัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนใหม่ กรณีพิพาทยุติลงด้วยการเจรจาประนี ประนอมของทั้งสองฝ่าย จากเหตุการณ์ในครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต ๕๙ คน รัฐบาลจึงสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ และเทิดทูนคุณงามความดีของวีรชนที่มีความกล้าหาญและเสียสละ

บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์และตุ๊กตานานาชาติ
บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์และตุ๊กตานานาชาติ

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ตั้งอยู่ในอาคารที่ทำาการเก่าของสหภาพแรงงานการรถไฟมักกะสัน ถนนนิคมรถไฟมักกะสัน จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์แรงงานไทย แบ่งออกเป็น ๗ ห้อง ห้องที่ ๑ แรงงานบังคับไพร่ทาส คือ ฐานของสังคมไทยโบราณ จัดแสดงเรื่องราวของแรงงานไทยตั้งแต่ครั้งโบราณ ห้องที่ ๒ กุฎีจีนแรงงานรับจ้างรุ่นแรก บอกเล่าสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา ห้องที่ ๓ แรงงานในกระบวนการปฏิรูปประเทศในสมัย รัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ห้องที่ ๔ กรรมกรกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ สภาพของแรงงานก่อน และหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ห้องที่ ๕ จากสงครามโลกถึง สงครามเย็น ชีวิตแรงงานไทยภายใต้สภาวการณ์ที่สำคัญสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๒ และสงครามเย็น ห้องที่ ๖ จาก ๑๔ ตุลาถึงวิกฤตเศรษฐกิจ ชีวิตคนงานในช่วงประชาธิปไตยเบ่งบาน เรื่องราวของแรงงานสตรี แรงงานเด็ก คนขับรถบรรทุก นักมวย ห้องที่ ๗ ห้องศิลปวัฒนธรรมกรรมกรจิตร ภูมิศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนักคิดคนสำคัญ แต่ละห้องใช้รูป แบบการจัดแสดงมีสื่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรทัศน์ สไลด์ คอมพิวเตอร์ ทำให้น่าสนใจ เข้าใจง่าย เกิดความเพลิดเพลินในการชม นอกจากนี้ยังมี บริการห้องสมุด หนังสือต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงาน มีศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์สำาหรับผู้ใช้แรงงาน เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-อาทิตย์ ปิดวันจันทร์-อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐-๑๖.๓๐ น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม (หากเข้าชมเป็นหมู่คณะกรุณาติดต่อล่วงหน้า) สอบ ถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๒๕๑ ๓๑๗๓

บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์และตุ๊กตานานาชาติ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๘๕ ซอยแยกรัชฏภัณฑ์ (ซอยหมอเหล็ง) ถนนราชปรารภ ก่อตั้งโดยคุณหญิงทองก้อน จันทวิมล เมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๙ หลังจากกลับจากเรียนประดิษฐ์ ตุ๊กตาจากโรงเรียนโอซาวาดอลล์ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อประดิษฐ์ ตุ๊กตาของไทยออกเผยแพร่ ตุ๊กตาของที่นี่เป็นที่รู้จักกันดีของนานาชาติ ตลอดจนนักสะสมตุ๊กตาทั้งหลาย เนื่องมาจากความสวยงามของตุ๊กตา ที่ประดิษฐ์ออกมามีความเป็นเอกลักษณ์แบบไทย เคยได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดตุ๊กตาพื้นเมืองนานาชาติครั้งที่ ๓ ประจำปีพ.ศ. ๒๕๒๑ ที่ประเทศโปแลนด์ สถานที่แห่งนี้เป็นทั้งสถานที่จัดแสดงและโรงงานผลิตตุ๊กตาชนิดต่างๆ การผลิตจะทำด้วยมือทุกขั้นตอน โดยใช้วัสดุภายในประเทศเป็นหลัก ตุ๊กตาที่ผลิตออกมามีด้วยกันหลายประเภท อาทิเช่นตุ๊กตาโขน ตุ๊กตาชาวเขาเผ่าต่างๆ ตุ๊กตาแสดงถึงชีวิตตามชนบทของคนไทย ตลอดจนหัวโขนย่อส่วน นอกจากนี้แล้วภายในโรงงานมีห้องหนึ่งจัดแสดงตุ๊กตาที่ได้มาจากทั่วโลก จำนวนประมาณ ๔๐๐ ตัว ซึ่งใช้เวลาสะสมเป็นเวลานานปี เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-เสาร์ เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. โดยไม่เก็บค่าเข้าชม โทร. ๐ ๒๒๔๕ ๓๐๐๘

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *