Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลกสถานที่ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งอยู่บนรอยต่อของสามจังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ครอบคลุมพื้นที่ ๑๙๑,๘๗๕ ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ภูหินร่อง กล้ามียอดเขาสูง ๑,๖๑๗ เมตร มีทิวทัศน์สวยงาม ปกคลุมด้วย ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน และพบกล้วยไม้ดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน ได้รับรางวัลดีเด่น รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ ๗ ประจำปี ๒๕๕๑ ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติภาคเหนือภูหินร่องกล้าเคยเป็นศูนย์กลางที่ตั้งฐานที่มั่นการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของภาคเหนือ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแพร่กระจายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่เขาค้อ ภูขัด และภูเมี่ยง จนเกิดเป็นปัญหาความมั่นคงทางการเมือง เมื่อเหตุการณ์สงบลงในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้มีการตัดเส้นทางผ่านใจกลางภูหินร่องกล้าและจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติขึ้น จนกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำาคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างในปัจจุบัน

สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ

พิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวการใช้ชีวิต และการสู้รบของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) รวมทั้งจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่าง ๆ

ทางเดินโลกที่สาม เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ผ่านภูมิทัศน์ที่สวยงาม และสถานที่สำคัญของ พคท. ได้แก่ สำนักอำนาจรัฐ เป็นสถานที่ดำเนินการทางการปกครอง พิจารณาลงโทษผู้กระทำผิด มีคุก สถานที่ทอผ้าและโรงซ่อมเครื่องจักรกล ที่หลบภัยทางอากาศ เป็นโพรงถ้ำกว้างขวางจุคนได้กว่า ๒๐๐ คน ผาชูธง เป็นจุดที่คอมมิวนิสต์ชักธงแดงทุกครั้งที่รบชนะ ลานหินปุ่ม เต็มไปด้วยหินปุ่มเป็นบริเวณกว้างดูแปลกตา เกิดจากการสึกกร่อนของหินโดยธรรมชาติ เคยใช้เป็นที่พักฟื้นคนไข้

โรงเรียนการเมืองการทหาร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๖ กิโลเมตร เคยใช้เป็นสถานที่ให้การศึกษาตามแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ มีบ้านพักฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลาธิการ และสถานพยาบาล กระจายตัวอยู่ใต้ผืนป่ารกทึบ ประมาณ ๓๐ หลัง ในบริเวณใกล้เคียงยังมี สุสานทหาร และกังหันน้ำใช้สีข้าว

น้ำตกร่มเกล้า-ภราดร  ห่างจากโรงเรียนการเมืองประมาณ ๖๐๐ เมตร มีทางแยกเดินลงน้ำตกร่มเกล้าก่อน จากนั้นเดินลงไปประมาณ ๒๐๐ เมตร จะเป็นน้ำตกภราดร ที่เกิดจากลำธารเดียวกัน

ลานหินแตก เป็นลานหินกว้างมีรอยแตกคล้ายแผ่นดินแยก ตามซอกหินพบไม้ประเภทมอสส์ ไลเคน เฟิร์น กล้วยไม้ และดงดอกกุหลาบพันปีสีขาวตลอดทาง

น้ำตกศรีพัชรินทร์ ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับทหารจากค่ายศรีพัชรินทร์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นทหารหน่วยแรกที่ขึ้นมาบนภูหินร่องกล้า น้ำตกศรีพัชรินทร์มีความสูงประมาณ ๒๐ เมตร มีแอ่งใหญ่เหมาะสำาหรับเล่นน้ำา

น้ำตกหมันแดง เป็นน้ำตกที่มีชั้นต่าง ๆ รวม ๓๒ ชั้น ไม่สามารถลงเล่นน้ำได้ เกิดจากห้วยน้ำหมัน ซึ่งมีน้ำตลอดปี อยู่บนเส้นทางสายภูหินร่องกล้า-หล่มเก่า กิโลเมตรที่ ๑๘ มีทางเดินเท้าเข้าสู่น้ำตกอีก ๓.๕ กิโลเมตร เส้นทางเดินเป็นป่าดิบเขา นักท่องเที่ยวต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางจากอุทยานฯ ใช้เวลาในการเดินประมาณ ๖ ชั่วโมง จึงต้องเริ่มเดินก่อนเวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นอย่างน้อย

การเดินทาง จากพิษณุโลกใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒ สายพิษณุโลก-หล่มสัก เลี้ยวซ้ายที่บ้านแยง กิโลเมตรที่ ๖๘ สู่ทางหลวงหมายเลข ๒๐๑๓ ไปอีก ๒๘ กิโลเมตร ถึงอำเภอนครไทย แล้วเลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข ๒๓๓๑ ไปภูหินร่องกล้าอีก ๓๑ กิโลเมตรนอกจากนี้ภูหินร่องกล้ายังสามารถเข้าถึงได้จากด้านจังหวัดเพชรบูรณ์โดยใช้เส้นทางหล่มเก่า-ทับเบิก-ภูหินร่องกล้า แต่เส้นทางนี้ค่อนข้างสูงชัน และคดเคี้ยวมาก เหมาะเป็นทางลงมากกว่า

หมายเหตุ – การเดินทางขึ้นและลงภูหินร่องกล้าทั้งสองเส้นทาง ควรใช้รถยนต์ที่มีกำลังสูง สภาพเบรก และคลัชดีมาก และต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ควรใช้รถบัสใหญ่ขึ้นภูหินร่องกล้า เนื่องจากเส้นทางคดเคี้ยวและสูงชัน ควรเปลี่ยนเป็นรถตู้

การเดินทาง รถโดยสาร/รถไฟ จากกรุงเทพฯ ไปลงพิษณุโลก แล้วต่อรถโดยสารสายพิษณุโลก-นครไทย ออกจากสถานีขนส่งพิษณุโลกทุก ๑ ชั่วโมง ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ใช้เวลาเดินทาง ๒ ชั่วโมง ลงที่ตลาดนครไทย แล้วต่อรถสองแถวเล็กสายนครไทย-ภูหินร่องกล้า บริการวันละ ๔ เที่ยว ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐-๑๕.๓๐ น. ใช้เวลา ๔๕ นาที หากต้องการความสะดวกสบาย สามารถเช่าเหมารถตู้ปรับอากาศไป-กลับจากตัวเมืองพิษณุโลกไป ภูหินร่องกล้าโดยตรง

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พักของอุทยานมีทั้งแบบเต็นท์ และบ้านพัก รายละเอียดติดต่ออุยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า โทร. ๐ ๕๕๒๓ ๓๕๒๗ หรือ กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ www.dnp.go.th

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *